วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

ประชากร

เอเชีย : ทวีปที่มีความหลายหลายและอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ

           ความกว้างใหญ่ของทวีปเอเชียทำให้ปรากฏลักษณะทางธรณีที่หลากหลายซึ่งมีอายุทางธรณีที่แตกต่างกันจึงทำให้มีชนิดหินและแร่มากมาย ซึ่งในบรรดาแร่ธาตุที่มีอยู่มากในทวีปเอเชียนั้น ที่มีอยู่เป็นปริมาณมากและเป็นแร่เศรษฐกิจ จากแผนที่จำแนกเป็นกลุ่มแร่ได้ดังนี้
       1. กลุ่มแร่เชื้อเพลิงและพลังงาน ประกอบด้วยถ่านหิน น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ        - ถ่านหิน เป็นหินตะกอนประเภทหนึ่งทีมีคุณสมบัติติดไฟได้ มีสีน้ำตาลจนถึงสีดำ จำแนกออกได้เป็น 5 ประเภทตามคุณภาพในการให้พลังงานความร้อน โดยเรียงลำดับจากคุณภาพต่ำไปสูง คือ พีต ลิกไนต์ ซับบิทูมินัส บีทูมินัส และแอนทราไซต์ ซึ่งถ่านหินถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ในการผลิตกระเสไฟฟ้า อุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ในทวีปเอเชียปรากฏอยู่หลายบริเวณที่สำคัญได้แก่ ประเทศจีนด้านตะวันออก ประเทศรัสเซียส่วนเอเชียตอนใต้และ ตอนเหนือ ประเทศอินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเกาะประเทศญี่ปุ่น และประเทศเวียดนามตอนเหนือ        - น้ำมันดิบ เป็นแร่เชื้อเพลิง ประเภทหนึ่งของปิโตรเลียมเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว โดยที่น้ำมันดิบมีสถานะเป็นของเหลว ซึ่งน้ำมันดิบเมื่อนำมากลั่นแล้วก็จะได้สัดส่วนของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ต่างกันและใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติและคุณภาพ ในทวีปเอเชียปรากฏน้ำมันดิบอยู่ในปริมาณที่สูงมากบริเวณหนึ่งของโลก ซึ่งได้แก่ บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้บริเวณประเทศรัสเซีย ประเทศจีน และบริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนที่เป็นคาบสมุทรอินโดจีน ปรากฏอยู่บ้างในพม่า ไทย และในส่วนที่เป็นเกาะ ปรากฏในประเทศอินโดนีเซีย        - ก๊าซธรรมชาติ เป็นปิโตรเลียมประเภทหนึ่งที่อยู่ในสถานะก๊าซ ซึ่งก๊าซธรรมชาติถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นแหล่งเชื้อเพลิงและพลังงานที่สำคัญ มีแนวโน้มที่จะถูกใช้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นแร่เชื้อเพลิงที่ล้างมลภาวะให้กับ สิ่งแวดล้อมน้อยในทวีปเอเชียปรากฏแหล่งก๊าซธรรมชาติเกิดร่วมกับแหล่งน้ำมันดิบ      2. กลุ่มแร่เหล็กและโลหะผสมเหล็ก ประกอบด้วยแร่เหล็ก แมงกานิส และนิกเกิล        - แร่เหล็ก เป็นแร่ธาตุที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเรามากมายทั้งในการเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจน สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในทวีปเอเชียปรากฏเหล็กกระจายอยู่ใน 3 บริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ บริเวณประเทศจีนด้านตะวันออกและ ตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศรัสเซียตอนใต้และประเทศอินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ        - แร่แมงกานิส เป็นแร่ธาตุที่ใช้ประโยชน์หลักในการนำมาเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรม ผลิตเหล็กกล้าและเหล็กหล่อเนื่องจากเมื่อผสมกับแร่เหล็กแล้วจะทำให้เหล็กเหนียวและแข็งมากขึ้น ในทวีปเอเชียปรากฏแร่แมงกานิสอยู่ 3 บริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ บริเวณประเทศจีนตอนใต้ เขตติดต่อกับประเทศเวียดนาม บริเวณคาบสมุทรเดคคานในประเทศอินเดียและประเทศตุรกีที่ด้านตะวันออก        - แร่นิกเกิล เป็นแร่ธาตุที่ใช้ประโยชน์ในการเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและเหล็กหล่อเช่นเดียวกับแร่แมงกานิส ในทวีปเอเชียปรากฏแร่นิกเกิลกระจายอยู่เป็นบริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ ประเทศรัสเซียตอนเหนือ ประเทศ คาซัคสถานตะวันตก ประเทศจีนตอนเหนือ และเกาะเซลีเบสของประเทศอินโดนีเซีย      3. กลุ่มแร่โลหะพื้นฐาน ประกอบด้วย แร่ทองแดง แร่ตะกั่ว แร่สังกะสี แร่ดีบุก และแร่ทังสเตน        - แร่ทองแดง เป็นแร่โลหะที่มนุษย์ใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันโลหะทองแดงได้จากการถลุงแร่ทองแดง ถือเป็นโลหะสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในทวีปเอเชียปรากฏแร่ทองแดงกระจายอยู่ในหลายบริเวณ ได้แก่ ประเทศรัสเซียตอนเหนือ ประเทศคาซัคสถานตอนกลาง ประเทศจีนชายฝั่งตะวันออก และเกาะลูซอนตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์        - แร่ดีบุก เป็นโลหะที่ใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อการกัดกร่อนของกรด รวมทั้งสารละลายต่าง ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายหรือเป็นพิษต่อมนุษย์ เมื่อนำมาเคลือบแผ่นเหล็กเรียกว่า เหล็กวิลาส เช่น ใช้เป็นกระป๋องบรรจุอาหาร หม้อน้ำรถยนต์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทวีปเอเชียปรากฏแหล่งแร่ดีบุกมากที่สุดของโลกในบริเวณภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย และอีกแหล่งหนึ่ง คือ บริเวณเขตติดต่อจีนด้าน ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับรัสเซียด้านตะวันออกเฉียงใต้        - แร่ทังสเตน เป็นโลหะที่มีความถ่วงจำเพาะและมีจุดหลอมเหลวสูง จึงใช้ในการทำหลอดภาพโทรทัศน์ ได้และ ขั้วหลอดไฟฟ้า และใช้ในอุตสาหกรรมหนักอย่างกว้างขวาง ในทวีปเอเชียปรากฏแร่ทังสเตนในหลายบริเวณ ได้แก่ เกาหลีใต้ จีนด้านตะวันออก และคาซัคสถานตอนกลาง      4. กลุ่มแร่โลหะมีค่าและกลุ่มแร่รัตนชาติ ประกอบด้วยแร่ทองคำ เงิน เพชร ทับทิม และแซปไฟร์        - แร่ทองคำ เป็นแร่ธาตุที่มนุษย์ใช้ประโยชน์มายาวนาน ด้วยคุณสมบัติอันโดเด่นที่มีสีสันเหลืองอร่ามสวยงาม ไม่หมองคล้ำไปตามกลาเวลา เนื้ออ่อน สามารถตีห้างและดึงให้ยืดได้ทนต่อการกัดกร่อน สะท้อนแสงได้ดี หลอมเข้ากับโลหะอื่นได้ง่าย นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี จึงใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น เป็นหลักประกันค่าเงิน ผลิตเป็น ไมโคชิปในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในทวีปเอเชียปรากฏแร่ทองคำที่สำคัญในประเทศรัสเซียประเทศอุซเบกิสถาน และประเทศจีนด้านชายฝั่งทะเลเหลือง        - แร่เงิน เป็นแร่ธาตุที่จัดอยู่ในกลุ่มแร่โลหะมีค่าเช่นเดียวกับแร่ทองคำในทวีปเอเชียปรากฏแร่เงินในประเทศ อุซเบกิสถาน และประเทศญี่ปุ่น        - แร่รัตนชาติ ได้แก่ เพชร ทับทิม และแซปไฟร์ เป็นกลุ่มแร่ธาตุที่ใช้ประโยชน์ในด้านเครื่องประดับและงานศิลปะเป็นหลัก ในทวีปเอเชียปรากฏแร่รัตนชาติกระจายอยู่ทั่วไป ที่สำคัญได้แก่ เพชรในรัสเซีย ทับทิมในพม่า ทับทิมไทยซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ทับทิมสยาม และในศรีลังกาแซปไฟร์ในพม่าและศรีลังกา      5. กลุ่มแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ แร่โพแทช และหินเกลือ ซึ่งเป็นแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี และปุ๋ย ในทวีปเอเชียปรากฏแหล่งแร่โพแทช หินเกลือที่สำคัญ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยซึ่งถือเป็นแหล่งสำคัญแหล่งหนึ่งของโลก และรัสเซียด้านตะวันตก

เอเชีย : ทวีปที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดและมีลักษณะประชากรที่แตกต่างกันตามสภาพทางธรรมชาติของแต่ละบริเวณ
   
           ประชากร คือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ประชากรเอเชีย ก็คือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทวีปเอเชียในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั่นเอง ประชากรเป็นทรัพยากรหลักของแผ่นดินที่มีความสำคัญในการส่งเสริม หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น ถ้าประเทศใดที่ประชากรมีการศึกษาสูง มีทัศนคติที่ดี มีระเบียบวินัย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีโครงสร้างของประชากรที่เหมาะสม นั่นคือมีวัยเด็กกับวัยชราซึ่งเป็นวัยพึ่งพิงน้อย และมีวัยแรงงานมาก มีการกระจาย มีอัตราการเพิ่มของประชากรที่เหมาะสมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะเอื้อหรือส่งเสริมต่อการพัฒนาประเทศ ในขณะที่ถ้าประเทศใดมีลักษณะประชากรที่ตรงกันข้ามก็ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นต้น 

                                              แหล่งที่มา: http://www.suansanook.com/howto/?p=24
1.จำนวนประชากร
          ทวีปเอเชียมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกถึงประมาณ 3,766 ล้านคน (พ.ศ. 2545) คิดเป็นร้อยละ 60.5 ของประชากรโลก (ประชากรโลกมีจำนวน 6,215 ล้านคน) โดยจีนเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชียและในโลกถึงประมาณ 1,280.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 34 ของประชากรเอเชียหรือร้อยละ 20.6 ของประชากรโลก หรือมีจำนวนประชากรมากกว่าประเทศไทย 20.6 เท่า ส่วนประเทศที่มีจำนวนประชากรรองลองมา คือ ประเทศอินเดีย มีจำนวนประชากรประมาณ 1,049.5 ล้านคน
ตารางแสดงจำนวนประชากรในทวีปเอเชีย 10 อันดับแรก (พ.ศ. 2545) 
ลำดับที่
ประเทศ
จำนวนประชากร
(ล้านคน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
จีน
อินเดีย
อินโดนีเซีย
ปากีสถาน
บังกลากเทศ
ญี่ปุ่น
ฟิลิปปินส์
เวียดนาม
ตุรกี
อิหร่าน
1,284,3037,05
1,045,845,226
22,843,7870
14,7663,428
133,376,684
126,974,628
82,841,518
79,939,014
67,308,928
66,622,704


2. อัตราการเพิ่มของประชากร
     อัตราการเพิ่มของประชากรขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย ได้แก่ อัตราการเกิด อัตราการตาย และการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ ในทวีปเอเชียอัตราการเพิ่มของประชากรใน พ.ศ. 2545 พิจารณาโดยภาพรวมถือว่าอยู่ในระดับกลาง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับทวีปต่าง ๆ (พิจารณาจากแผ่นที่ประกอบ) โดยเอเชียมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรส่วนใหญ่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.9-1.7
(ยกเว้นรัสเซียที่เป็นร้อยละ 0.0) ซึ่งมากกว่าทวีปออสเตรเลียที่อยู่ระหว่างร้อยละ0.1-0.8 มากกว่าทวีปแอฟริกาเหนือ ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.1-0.8 และทวีปยุโรปที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0-0.8 แต่จะต่ำกว่าทวีปแอฟริกา ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 1.8-3.4 และทวีปอเมริกาใต้ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.9-2.5
     การที่ทวีปเอเชียโดยภาพรวมมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรอยู่ในระดับกลาง ๆ ทำให้มีผลดีค่อนข้างมากต่อทวีปเอเชียในด้านต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันประชากรในทวีปเอเชียก็มีจำนวนมากอยู่แล้วซึ่งถ้ามีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอีก ย่อมส่งผลต่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียตามมาอีกมากมาย

3. การกระจายประชากร การกระจายของประชากรขึ้นอยู่กับสภาพทางธรรมชาติในเรื่องของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล่งน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นสำคัญ ถ้าเป็นที่ราบอากาศไม่หนาวเย็นมากนัก มีปริมาณฝนที่เหมาะสม ไม่มากไปหรือน้อยไป มีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และมีดินที่อุดมสมบูรณ์สามารถเพาะปลูกพืชได้ดี ก็มักจะมีประชากรอาศัยอยู่มาก ขณะที่พื้นที่ใดที่มีสภาพทางธรรมชาติไม่เอื้อต่อการทำถิ่นฐาน ก็มักจะมีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง การกระจายของประชากรในทวีปเอเชียพิจารณาจากแผนที่ได้ดังนี้

* บริเวณที่มีประชากรหนาแน่น


   1. 
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ บริเวณที่ราบด้านตะวันออกของประเทศจีนที่มีสภาพทางธรรมชาติในเรื่องของภูมิประเทศที่ราบ มีอากาศอบอุ่น ฝนชุก มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำสายใหญ่ คือ  แม่น้ำฮวงเหอและแยงซี และมีดินที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้นเอื้อต่อการ ทำการเกษตร และเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนทำให้มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ 50-100 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีบางบริเวณที่มากกว่า 100 คนต่อตารางกิโลเมตรขึ้นไป เช่น มาเก๊า ที่มีความหนาแน่นประชากรสูงที่สุดในเอเชีย คือ 28,865 คนต่อตารางกิโลเมตรเนื่องจากเป็นเมืองท่าชายฝั่งสำหรับค้าขายนอกจากนี้ยังมีเกาหลีใต้และญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีการอุตสาหกรรมค่อนข้างเด่นโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นมีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 336 คนต่อตารางกิโลเมตร
  2. ภูมิภาคเอเชียใต้ ได้แก่ บริเวณที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา ในประเทศบังกลาเทศติดต่อกับอินเดีย ที่ราบลุ่มน้ำสินธุในประเทศปากีสถาน ที่ราบลุ่มน้ำพรหมบุตรในประเทศบังกลาเทศ และพื้นที่รับลมมรสุมที่มีปริมาณฝนมากในประเทศอินเดีย เงื่อนไขดังกล่าว ต่างเอื้อต่อกิจกรรมทางการเกษตร ทำให้มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ค่อนข้างหนาแน่นส่วนใหญ่มีความหนาแน่นตั้งแต่ 50-100 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีบางแห่งที่มีความหนาแน่นมากกว่า 100 คนตารางกิโลเมตรโดยเฉพาะประเทศบังกลาเทศ มีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 926 คนต่อตารางกิโลเมตร
  3. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีปริมาณฝนโดยรวมค่อนข้างสูง มีอากาศโดยรวมอยู่ในเขตร้อน ทำให้ภูมิอากาศไม่ค่อยมีผลต่อความหนาแน่นประชากรเท่ากับเงื่อนไขทางภูมิประเทศ แหล่งน้ำและดิน โดยประชากรจะหนาแน่นตามลุ่มน้ำสายใหญ่ ได้แก่ ลุ่มน้ำอิระวดีในประเทศพม่า ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย ลุ่มน้ำแดงในประเทศเวียดนาม รวมทั้งเกาะชวาของประเทศอินโดนีเซีย และเกาะลูซอนของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีดินภูเขาไฟที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ซึ่งบริเวณต่าง ๆ ที่กล่าวมาล้วนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญทั้งสิ้น นอกจากนี้ บริเวณเมืองท่าและเมืองอุตสาหกรรมยังมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ เมืองอุตสาหกรรมของประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย
     ขณะที่บริเวณอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย ประชากรจะหนาแน่นค่อนข้างมากเป็นหย่อม ๆ ตามเมืองหลวงเมืองท่า เมืองอุตสาหกรรม และที่ราบลุ่มน้ำที่ทำการเกษตรได้ เช่น ประเทศอิสราเอล ประเทศคูเวต เมืองแบกแดดประเทศอิรัก และเมืองเตหะรานประเทศอิหร่าน เป็นต้น 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น