วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

ภาษา

*บริเวณที่มีประชากรเบาบาง 

                บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง คือ พื้นที่ที่มีเงื่อนไขทางธรรมชาติด้านต่าง ๆ ไม่เอื้อหรือไม่ส่งเสริมต่อการตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพ ได้แก่ บริเวณตอนในของทวีปเอเชียที่มีปริมาณฝนน้อย จนถึงเป็นเขตแห้งแล้งแบบทะเลทราย บริเวณที่สูงมีเทือกเขาสลับซับซ้อนยากต่อการเดินทาง และบริเวณละติจูดสูงที่มีอากาศหนาวเย็นจัด ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวทำให้มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก เช่น แผ่นดินทำให้ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีฝนน้อย จนถึงเป็นทะเลทราย มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนทำให้การคมนาคมไม่สะดวก เงื่อนไขทางธรรมชาติดังกล่าวทำให้ประเทศมองโกเลียมีความหนาแน่นประชากรเพียง 2 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งหนาแน่นน้อยที่สุดในทวีปเอเชีย

                                      ตาราง แสดงความหนาแน่นของประชากรในทวีปเอเชีย 10 อันดับแรก 

ลำดับที่
ประเทศ
พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร
(คน)
ความหนาแน่นของประชากร
(คนต่อตารางกิโลเมตร)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
มาเก๊า (จีน)
ฮ่องกง(จีน)
สิงคโปร์
มัลดีฟส์
บาห์เรน
บังกลาเทศ
ไต้หวัน
เกาหลีใต้
เลบานอน
ญี่ปุ่น
16
1,069
682
298
622
143,998
36,000
99,173
10,400
377,815
461,833
7,303,334
413,1200
32,0165
656,397
133,376,684
22,548,009
48,324,000
3,677,780
126,974,658
28,865
6,832
6,055
1,074
1,055
926
626
487
354
336

ที่มา : http //www.mfa.go.th
  4. โครงสร้างของอายุประชากร คือสัดส่วนของประชากรในช่วงอายุต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นจำนวนประชากรของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งการศึกษาโครงสร้างอายุประชากรจะช่วยให้สามารถวางแผนในเรื่องของประชากรให้เหมาะสมกับประเทศได้ เพราะโครงสร้างอายุประชากรที่เหมาะสม คือมีประชากรวัยเด็ก และวัยชราซึ่งเป็นวัยพึ่งพิงน้อย แต่มีประชากรวัยทำงานมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น ช่วยเพิ่มผลผลิตต่าง ๆ หรือเป็นแรงงาน เป็นต้น
      โครงสร้างอายุประชากรส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นช่วงอายุประชากรช่วงละ 5 ปี เช่น เริ่มต้น 0 : 4 ปี สิ้นสุด 80 ปีขึ้นไป
โดยโครงสร้างอายุประชากรพิจารณาได้ดังนี้
       ประชากรวัยเด็ก มีช่วงอายุ 0-14 ปี
       ประชากรวัยทำงาน มีช่วงอายุ 15-59 ปี
       ประชากรวัยสูงอายุ มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
       การพิจารณาโครงสร้างประชากรประกอบด้วยอายุและเพศของประชากร ซึ่งจะเห็นภาพชัดเจนหรือมองภาพรวมได้ เราอาจจะพิจารณาจาก “พีระมิดประชากร (Population Pyramid)
       จากโครงสร้างประชากรปี พ.ศ. 2543 เปรียบเทียบระหว่างประชากรโลก สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย และไทยจะเห็นได้ว่า
    • ประชากรวัยเด็ก (0 – 14 ปี ) ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มพัฒนา มีเพียงร้อยละ 20.1 ขณะ ที่อินเดียมีถึงร้อยละ 39 และของโลก สูงถึงร้อยละ 33.9 ส่วนจีนมีเพียงร้อยละ 24 ไทยร้อยละ 24.1 ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศกลุ่มพัฒนาอย่างสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกา จีนและไทยมีสัดส่วนของประชากรวัยเด็กเป็นวัยพึ่งพิงน้อย ทำให้ภาระของประเทศในการดูแลด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับเด็กจะน้อยกว่าของอินเดียและของโลก
    • ประชากรวัยทำงาน (15-59ปี) ของสหรัฐอเมริกา จีน และไทยมีถึงร้อยละ 63.5 65.2 และ66.5 ตามลำดับ ส่วนอินเดียและของโลกมีเพียงร้อยละ 51.9 และ 63.3 ตามลำดับ แสดงว่าประชากรวัยแรงงานของสหรัฐอเมริกา จีน และไทย จะมีสัดส่วนที่สูงกว่าของอินเดีย และของโลก ทำให้ประชากรช่วยสร้างผลิตผลต่าง ๆ ได้มาก
    • ประชากรวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ของโลกมีร้อยละ 16.8 แสดงให้เห็นถึงประชากรวัยชรามีสัดส่วนที่สูง
      สหรัฐอเมริกาก็เช่นกันสูงถึงร้อยละ 16.3 อาจจะเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ทำให้คนอายุยืนยาวขึ้น จะทำให้รัฐบาลต้องรับภาระในการดูแลประชากรกลุ่มนี้ในขณะที่จีน อินเดีย และไทย มีสัดส่วนต่ำกว่า คือ ร้อยละ 10.8 9.2 และ 9.4 ตามลำดับ
           จากพีระมิดโครงสร้างอายุประชากรเปรียบเทียบระหว่าง 3 ประเทศในเอเชียที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดกับมากเป็นอันดับสอง คือ จีนกับอินเดีย และไทยกับประเทศในกลุ่มพัฒนาอย่าง สหรัฐอเมริกาและของโลก พบว่าจีนและไทยมีลักษณะพีระมิดใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา แสดงว่าจีน และไทยมีโครงสร้างอายุประชากรที่ค่อนข้างเหมาะสามสะท้อนถึงการวางแผนและจัดการเกี่ยวกับประชากรที่ได้ผลส่วนอินเดียมีโครงสร้างอายุประชากรใกล้เคียงกับโลกซึ่งพิจารณาจากประชากรทั่วโลก แสดงว่าอินเดียมีโครงสร้างอายุประชากรที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศมากนัก 
      5. ชาติพันธุ์ ทวีปเอเชียมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด ประกอบด้วย 3 กลุ่มชาติพันธุ์และแบ่งเป็นเชื้อชาติต่าง ๆ มากมาย แยกย่อยแตกต่างกันไป ได้แก่
           5.1 กลุ่มมองโกลอยด์ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีผิวเหลือง มีจำนวนประชากรมากที่สุดของทวีปเอเชียและของโลก จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
                 - กลุ่มมองโกลอยด์ตอนเหนือ เป็น กลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้แก่ ชาวญี่ปุ่น เกาหลี จีน ทิเบต มองโกเลีย และชาวเติร์กเมนิสถานในภูมิภาคเอเชียกลาง
                 - กลุ่มมองโกลอยด์ตอนใต้ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ชาวไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ติมอร์-เลสเต บรูไน ฟิลิปปินส์ รวมทั้งชนกลุ่มน้อยที่ปรากฏในภูเขาสูงของคาบสมุทรอินโดจีน เช่น ชาวม้ง กระเหรี่ยง อีก้อ มูเซอ เป็นต้น และชนกลุ่มน้อยในกลุ่มเกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางพวก
           5.2 กลุ่มคอเคซอยด์ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ทีมีผิวขาว มีหน้าตาและร่างกายที่สูงใหญ่ ปรากฏในภูมิภาคเอเชียเหนือ เอเชียกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

           5.3 กลุ่มนิกรอยด์ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเอเชียอีกกลุ่มหนึ่ง มีผิวดำ ผมหยิก รูปร่างเล็ก ได้แก่ 
    ชาวตราวิเดียนในอินเดียและศรีลังกา เงาะ ป่าเซมัง และซาไกในมาเลเซีย และอินโดนีเซีย 


    เอเชีย : ทวีปที่มีความหลากหลายทางภาษา

                ความกว้างใหญ่ของแผ่นดินเอเชียทำให้ภูมิประเทศและภูมิอากาศ แตกต่างกันไปตามบริเวณต่าง ๆ ความหลากหลายของภูมิประเทศและภูมิอากาศเป็นสภาพทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของมนุษย์ในรูปแบบแตกต่างกันไป ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์โดยมนุษย์เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มคนกลุ่มเดียวกันและระหว่างกลุ่ม ในทวีปเอเชียปรากฏภาษาที่มากมายหลายพันภาษา มีลักษณะสำเนียงพูดและหลักภาษาแตกต่างกันไป ซึ่งจำแนกเป็นกลุ่มภาษาหลัก ๆ ได้เป็น 11 กลุ่ม ภาษา บริเวณต่าง ๆ พิจารณาได้จากแผนที่ ดังนี้ 

    1. กลุ่มภาษาอิหร่าน – อาร์มีเนีย ปรากฏในประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน และปากีสถานแถบตะวันตก
    2. กลุ่มภาษาสลาฟ ปรากฏในประเทศรัสเซียด้านตะวันออกเฉียงใต้ และคาซัคสถานตอนเหนือ
    3. กลุ่มภาษาอาหรับ ปรากฏในกลุ่มประเทศสมุทรอาหรับ
    4. กลุ่มภาษาอินเดีย (ฮินดู เบงกอล) ปรากฏในประเทศอินเดียตอนเหนือ ปากีสถานด้านตะวันออก บังกลาเทศด้านตะวันตกเฉียงใต้ เนปาล และภูฏาน
    5. กลุ่มภาษายูราล-อัลไต (รัสเซีย มองโกเลีย เติร์ก) ปรากฏในประเทศรัสเซียเป็นส่วนใหญ่ จีนตอนเหนือ มองโกเลีย อุซเบกิสถาน คีร์กีซ ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน คาซัคสถาน อาร์เมเนีย ไซปรัส และตุรกี
    6. กลุ่มภาษาอินโด-แปซิฟิก (โพลินิเซีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย) ปรากฏในประเทศหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    7. กลุ่มภาษาจีน ปรากฏในประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ พม่า เวียดนาม และลาว
    8. กลุ่มภาษาญี่ปุ่น ปรากฏในประเทศญี่ปุ่น
    9. กลุ่มภาษาเกาหลี ปรากฏในคาบสมุทรเกาหลี
    10. กลุ่มภาษาไทย ปรากฏในประเทศไทย ซึ่งบางครั้งนักภาษาศาสตร์จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทย-จีน-ทิเบต
    11. กลุ่มภาษาเฉพาะถิ่น ปรากฏอยู่ในหลายบริเวณซึ่งไม่สามารถจัดเข้ากับกลุ่มภาษาใดได้ ได้แก่ เกาะศรีลังกาตอนเหนือ อินเดียตอนใต้ พม่าตอนใต้ กัมพูชา รัสเซียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านตะวันออกเฉียงใต้บางส่วน


    เอเชีย : ทวีปที่เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลก
               แผ่นดินอันกว้างใหญ่ของทวีปเอเชีย เป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาที่สำคัญของโลกทุกศาสนารวมทั้งลัทธิความเชื่อซึ่งมีลักษณะคล้ายศาสนา แต่ขาดองค์ประกอบบางอย่างจึงไม่ถือเป็นศาสนา ศาสนาและลัทธิกำเนิดในทวีปเอเชีย ได้แก่

     - ศาสนาฮินดู
    - พระพุทธศาสนา
    - ศาสนาคริสต์
    - ศาสนาอิสลาม
    - ศาสนายูดาย
    - ศาสนาชินโด
    - ลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื๊อ
    กำเนิดในอินเดีย
    กำเนิดในอินเดีย
    กำเนิดในอิสราเอล
    กำเนิดในซาอุดีอาระเบีย
    กำเนิดในอิสราเอล
    กำเนิดในญี่ปุ่น
    กำเนิดในจีน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น