วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

ลักษณะทวีปเอเชีย

ทวีปเอเชีย ในเรื่องของพื้นที่ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของผืนแผ่นดินทั้งโลก ความกว้างใหญ่ของพื้นที่ทำให้ปรากฏภูมิประเทศ ลักษณะธรณี ภูมิอากาศ ดิน และ พืชพรรณธรรมชาติทุกรูปแบบ ในเรื่องของประชากรถือว่ามีจำนวนมากที่สุด มีความหลากหลายของเผ่าพันธุ์และเชื้อชาติ นอกจากนี้การเป็นพื้นที่ที่มีประชากรตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนาน ทำให้เกิดอารยธรรมวัฒนธรรมที่เก่าแก่ หลากหลาย และแตกต่างกันไปตามลักษณะทางพื้นที่ในแต่ละบริเวณ 




แผนที่แสดงทวีปต่างๆของโลก
แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/tunu04/304254

      ทวีปเอเชียมีขนาดพื้นที่ในส่วนที่เป็นแผ่นดินมากที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของโลกใหญ่กว่าทวีปแอฟริกาที่มีขนาดพื้นที่รองลงมาประมาณ 1.5 เท่า หรือใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดประมาณ 5.5 เท่า ความกว้างใหญ่ของผืนแผ่นดินทวีปเอเชีย ทำให้ปรากฏลักษณะต่าง ๆ ในเชิงภูมิศาสตร์มากมาย เช่น
  • ทำให้ทวีปเอเชียมีเวลาท้องถิ่นต่างกันมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทวีปอื่น ๆ พิจารณาได้จากความกว้างของผืนแผ่นดินตามลองจิจูดมีความกว้างถึง 144 องศา ทำให้มีเวลาท้องถิ่นระหว่างบริเวณที่อยู่ตะวันตกสุดคือ แหลมบาบาในประเทศตุรกี กับบริเวณที่อยู่ตะวันออกสุดคือ แหลมอีสต์ ในประเทศรัสเซียห่างกันถึง 9 ชั่วโมง 30 นาที ขณะที่ผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปออสเตรเลียที่มีความกว้างตามลองจิจูด 40 องศา มีเวลาท้องถิ่นต่างกันจากบริเวณตะวันตกสุดถึงตะวันออกสุดเพียง 2 ชั่วโมง 36 นาที ซึ่งการคำนวณเรื่องของเวลาท้องถิ่นนั้น พิจารณาจากความกว้างของลองจิจูดทุก 15 องศา จะมีเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง เช่นประเทศไทยที่ใช้เวลามาตรฐานที่ลองจิจูด 105 องศาตะวันออก มีเวลาต่างกับเมืองกรีนิชในประเทศอังกฤษที่ใช้เวลามาตรฐานที่ลองจิจูด 0 องศา อยู่ 7 ชั่วโมง และประเทศไทยจะมีเวลาเร็วกว่าอีกด้วยเพราะอยู่ทางด้านตะวันออก เป็นต้น
      นอกจากนี้ความกว้างใหญ่ของผืนแผ่นดินทวีปเอเชียยังทำให้มีลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะธรณีลักษณะดิน ภูมิอากาศ และพืชพรรณธรรมชาติที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันไปตามลักษณะของพื้นที่ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไปนี้
ทวีปแอฟริกาส่วนใต้ และทวีปอเมริกาใต้อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ทวีปเอเชียจะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเป็นต้น ซึ่งมีผลมาจากการโคจรของโลกไปรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่บนพื้นโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ที่แตกต่างกันนั่นคือ ในช่วงวันที่ 21 มิถุนายน ลำแสงของดวงอาทิตย์จะทำมุมตั้งฉากกับพื้นโลกที่ละติจูด 23 องศาเหนือ หรือทีเรียกว่าเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ส่งผลให้พื้นที่ในซีกโลกเหนือได้รับแสดงอาทิตย์ในลักษณะแสดงตรงปริมาณความเข้มมากและระยะทางใกล้กว่าพื้นที่ในซีกโลกใต้ ทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าจึงเป็นฤดูร้อน ขณะที่ซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในช่วงวันที่ 21 ธันวาคม ลำแสงของดวงอาทิตย์จะทำมุม
ตั้งฉากกับพื้นโลกที่ละติจูด 23 องศาใต้ หรือที่เรียกว่าเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น จึงทำให้ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อนแต่ในขณะที่ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวนั่นเอง
เอเชีย : ทวีปที่มีภูมิประเทศทุกรูปแบบ
       ที่กล่าวว่าทวีปเอเชียมีภูมิประเทศทุกรูปแบบพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ แม้จะมีความแตกต่างกันไปตามบริเวณต่าง ๆ แต่โดยภาพรวมของทวีปแล้วมีภูมิประเทศทุกลักษณะมีจุดที่สูงที่สุดของโลกส่วนที่เป็นแผ่นดิน คือยอดเขาเอเวอเรสต์ในเขตเทือกเขาหิมาลัยมีจุดที่ลึกที่สุดของโลกส่วนที่เป็นมหาสมุทรคือ ร่องลึกบาดาลมาเรียนา ในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้กับชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์
ยอดเขาเอเวอเรสต์
แหล่งที่มา: http://www.wonder7th.com/wonder_natural/008mount_everest.htm

3.1 เทือกเขาสูง
     ภูมิประเทศเทือกเขาสูงถือเป็นลักษณะเด่นที่ของทวีปเอเชียอีกประการหนึ่ง โดยเทือเขาสูงจะอยู่เกือบใจกลางของทวีป ทำหน้าที่เสมือนเป็นหลังคาโลกที่กล่าวว่าเป็นเสมือนหลังคาโลกเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางมากที่สุดของโลกประกอบกับเป็นจุดรวมของเทือกเขาสูงที่สำคัญ ๆ ของทวีปเอเชียที่วางตัวแยกย้ายออกไปในทุกทิศทางรวมทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ ที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทางเช่นกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของบ้านแล้วคล้ายกับหลังคาบ้านซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของบ้านและปันน้ำฝนให้ไหลไปยังทิศทางต่าง ๆ นั่นเอง เทือกเขาสูงที่สำคัญของทวีปเอเชีย พิจารณาตามทิศทางการวางตัวได้ดังนี้


แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/tunu04/304254
             เทือกเขาที่วางตัวแยกออกไปทางด้านตะวันตก ซึ่งมี 2 แนวย่อยคือ แนวที่แยกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ คือ มีเทือกเขาฮินดูกูช แนวที่แยกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ มีเทือกเขาสุไลมาน
             เทือกเขาที่วางตัวแยกออกไปทางด้านตะวันออก มี 3 แนวย่อยคือ แนวเทือกเขาที่ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาเทียนซาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขายาโบลโนวี เทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโคลีมา ขณะที่แนวตะวันออกมีเทือกเขาคุนลุนซานเทือกเขาโคลีมา เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา รวมทั้งที่ต่อเนื่องลงไปเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย และมีแนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องลงมาทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากยูนนานนอต ผ่านพม่า ลาว ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะอินโดนีเซีย
             เทือกเขาสูงต่าง ๆ ของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญ ๆ หลายสาย เช่น บริเวณหลังคาโลก เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายใหญ่หลายสายที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทาง ทางเหนือมีแม่น้ำออบ เยนิเซ ลีนา ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีแม่น้ำอามูร์ทางตะวันออกมีแม่น้ำฮวงเหอ แยงซี ทาวตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำโขง อิรวดี สาละวัน ทางใต้มีแม่น้ำสินธุ คงคา พรหมบุตร และทางตะวันตกมีแม่น้ำอามูร์ดาร์ยา เป็นต้น
             เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นแนวปะทะลม ทำให้เกิดเขตฝนชุกหรือเขตแห้งแล้ง ช่วยลดความรุนแรงจากพายุหมุน เช่น เทือกเขาหิมาลัยที่วางตัวขวางทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ด้านหน้าภูเขาบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย ซึ่งเป็นด้านรับลมเป็นบริเวณที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีสูงที่สุดในโลก คือมากกว่า 3,000 มิลลิเมตร ขณะที่ด้านหลังภูเขาลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นเขตแห้งแล้งหรือเทือกเขาอันนัมที่วางตัวขนานไปกับชายฝั่งเวียดนามช่วยเป็นแนวปะทะพายุใต้ฝุ่นที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกให้ได้รับความเสียหายน้อยลง เป็นต้น
             เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีพื้นที่ป่าไม้ประเภทต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ตามสันเขา ไหล่เขา หรือ หุบเขา เป็นพื้นที่ที่เข้าถึงยากและไม่เหมาะต่อการใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้หลงเหลือเป็นพื้นที่ป่าที่สำคัญของทวีปเอเชีย
             เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีแหล่งแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น แร่ดีบุกที่พบมากบริเวณคาบสมุทรมลายูมีการผลิตดีบุกมากตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือเขานครศรีธรรมราช ต่อเนื่องไปถึงเทือกเขาในประเทศมาเลเซีย หรือแม้แต่ธาตุอาหารในดินที่มีประโยชน์ต่อการปลูกพืชก็ได้รับจากพื้นที่เทือกเขาสูงเช่นกัน โดยการผุสลายและถูกพัดพามากับสายน้ำสะสมตัวในที่ต่ำทำให้การปลูกพืชได้ผลดี เป็นต้น

ที่ราบ

 นอกจากนี้เทือกเขาสูงยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของทวีปเอเชีย เช่น เทือกเขาที่มียอกเขาสูงมาก ๆ เทือกเขาเอเวอเรสต์ที่มีระดับสูงถึง 8,888 เมตร จะมีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดปีเนื่องจากระดับความสูงเพิ่มขึ้นจะทำให้อุณหภูมิลดลงความแปลกแตกต่างจากเทือกเขาทั่วไปรวมทั้งระดับสูงที่สุด ทำให้นักปีนเขาที่ชอบความท้าทายมาเยือนเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งของการท่องเที่ยว เป็นต้น เทือกเขาสูงต่าง ๆ มักจะมีสัณฐานย่อยที่ใช้เป็นภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยว เช่น มีหน้าผาเป็นจุดชมวิว มีน้ำตก มีโตรกเขา มีพืชพรรณทีหาดูได้ยาก รวมทั้งมีอากาศเย็น เป็นต้น 
ตารางแสดงยอดเขาสำคัญในทวีปเอเชีย
ลำดับที่
ชื่อยอดเขา
ระดับสูง 
(เมตร)
ประเทศ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
เอเวอเรสต์
กอดวิน
กันสเชนจุงกา
ลอตเช
มาคาลู
โชโอยู
ตอลาคีรี
มานาสลู
นังกาปาร์บาตร
อันนาปุรนา
8,848
8,611
8,598
8,516
8,481
8,201
8,172
8,156
8,126
8,078
จีน เนปาล
จีน แคชเมียร์(อินเดีย)
อินเดีย เนปาล
จีน เนปาล
จีน เนปาล
จีน เนปาล
เนปาล
เนปาล
แคชเมียร์ (อินเดีย)
เนปาล
ประยุกต์จาก : แผนที่กายภาพโลก, 2546.
3.2 ที่ราบสูง 

    ที่ราบสูง (Plateau) คือ พื้นที่ค่อนข้างอยู่สูงกว่าที่ต่ำโดยรอบ จากนิยามดังกล่าวที่ราบสูงจึงเป็นลักษณะของภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีขนาดพื้นที่และระดับสูง 180-300 เมตร เช่น แผ่นดินตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีระดับสูงส่วนใหญ่เพียง
150-250 เมตร และมีพื้นที่ 169,954 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เรียกที่ราบสูงโคราชเนื่องจากระดับความสูงไม่มากนักแยกออกจากที่ราบภาคกลางและที่ราบต่ำเขมรอย่างชัดเจน ขณะที่ที่สูงที่อยู่ระหว่างเทือกเขาหิมาลัยกับเทือกเขาคุลุนซาน ซึ่งมีระดับสูงเฉลี่ยถึง 4,500 เมตร และมีพื้นที่ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร ก็เรียกว่า ที่ราบสูงทิเบต เป็นต้น
ดังนั้นลักษณะภูมิประเทศที่ราบสูงของทวีปเอเชียจึงปรากฏกระจายอยู่โดยทั่วไป ซึ่งมีขนาดพื้นที่และระดับสูงแตกต่างกันไป ในที่นี้จะได้กล่าวถึงเฉพาะที่ราบสูงขนาดใหญ่ ได้แก่

เทือกเขาหิมาลัยแหล่งที่มา: http://www.snr.ac.th/wita/story/20views.htm

- ที่ราบสูงบริเวณตอนกลางของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบต ที่เป็นส่วนหนึ่งของหลังคาโลก ถือเป็นที่ราบสูงที่มีระดับสูงที่สุดของโลกและเอเชีย ที่ราบสูงยูนนาน บริเวณจีนตอนใต้ซึ่งเป็นจุดรวมของเทือกเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
- ที่ราบสูงบริเวณตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงเดคคาน บริเวณคาบสมุทรอินเดีย ที่ราบสูงอิหร่าน บริเวณประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอาหรับ บริเวณคาบสมุทรอาหรับ ที่ราบสูงอนาโตเลีย บริเวณประเทศตุรกี - ที่ราบสูงที่สุดในโลก ที่ราบสูงทิเบตเป็นที่ราบผืนใหญ่ที่อยู่ระหว่างเทือกเขาคุนลุนซานทางด้านเหนือกับเทือกเขาหิมาลัยทางด้านใต้มีพื้นที่ประมาณ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร และมีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง เฉลี่ย 4,500 เมตร นับว่าเป็นที่ราบสูงผืนใหญ่ที่สูงที่สุดในโลก ทางทิศตะวันตกขอที่ราบสูงทิเบตมีที่ราบสูงผืนใหญ่ แต่อยู่สูงที่สุดในโลกเรียก “หลังคาโลก” ซึ่งภาษาพื้นที่เมืองแถบนั้นเรียกว่า ปามีร์ดุนยา (Pamir Dunya) หรือ ปามีร์นอต (Pamir Knot) มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 8,611 เมตร พื้นที่บริเวณหลังคาโลกจะเป็นจุดรวมของเทือกเขาสูงที่สำคัญของทวีปเอเชีย
- ที่ราบสูงบริเวณตอนเหนือของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงไซบีเรียตอนกลาง บริเวณประเทศรัสเซียที่ราบสูงขนาดใหญ่ของทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะเป็นเขตฝนน้อย บางแห่งถึงกับเป็นทะเลทราย เช่น ที่ราบสูงอิหร่าน ที่ราบสูงอาหรับ ที่ราบสูงทิเบต เป็นต้น เนื่องจากอยู่ในเขตอับฝนหรือด้านหลังเขานั่นเอง 
3.3 ที่ราบ 

      ที่ราบ เป็นลักษณะภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างระดับภายในพื้นที่น้อยมากจนดูเหมือนราบเรียบเป็นผืนเดียวต่อเนื่องกัน ทั้งที่ความจริงอาจจะมีความสูง-ต่ำแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยธรรมชาติที่ราบมักจะเป็นพื้นที่รับน้ำและตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินที่ผุสลายแล้วถูกพาเคลื่อนย้ายจากที่สูงกว่าทั้งภูเขาสูงหรือที่ราบสูงมาสะสมทับถมกัน ทำให้ที่ราบมีดินดี มีน้ำเพียงพอ ประกอบกับที่ราบมีการเข้าถึง การเดินทางเคลื่อนย้ายได้สะดวกจึงมักจะเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ที่ราบปรากฏอยู่บนแผ่นดินทวีปเอเชียจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่ง ซึ่งมีระดับสูงและมีขนาดของพื้นที่แตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่ราบที่สำคัญของทวีปเอเชีย ดังนี้ 

ที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย
แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/phakawatkeetra/401242

1) ที่ราบตอนเหนือ คือ บริเวณที่ราบที่อยู่ถัดจากที่สูงตอนกลางขึ้นไปทางทิศเหนือเป็นที่ราบขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย เรียกว่า ที่ราบไซบีเรีย อยู่ในพื้นที่ของประเทศรัสเซียส่วนเอเชียมีน้ำสายใหญ่ 3 สาย ไหลผ่านกัดเซาะนำเอาตะกอนที่สูงมาสะสมในที่ตำคือ แม่น้ำออบ แม่น้ำเยนิเซ และแม่น้ำลีนา ที่ราบไซบีเรียแบ่งออกเป็น 2 บริเวณ โดยที่ราบสูงไซบีเรียตอนกลางเป็นแนวแบ่งเขต ได้แก่ ที่ราบไซบีเรียด้านตะวันตกและที่ราบไซบีเรียด้านตะวันออก ซึ่งที่ราบไซบีเรียด้านตะวันออกจะมีระดับสูงมากกว่า โดยภาพรวมที่ราบตอนเหนือจะมีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก เนื่องจากอยู่ในละติจูดสูงทำให้มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นนอกจากจะไม่เหมาะในการอยู่อาศัยแล้วยังทำให้การเพาะปลูกไม่ค่อยได้ผล

2) ที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นบริเวณที่ราบที่ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำสายใหญ่และสาขาในการปรับระดับพื้นที่ โดยการนำพาเอาตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินที่อุดมสมบูรณ์มาสะสมทับถม ทำให้ดินมีสภาพดี เมื่อมีดินดี มีน้ำบริบูรณ์ จึงเป็นเขตเพาะปลูกที่สำคัญที่สุดของทวีปเอเชีย บางแห่งอาจจะมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูน้ำหลากจึงเรียก ที่ราบลุ่มแม่น้ำ
       ที่ราบลุ่มแม่น้ำของทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ทางด้านตะวันออก ด้านใต้ และด้านตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงเหอ ในประเทศจีน
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถานและอินเดีย
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาในประเทศอินเดีย
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในประเทศบังกลาเทศ และอินเดีย
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส หรือดินแดนเมโสโปเตเมีย ในประเทศอิรัก
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างในประเทศกัมพูชา และเวียดนาม
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงในประเทศเวียดนาม
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินในประเทศพม่า
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า
3) เขตที่ราบชายฝั่งทะเล เป็นลักษณะภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างระดับภายในพื้นที่น้อยจนดูราบเรียบและติดชายฝั่งทะเล ทำให้ได้รับอิทธิพลจากการกระทำของทะเลจนเกิดเป็นสัณฐานย่อยประกอบชายฝั่ง เช่น สันทราย เนินทราย ชายหาด
หัวแหลม เป็นต้น ซึ่งที่ราบชายฝั่งที่ระดับน้ำทะเลมีการขึ้น-ลง ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ในบางช่วงเวลาเรียกว่า “ที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล” หรือ “ที่ราบลุ่มน้ำกร่อย” โดยปกติที่ราบชายฝั่งมักจะเป็นแนวเชื่อมต่อกันระหว่างน้ำจืดจากแผ่นดินกับน้ำเค็มในทะเล ทำให้เกิดลักษณะที่พิเศษบางอย่างของที่ราบแถบนี้ เช่น เกิดน้ำกร่อย ทำให้พืชพรรณต้องปรับตัวเฉพาะเพื่อให้อยู่รอด เป็นต้น ที่ราบชายฝั่งของทวีปเอเชียจะปรากฏอยู่ทั้งในมหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปเป็นชายฝั่งที่กว้างบ้างแคบบ้าง เว้า ๆ แหว่ง ๆ หรือราบเรียบ เป็นหาดทราย หาดโคลน หรือหาดเลนซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีในเรื่องของหินและแร่ที่อยู่เบื้องหลังชายฝั่งทำให้เกิดตะกอนทรายหรือดินเหนียว ชายฝั่งบางช่วงป่าชายเลนถูกทำลายด้วยการกระทำของมนุษย์ เช่น ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นนากุ้ง หรือเป็นท่าเรือขนส่งสินค้า เป็นต้น

3.4 ทะเลทราย 
ทะเลทราย เป็นรูปแบบของภูมิประเทศชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติของอากาศแล้งจัด นั่นคือ มีไอน้ำหรือความชื้นในอากาศน้อยมาก และมีคุณสมบัติของดินแห้งจัด คือ มีน้ำในดินน้อยมาก และส่วนใหญ่ประกอบด้วยอานุภาคที่เป็นทราย ประกอบกับโดยทั่วไปมีปริมาณฝนต่อปีน้อยกว่า 250 มิลลิเมตร มักไม่ค่อยปรากฏทางน้ำหรือสายน้ำ จึงทำให้พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่ เป็นหญ้าทนแล้งที่มักจะมีหนามไม่มีใบ เพื่อลดการคายน้ำของปากใบ เป็นการปรับตัวของพืช เช่น กระบองเพชร เป็นต้น ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวจึงเรียกลักษณะภูมิประเทศรูปแบบนี้ว่า “ภูมิประเทศแห้งแล้งแบบทะเลทราย” ทะเลทรายที่ปรากฏในทวีปเอเชีย ได้แก่ ทะเลทรายบริเวณคาบสมุทรอาหรับ ทะเลทรายโกบี ทะเลทรายธาร์ รวมทั้งที่ราบสูงทิเบต และที่ราบสูงอิหร่าน

3.5 กลุ่มเกาะ 
เกาะ (Island) คือ ผืนแผ่นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ ซึ่งถ้ามีเกาะอยู่รวมกันมาก ๆ ในบริเวณหรือย่านเดียวกันเรียกว่า “กลุ่มเกาะ” หรือ “หมู่เกาะ” เช่น กลุ่มเกาะอินโดนีเซีย คือ กลุ่มเกาะที่ประกอบด้วย เกาะใหญ่สุมาตรา ชวา บอร์เนียว เซลีเบส อิเรียนจายา และเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย เป็นต้น กลุ่มเกาะที่สำคัญของทวีปเอเชีย ได้แก่ กลุ่มเกาะอินโดนีเซีย กลุ่มเกาะฟิลิปปินส์ กลุ่มเกาะญี่ปุ่น กลุ่มเกาะย่านรัสเซีย กลุ่มเกาะอันดามันและกลุ่มเกาะมัลดีฟส์
ตาราง แสดงชื่อและขนาดพื้นที่เกาะสำคัญในทวีปเอเชีย 

ลำดับที่
ชื่อเกาะ
ขนาดพื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
ระบุแหล่งที่มาของข้อมูล
ในมหาสมุทร
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
บอร์เนียว
สุมาตรา
ฮอนซู
เซลีเบส
ชวา
ลูซอน
มินดาเนา
ฮอกไกโด
แซคาลิน
ศรีลังกา
737,000
425,000
230,000
189,000
126,700
104,700
95,000
78,400
76,400
65,600
อินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย
ญี่ปุ่น
อินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย
ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์
ญี่ปุ่น
รัสเซีย
ศรีลังกา
แปซิฟิก
อินเดีย
แปซิฟิก
แปซิฟิก
อินเดีย
แปซิฟิก
แปซิฟิก
แปซิฟิก
แปซิฟิก
อินเดีย
ประยุกต์จาก : CONCISE ATLAS OF THE WORLD, 1996.
3.6  ทะเลและมหาสมุทร 

       อย่างที่ทราบกันว่าพื้นผิวของโลกประมาณ 3 ใน 4 นั้นเป็นพื้นน้ำและเกือบทั้งหมดเป็นพื้นน้ำทะเลทำให้เกิดปรากฏการณ์ตามธรรมชาติมากมาย เช่น ทำให้เกิดพายุหมุนที่รุนแรงพัดเข้าสู่แผ่นดินอันเป็นผลมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผืนดินกับพื้นน้ำ ทำให้ความกดอากาศต่างกันจึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของลมพายุ เอเชียเป็นทวีปที่ตั้งอยู่ระหว่าง 3 มหาสมุทร ได้แก่
มหาสมุทรอาร์กติกบริเวณขั้วโลกเหนือ มหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออกแยกเอเชียออกจากผืนแผ่นดินทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ และมหาสมุทรอินเดียทางใต้แยกเอเชียออกจากทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา ส่วนทะเลของเอเชียประกอบด้วยทะเลแดง ทะเลอาหรับ ทะเลอันดามัน ทะเลจีนใต้ ทะเลเซลีเบส ทะเลติมอร์ ทะเลบันดา ทะเลจีนตะวันออก ทะเลเหลือง
ทะเลญี่ปุ่น และทะเลโอคอตสก์

ลักษณะภูมิอากาศ



แผนที่แสดงลักษณะธรณีวิทยาทวีปเอเซีย
แหล่งที่มา: http://hvarn-world.blogspot.com/2010/03/2.html

เอเชีย : ทวีปที่ปรากฏลักษณะทางธรณีทุกรูปแบบ


           ขนาดพื้นที่ที่กว้างใหญ่ของทวีปเอเชียทำให้ปรากฏลักษณะทางธรณีที่หลากหลาย อาจกล่าวได้ว่าครบทุกรูปแบบนั่นคือปรากฏหินตั้งแต่หินเก่ายุคก่อนแคมเบรียนจนถึงหินใหม่ยุคเทอร์เชียริและตะกอนยุคควอเทอร์นารีมีโครงสร้างของเปลือกโลกที่สลับซับซ้อนเป็นเทือกเขาสูงชัน ปรากฏรอยเลื่อนรอยคดโค้งที่เกิดจาการดันและการอัดตัวของเปลือกโลกมากมายมีการยกตัวของแผ่นดินเป็นที่ราบสูงและการทรุดตัวเป็นแอ่งแผ่นดิน ขณะที่บางส่วนเป็นที่ราบ ที่ลุ่มเป็นเขตสะสมตัวของตะกอนยุคใหม่ ความซับซ้อนทางธรณีของแผ่นดินเอเชียทำให้มีภูมิประเทศหลายรูปแบบ มีทรัพยากรแร่ธาตุที่หลายหลายมากมาย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามมาก เช่น ภูเขาสูง ชายหาดต่าง ๆ เป็นต้น ลักษณะทางธรณีของทวีปเอเชียตามอายุทางธรณีพิจารณาจากแผนที่ได้ดังนี้ 

1) ธรณีหินเก่ายุคก่อนแคมเบรียน ปรากฏกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรอินเดีย คาบสมุทร
อินโดจีน ด้านตะวันออกประเทศจีนตอนเหนือ ประเทศมองโกเลีย คาบสมุทรเกาหลี คาบสมุทรอาหรับด้านตะวันตก และประเทศรัสเซียด้านตะวันออกเฉียงใต้
2) ธรณีหินฐานมหายุคพาลีโอโซอิก (แคมเบรียน ออร์โดวิเชีย ไซลูเรียน ดีโวเนียน คาร์บอนิเฟอรัส และเพอร์เมียน) ปรากฏกระจายอยู่ในหลายบริเวณที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มเกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มเกาะประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีนตอนกลางและด้านตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณจีนตอนเหนือติดต่อกับรัสเซียตอนใต้แถบเทือกเขาอัลไตและเทือกเขาเทียนซานและบริเวณแนวเทือกเขาอูราล 
3) ธรณีหินฐานมหายุคมีโซโซอิก (ไทรแอสชิก จูแรสซิก และครีเทเชียส) ปรากฏอยู่ในเกาะบอร์เนียวด้านตะวันตก คาบสมุทรมลายู คาบสมุทรอินโดจีนตอนบน เป็นแนวแคบ ๆ ในตอนใต้มองโกเลีย รัสเซียตะวันออกเฉียงใต้ และรัสเซียตะวันออกเฉียงเหนือ 
4) ธรณีหินฐานมหายุคซีโนโซอิก (เทอร์เชียรีและควอเทอร์นารี) ปรากฏแถบพม่าตะวันตก อินเดียตอนเหนือ อิหร่าน อิรัก ตุรกี และบริเวณคาบสมุทรคัมชัตกา
5) ธรณีหินตะกอนที่ปิดทับหินฐานมหายุคต่าง ๆ ปรากฏกระจายอยู่ทั่วไป บริเวณที่สำคัญได้แก่ บริเวณรัสเซียด้านตะวันออกและตอนกลาง บริเวณคาบสมุทรอาหรับ อินเดียตอนเหนือ ปากีสถาน คาบสมุทรอินโดจีนตอนล่าง เกาะบอร์เนียวตอนใต้ และเกาะนิวกินีตอนใต้
6) ธรณีหินภูเขาไฟมหายุคมีโซโซอิกถึงซีโนโซอิก ปรากฏอยู่ 3 บริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ บริเวณประเทศรัสเซียด้าน
ตะวันออกเฉียงเหนือ และชายฝั่งทะเลโอคอตสก์ บริเวณประเทศจีนแถบชายฝั่งทะเลตะวันออกและบริเวณประเทศอินเดียด้าน
ตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะทางธรณีมีผลทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นดินภูเขาไฟ (อันดับดินแอนดิชอลส์) ที่มีความอุดมสมบูรณ์
สูงมาก


ทวีปเอเชีย : ทวีปที่ปรากฏภูมิอากาศหลายรูปแบบ

                เอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุด มีดินแดนตั้งแต่บริเวณเส้นศูนย์สูตรไปจนถึงบริเวณขั้วโลกเหนือ จึงทำให้ปรากฏลักษณะภูมิอากาศทุกรูปแบบแตกต่างกัน ความแตกต่างของลักษณะภูมิอากาศเอเชียมีตั้งแต่ร้อนแบบศูนย์สูตรถึงหนาวแบบขั้วโลกหรือฝนชุกแบบศูนย์สูตรจนถึงแห้งแล้งแบบทะเลทราย ซึ่งความแตกต่างของลักษณะภูมิอากาศขึ้นอยู่กับปัจจัย
ควบคุมภูมิอากาศ ดังนี้
  1. ตำแหน่งที่ตั้งและขนาด ทวีปเอเชียมีพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่ในซีกโลกเหนือ ตั้งแต่แถบศูนย์สูตร (ละติจูด 0 องศา) ไปจนถึงขั้วโลกเหนือจึงทำให้ปรากฏลักษณะภูมิอากาศทุกรูปแบบ การที่เป็นทวีปที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่มาก ซึ่งมีทั้งเส้นศูนย์สูตร (ละติจูด 0 องศา) เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ (ละติจูด 23 องศาเหนือ) และเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล
    (ละติจูด 66 องศาเหนือ) ลากผ่านที่ตั้งดังกล่าวทำให้ทวีปเอเชียปรากฏทั้งอากาศร้อน อบอุ่นและหนาว
  2. ระยะใกล้-ไกลจากทะเล ของพื้นที่ต่าง ๆ ในทวีปเอเชียนั้นมีผลมาจากความกว้างใหญ่ของแผ่นดินเอเชียที่ต่อเนื่องกับยุโรป ซึ่งเรียกว่า “ยูเรเซีย” และเชื่อมต่อกับทวีปแอฟริกามีผลทำให้อิทธิพลจากทะเลเข้าไปถึงพื้นที่ภายในแผ่นดินได้น้อย จึงเกิดเขตแห้งแล้งเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่ตอนในและทำให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูกาลที่รุนแรง ซึ่งช่วงฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนจัด ขณะที่ช่วงฤดูหนาวอากาศจะหนาวจัด หรือแม้แต่ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนก็มีค่ามากด้วย ส่วนบริเวณชายฝั่งทะเลจะมีฝนตกชุก มีความแตกต่างของอุณหภูมิในรอบวันและระหว่างฤดูกาลไม่มากนัก
  3. ลักษณะภูมิประเทศ คือ พื้นที่อันกว้างใหญ่ของทวีปเอเชียมีความแตกต่างกันมากทำให้เกิดความแตกต่างของลักษณะ
    ภูมิอากาศ เช่น ภูเขาสูงที่วางตัวขวางทิศทางลมประจำจะทำให้เกิดความแตกต่างของปริมาณน้ำฝนระหว่างเขตหน้าภูเขากับเขตหลังภูเขา หรือยอดเขาสูงกับที่ราบแม้จะอยู่ในละติจูดเดียวกันก็ตามอาจมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก เนื่องจากระดับความสูงเพิ่มขึ้น อุณหภูมิจะลดลงนั่นเอง
  4. กระแสน้ำ กระแสน้ำจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ กระแสน้ำอุ่น กับ กระแสน้ำเย็น ซึ่งกระแสน้ำอุ่นจะเคลื่อนที่จากเขตละติจูดต่ำใกล้ศูนย์สูตรไปสู่ละติจูดใกล้ขั้วโลก ทำให้ดินแดนที่กระแสน้ำอุ่นไหลผ่านมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนกระแสน้ำเย็นจะเคลื่อนตัวจากเขตละติจูดสูงใกล้ขั้วโลกไป สู่เขตละติจูดต่ำใกล้ศูนย์สูตร ทำให้ดินแดนที่กระแสน้ำเย็นไหลผ่านมีอุณหภูมิต่ำลง ซึ่งอิทธิพลของกระแสน้ำที่มีต่อลักษณะภูมิอากาศก็คือ ในเรื่องของอุณหภูมิและความชื้น ถ้าบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นเคลื่อนที่ผ่านจะมีอุณหภูมิและความชื้นสูง ส่วนบริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นเคลื่อนที่ผ่านจะมีอุณหภูมิต่ำลงและความชื้นต่ำลง เช่น กลุ่มเกาะประเทศญี่ปุ่นชายฝั่งตะวันตกจะมีกระแสน้ำเย็นโอยาชิโวเคลื่อนที่ผ่าน ส่วนชายฝั่งตะวันออกจะมีกระแสน้ำอุ่น
    กุโรชิโวเคลื่อนที่ผ่าน ทำให้แถบชายฝั่งตะวันออกมีลักษณะอากาศอบอุ่นกว่าแม้จะอยู่ในละติจูดเดียวกันก็ตาม
  5. ระบบลม ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของ 2 บริเวณ ทำให้เกิดความแตกต่างของความกดอากาศ ความแตกต่างของความกดอากาศนี้เองทำให้เกิดลม เช่น ลมค้า ลมมรสุม เป็นต้น ในทวีปเอเชียระบบลมที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศได้แก่
    5.1 ลมประจำฤดูกาล ที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศเอเชีย คือ ลมมรสุม ที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างพื้นทวีปเอเชียกับพื้นน้ำของมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดความแตกต่างของความกดอากาศซึ่งความแตกต่างระหว่างความกดอากาศ ของแผ่นดินเอเชียกับพื้นน้ำมหาสมุทร ทำให้เกิดความเคลื่อนที่ของลมซึ่งก็คือลมมรสุมนั่นเอง
    5.2 พายุหมุน มักจะเกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม โดยพายุหมุนที่มีความเร็วลมสูงสุดถ้าก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก แล้วเคลื่อนที่ผ่านทะเลจีนใต้ เรียกว่า “พายุไต้ฝุ่น” แต่ถ้าก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียแล้วเคลื่อนที่ผ่านอ่าวเบงกอล เรียกว่า “พายุไซโคลน”
          จากปัจจัยควบคุมภูมิอากาศดังกล่าว ทำให้ทวีปเอเชียปรากฏลักษณะภูมิอากาศที่แตกต่างกันมากและมีทุกรูปแบบ จากแผนที่จำแนกออกเป็นเขตต่าง ๆ ดังนี้
    1. ภูมิอากาศเขตร้อน-ชื้นตลอดปี พบอยู่บริเวณแถบศูนย์สูตรประมาณละติจูด 10 องศาเหนือถึง 10 องศาใต้ โดยเฉพาะในเขตกลุ่มเกาะและคาบสมุทรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเขตประเทศติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย ภาคใต้ ของไทย และตอนใต้ของพม่า นอกจากนี้ยังพบอยู่ในเขตเอเชียใต้เป็นบริเวณแคบ ๆ ของคาบสมุทรเดคคานด้านตะวันตกและเกาะศรีลังกาตอนใต้ มีอากาศร้อนและฝนตกชุกตลอดปี คือ อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส และปริมาณฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร ต่อปี ลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณเป็นป่าดิบชื้น
    2. ภูมิอากาศเขตร้อน-ชื้นสลับแล้ง พบอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีน และคาบสมุทรเดคคาน ประเทศอินเดีย มีอากาศร้อน มีช่วงฝนตกสลับกับช่วงแห้งแล้งในรอบปี อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส และมีปริมาณฝนค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในเขตหน้าภูเขาด้านรับลม และจะน้อยลงด้านหลังภูเขา ภูมิอากาศเขตนี้จะได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ลักษณะภูมิอากาศทำให้ปรากฏพืชพรรณเป็นป่าผลัดใบประเภทต่าง ๆ ในเขตฝนมากและมีบางบริเวณเป็นแบบทุ่งหญ้าสะวันนาในเขตฝนน้อย
    3. ภูมิอากาศกึ่งทะเลทราย-ร้อนแห้งแล้งและอบอุ่นแห้งแล้ง ปรากฏอยู่ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น เขตร้อน ได้แก่ บริเวณเขตอับฝนของคาบสมุทรเดคคานและคาบสมุทรอาหรับ เขตอบอุ่น ได้แก่ บริเวณที่ราบสูงอิหร่าน ตอนกลางของคาบสมุทรอนาโตเลียในประเทศตุรกี รัสเซียตอนใต้มองโกเลียบางส่วน และจีนด้านตะวันออก
      เฉียงเหนือ ลักษณะภูมิอากาศจะมีความแตกต่างกันมากในระหว่างฤดูกาล ทำให้ปรากฏพืชพรรณธรรมชาติบางส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย หรือทุ่งหญ้าสเตปป์ส่วนใหญ่ใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ถ้าพื้นที่ใดมีการชลประทานดีพอก็จะเป็นเขตเพาะปลูก
    4. ภูมิอากาศเขตทะเลทราย-แห้งแล้งจัดตลอดปี ปรากฏอยู่ในเขตทะเลทรายทุกแห่ง ทั้งทะเลทรายเขตร้อนและเขตอบอุ่น ลักษณะภูมิอากาศของเขตทะเลทรายจะมีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนมากรวมทั้งอุณหภูมิระหว่างฤดูหนาวกับฤดูร้อนก็แตกต่างกันมากด้วย ทะเลทรายของทวีปเอเชียส่วนใหญ่ อยู่บริเวณตอนในของแผ่นดิน หรืออยู่ด้านหลังเทือกเขาสูง ทำให้ความชื้นจากมหาสมุทรเข้าไปไม่ถึงจึงมีปริมาณฝนน้อยกว่า 250  มิลลิเมตรต่อปี ลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่ เป็นทุ่งหญ้าสั้น ๆ ที่ทนต่อสภาพอากาศแล้ง และดินแห้งจัดได้ ขณะที่ตามโอเอซิส ซึ่งเป็นแอ่งน้ำในเขตทะเลทรายจะปรากฏพืชพรรณประเภท กระบองเพชร อินทผลัม และไม้พุ่มประเภทหนาม ซึ่งเปลี่ยนจากใบมาเป็นหนามเพื่อลดการสูญเสียน้ำจากปากใบเป็นการปรับตัวตามธรรมชาติของพืช
    5. ภูมิอากาศเขตกึ่งร้อน-ฝนชุก ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูร้อนอบอุ่นถึงร้อน อยู่บริเวณกลุ่มเกาะประเทศญี่ปุ่นตอนใต้ คาบสมุทรเกาหลีในเขตประเทศเกาหลีใต้ ประเทศจีนด้านตะวันออกและด้านใต้ ประเทศเวียดนามตอนเหนือและปากีสถานด้านตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่อยู่ในเขตละติจูดประมาณ20-30 องศาเหนือ ทำให้จัดอยู่ในเขตกึ่งร้อน บริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทำให้มีฝนตกชุกในฤดูร้อนส่วนในฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด ลักษณะภูมิอากาศทำให้ปรากฏพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าเขตอบอุ่นประเภทป่าผลัดใบและบางส่วนเป็นทุ่งหญ้า
    6. ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนค่อนข้างชื้นในฤดูหนาว แล้งและอบอุ่นถึงร้อนในฤดูร้อน อยู่บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถบชายฝั่งของประเทศตุรกี เกาะไซปรัส ประเทศเลบานอน ซีเรีย อิสราแอล และอิรักตอนเหนือ ลักษณะภูมิอากาศในช่วงฤดูร้อนอากาศจะร้อนและแล้ง ดินแห้ง ขณะที่ในช่วงฤดูหนาวจะมีฝนตกชุก เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมตะวันตกที่พัดผ่าน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งนำเอาความชื้นมาตกเป็นฝน ลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณธรรมชาติเป็นพุ่มไม้เตี้ย แทรกสลับด้วยไม้ต้นเตี้ยต่าง ๆ ขณะที่พืชเศรษฐกิจแถบนี้ ได้แก่ องุ่น ส้ม และมะละกอ
    7. ภูมิอากาศแบบอบอุ่น-ฝนตกมากไม่หนาวจัดในฤดูหนาวและอบอุ่นในฤดูร้อน มีอยู่ 2 บริเวณ ได้แก่ เทือกเขาสูงตอนกลางของเกาะบอร์เนียวและเทือกเขาสูงตอนกลางของเกาะนิวกินี ด้านตะวันตกเขตประเทศอินโดนีเซีย และบริเวณแคบ ๆ ด้านตะวันตกของเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี ลักษณะอากาศจะมีฝนตกมาก เนื่องจากอยู่ในเขตฝนตกชุกโดยบริเวณกลุ่มเกาะของอินโดนีเซียอยู่ในเขตศูนย์สูตรขณะที่บริเวณอิสตันบูลอยู่ในเขตชายฝั่ง ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด ขณะที่ในฤดูร้อนอากาศจะอบอุ่นพืชพรรณธรรมชาติแถบกลุ่มเกาะอินโดนีเซียเป็นป่าไม้เขตร้อน ขณะที่แถบอิสตันบูล เป็นแบบไม้พุ่มเตี้ยและไม้ต้นเตี้ย
    8. ภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป-ฝนตกมากในฤดูหนาว หนาวเย็นในฤดูหนาว อยู่ในบริเวณเกาะฮอนชูตอนเหนือ ในประเทศญี่ปุ่นคาบสมุทรเกาหลีตอนบน ประเทศจีนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และแนวแคบ ๆ ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปาร์มีนอต ลักษณะภูมิอากาศมีฝนตกมากเนื่องจากเป็นเขตรับลมของภูเขาสูงในช่วงฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่นเนื่องจากอยู่ในเขตละติจูดกลาง ขณะที่ฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด ลักษณะภูมิอากาศทำให้ปรากฏพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าผลัดใบเขตอบอุ่น
    9. ภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป-ฝนตกมากเย็นในฤดูร้อน หนาวเย็นในฤดูหนาว ปรากฏบริเวณเกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เกาะแซคาลินตอนใต้ประเทศรัสเซีย บริเวณเขตติดต่อจีนด้านตะวันออกเฉียงเหนือกับรัสเซียด้านตะวันออกเฉียงใต้ และบริเวณรัสเซียด้านตะวันตกเฉียงใต้ ถัดจากเขตกึ่งแห้งแล้งขึ้นมาทางเหนือ ลักษณะภูมิอากาศมีฝนตกมาก เนื่องจากได้รับความชื้นจากระบบลมประจำของโลกที่พัดผ่านทะเลนำเอาฝนมาตก ในฤดูร้อนมีอากาศเย็นเนื่องจากอยู่ในละติจูดสูง ขณะที่ในฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบเขตอบอุ่น และทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
    10. ภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลก-ฝนตกมาก ฤดูร้อนสั้น และหนาวจัดในฤดูหนาว ปรากฏอยู่ในเขตประเทศรัสเซียแถบตอนใต้ และตอนเหนือของเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ) ลักษณะภูมิอากาศมีฝนมาก เนื่องจากได้รับความชื้นจากระบบลมประจำโลกที่พัดเอาความชื้นจากทะเลมาตกเป็นฝน ในฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัดและยาวนานฤดูร้อนมีช่วงเวลาสั้น ๆ บางครั้งมีน้ำค้างแข็งและหิมะตก ลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าสน ซึ่งภาษารัสเซียเรียกว่า ไทกา (taiga) บางครั้งจึงเรียก “ภูมิอากาศแบบไทกา” ตามชื่อของป่าสน
    11. ภูมิอากาศแบบขั้วโลก-อากาศหนาวจัด ปรากฏอยู่ในเขตประเทศรัสเซียตอนเหนือกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอาร์กติก ไปจนตลอดขั้วโลกเหนือและบริเวณหลังคาโลก ลักษณะภูมิอากาศมีอากาศหนาวจัดยาวนานมากมีหิมะปกคลุมตลอดปีทำให้ปรากฏพืชพรรณธรรมชาติเป็นมอสไลเคน ตะไคร่น้ำ ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าเขตหนาวเรียกว่า
      ทุนดรา (tundra) บางครั้งจึงเรียกภูมิอากาศเขตนี้ว่า “ภูมิอากาศแบบทุนดรา”


ลักษณะดิน

เอเชีย : ทวีปที่มีความหลากหลายของลักษณะทางดิน

            ดินเป็นเทหวัตถุที่ปกคลุมพื้นผิวโลกในส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ใช้ประโยชน์จากดินทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ใช้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัย ประกอบอาชีพ แหล่งอาหาร เป็นต้น ดินในแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะทางดินแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ วัตถุต้นกำเนิด ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ และเวลา ซึ่งเรียกว่า “ปัจจัยควบคุมดิน” มีการใช้ดินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็นที่อยู่อาศัยเขตเพาะปลูกพืช เขตเลี้ยงสัตว์ ที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น เรียกว่า ระบบวัฒนธรรม
ดินในทวีปเอเชียจำแนกเป็นอันดับดินได้ดังนี้
      1. อันดับดินเอนทิซอลส์ (Entisols) เป็นดินที่ยังไม่ปรากฏลักษณะทางดินมากนัก โดยทั่วไปเรียกว่า “ดินใหม่” คือ ดินที่มีพัฒนาการทางดินน้อยพบได้ในทุกสภาพภูมิอากาศ ในทวีปเอเชียปรากฏเป็นบริเวณกว้าง 3 บริเวณ คือ
          1.1)  บริเวณคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีปริมาณฝนน้อยและพืชพรรณธรรมชาติเป็นกึ่งทะเลทราย จึงทำให้มีพัฒนาการทางดินน้อย สภาพไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช
          1.2)  บริเวณด้านตะวันของทะเลสาบแคสเปียน เป็นเขตถึงทะเลทรายเช่นเดียวกับบริเวณคาบสมุทรอาหรับ
          1.3)  บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันออกของจีน เป็นเขตที่เกิดน้ำท่วมบ่อย ๆ ในช่วงฤดูน้ำหลากจึงทำให้พัฒนาการทางดินขาดความต่อเนื่องไม่สามารถพัฒนาเป็นดินอันดับอื่นได้ โดยธรรมชาติดินบริเวณน้ำท่วมถึงจะมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างมาก แต่ไม่ค่อยเหมาะกับการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจมากนักเนื่องจากมักจะถูกน้ำท่วมในช่วงน้ำหลากทำให้พืชที่ปลูกเสียหายมาก
          1.4)  บริเวณ 2 ฝั่งลำน้ำสายใหญ่ทั่ว ๆ ไป ที่วัตถุต้นกำเนิดมักถูกพัดพาเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ ๆ จึงไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นดินอันดับอื่น 
      2. อันดับดินเซปทิซอลส์ (Inceptisols) เป็นดินที่เริ่มมีลักษณะทางดิน คือชั้นดินบนมีสำคล้ำและเริ่มมีการพัฒนาชั้นดินล่างเป็นจุดประสีต่าง ๆ ปรากฏในทุกสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในราบใช้ในการปลูกข้าวจึงอาจเรียกว่า “ดินนา” ที่สำคัญได้แก่ ที่ราบตอนเหนือของอ่าวเปอร์เซีย ที่ราบชายฝั่งตอนในด้านตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย ที่ราบลุ่มน้ำ
ยมุนา คงคา และพรหมบุตร ที่ราบภาคกลางของประเทศไทยที่ราบลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ในเขตประเทศเวียดนามกัมพูชา ที่ราบด้านตะวันออกของเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซีย
      3. อันดับดินแอลฟิซอลส์ (Alfisols) เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงโดยธรรมชาติโดยเฉพาะธาตุอาหารที่เป็นด่างจะมีอยู่มากมีชั้นดินล่างเป็นชั้นดานต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะปรากฏมากในเขตอบอุ่น เนื่องจากมีฝนไม่ค่อยชุก การชะล้างจึงน้อยทำให้ธาตุอาหารที่เป็นต่างเหลือ อยู่ในชั้นดินค่อนข้างมาก ในทวีปเอเชียปรากฏอยู่กว้างขวางในเขตที่ราบไซบีเรียตอนใต้ จีนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ อินเดียแถบตะวันออกและเกาะศรีลังกา และคาบสมุทรอินโดจีนในเขตประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนามส่วนใหญ่ใช้ในการปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
      4. อันดิบดินอัลทิซอลส์ (Ultisols) เป็นดินที่มีลักษณะทางดินคล้ายกับดินอับดับแอลฟิซอลส์แต่ต่างกันที่ดินอัลทีซอลส์จะมีธาตุอาหารที่เป็นด่างอยู่ในชั้นดินน้อยกว่า จึงทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์น้อยกว่า ในทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะปรากฏในละติจูดต่ำตั้งแต่ศูนย์สูตรถึงละติจูดประมาณ 30 องศาเหนือและส่วนใหญ่มีภูมิประเทศเป็นที่ดอนระดับสูงเนื่องจากแถบศูนย์สูตรมีฝนตกชุก และภูมิประเทศที่ดอนสูง มีการชะล้างรุนแรง ดังนั้น ธาตุที่เป็นด่างจึงเหลืออยู่น้อยนั่นเอง ได้แก่ พื้นที่ประเทศจีนด้านตะวันออกเฉียงใต้ อินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือและพื้นที่ส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอินโดจีนและกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย

เกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย
แหล่งที่มา: http://www.goodfoodgoodlife.in.th/time-for-myself-detail.aspx?tid=58

      5. อันดับดินสปอโตซอลส์ (Spodosols) เป็นดินที่มีชั้นดินล่างเป็นซากอินทรีย์กับออกไซด์ของเหล็ก ชั้นดินบนส่วนใหญ่เป็นดินทรายที่มีสีจาง ปรากฏในหลายสภาพภูมิอากาศ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตที่ราบสูงและที่ราบชายฝั่ง ในทวีปเอเชียปรากฏเป็นบริเวณกว้างในที่ราบไซบีเรียด้านตะวันตกของรัสเซีย เป็นดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์มากนักจึงไม่ค่อยเอื้อต่อการเพาะปลุกพืชเท่าที่ควร
      6. อันดับดินมอลลิซอลส์ (Mollsols) เป็นดินที่มีชั้นดินบนสีดำ ร่วนซุย มีธาตุอาหารที่เป็นด่างสูงมากจึงเหมาะกับการเกษตรกรรม ปรากฏในหลายสภาพภูมิอากาศ หลายสภาพภูมิประเทศแต่ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับพื้นที่ทุ่งหญ้าเนื่องจากเมื่อตายลงจะให้อินทรียวัตถุแก่ดิน ในทวีปเอเชียปรากฏเป็นบริเวณกว้างในบริเวณทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นทางตอนใต้ของรัสเซีย
      7. อันดับดินเวอร์ทิซอลส์ (Vertisols) เป็นดินที่มีคุณสมบัติเหนียวจัดเมื่อยู่ในสภาพเปียกชื้น จนแข็งมากและแตกระแหงเมื่ออยู่ในสภาพดินแห้งจึงไม่ค่อยเหมาะกับการเพาะปลุกเท่าที่ควรแม้จะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างมากก็ตามในทวีปเอเชียปรากฏดินประเภทนี้อยู่ 2 บริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ พื้นที่ของประเทศอินเดียด้านตะวันตกเฉียงเหนือ และพื้นที่เกาะชวาทางด้านตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย ทั้ง 2 บริเวณเป็นเขตภูเขาไฟเดิมซึ่งมีหินภูเขาไฟที่เมื่อสลายตัวแล้วจะให้แร่ดินเหนียวที่เป็นวัตถุต้นกำเนิดของอันดับดินเวอร์ทิซอลส์นั่นเอง
      8. อันดับดินฮิสโทซอลส์ (Histosols) เป็นดินที่มีซากอินทรียวัตถุในชั้นดินบนเป็นบริเวณสูงมาก โดยมักจะอยู่ในสภาพแช่แข็งทำให้ซากอินทรียวัตถุไม่ผุสลาย อาจเรียกว่า “ดินอินทรีย์” ส่วนใหญ่ปรากฏดินประเภทนี้อยู่มากในพื้นที่ของป่าพรุ จึงเรียกว่า “ดินพรุ” เป็นดินที่มีสภาพเป็นกรดไม่เหมาะกับการเพาะปลูกมากนักจึงควรปล่อยให้เป็นพื้นที่ป่าตามธรรมชาติ ในทวีปเอเชียปรากฏดินประเภทนี้อยู่เป็นหย่อมแคบ ๆ เช่น ในภาคใต้ของประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น
      9. อันดับดินออกซิซอลส์ (Oxisols) เป็นดินที่มีการสะสมเหล็กและอะลูมิเนียมออกไซด์ปริมาณสูงในชั้นดินล่าง ดินประเภทนี้ส่วนใหญ่มีสีแดงการเกิดดินประเภทนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุต้นกำเนิดซึ่งเป็นหินและแร่ที่เมื่อสลายตัวแล้วให้ธาตุเหล็กและอะลูมิเนียม มีปริมาณน้ำฝนทีสูงมากพอจะชะล้างธาตุที่เป็นด่างออกไปจนเหลือแต่เหล็กและอะลูมิเนียมและขึ้นอยู่กับเวลาในการพัฒนาการทางดินจะต้องนานพอ โดยธรรมชาติเป็นดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์มากนัก ในทวีปเอเชียปรากฏดินประเภทนี้กระจายอยู่เป็นหย่อมแคบ ๆ ในเขตฝนชุก
     10. ดินในเขตเทือกเขา (Stops Complex) เป็นดินในเขตภูมิประเทศเทือกเขา ทิวเขา และภูเขาสูงทีมีความลาดชันสูง มีความซับซ้อนทางธรณีมาก ซึ่งโดยธรรมชาติเป็นดินในเขตที่มีอันดับดินหลาย ๆ อันดับปะปนกันอยู่ ซึ่งยังไม่ได้มีการจำแนก ในทวีปเอเชีย ปรากฏดินประเภทนี้ในพื้นที่เทือกเขาและทิวเขาสูงทั่ว ๆ ไป
      นอกจากนี้ดินใน 9 อันดับที่กล่าวถึงค่อนข้างละเอียด เนื่องจากเป็นอันดับดินที่มีในประเทศไทย ทวีปเอเชียยังมีอันดับดิน
แอริติซอลส์ (Aridisols) ที่เป็นดินในเขตแห้งแล้งมีลักษณะเป็นดินตื้น สีจาง พืชพรรณที่ปกคลุมมีน้อย ธาตุอาหารต่ำไม่เหมาะต่อการใช้ปลูกพืช ในทวีปเอเชียพบกระจายอยู่ในเขตทะเลทรายทุกแห่งและในเขตกึ่งทะเลทรายบางแห่ง อันดับดิน เจลลิซอลส์ (Gelisols) เป็นดินในเขตหนาวเย็นจัด ลักษณะดินเป็นอินทรียวัตถุปนกับน้ำแข็ง ไม่เหมาะสมในการใช้ทำการเกษตร ในทวีปเอเชียพบกระจายเป็นบริเวณกว้างทางตอนเหนือของรัสเซีย และอันดับดิน แอนดิซอลส์ (Andisols) ที่เป็นดินในเขตภูเขาไฟ มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ ในทวีปเอเชียพบดินอันดับนี้กระจายหนาแน่นตามแนวเขตภูเขาไฟที่เรียกว่า “Pacific Ring of Fire”  เช่น บริเวณกลุ่มเกาะญี่ปุ่น กลุ่มเกาะอินโดนีเซีย เป็นต้น

เทือกเขาอินโดนีเซีย
แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/sawarin4/192140

พืชพรรรณธรรมชาติ


เอเชีย 
: ทวีปที่มีพืชพรรณธรรมชาติหลากหลาย

            การปรากฏรูปแบบของพืชพรรณธรรมชาติในลักษณะของป่าไม้ประเภทต่าง ๆ นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ชนิดของหินและดิน และความสูงจากระดับทะเลปานกลาง เอเชียเป็นทวีปที่มีผืนแผ่นดินกว้างใหญ่ มีความหลากหลายและแตกต่างกันของลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะทางธรณี ลักษณะทางปฐพี และลักษณะทางภูมิประเทศเป็นไปตามบริเวณท้องถิ่นต่าง ๆ เรียกว่า “ปัจจัยความคุมพืชพรรณ” ทำให้เกิดพืชพรรณธรรมชาติที่หลากหลายพิจารณาได้ดังนี้
  1. พืชพรรณในเขตภูเขาสูง พบอยู่ในพื้นที่เทือกเขาและทิวเขาสูงตั้งแต่บริเวณเส้นทรอปิก-ออฟแคน-เซอร์ (ละติจูด 23 องศาเหนือ) ขึ้นไปจนถึงตอนเหนือของเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล (66 องศาเหนือ) ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศทำให้พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่ เป็นต้นไม้ทีมีพืชจำพวกมอสและไลเคนปกคลุมอยู่ตามลำต้น
  2. พืชพรรณในเขตร้อน และมรสุม พบอยู่หนาแน่นในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่บริเวณเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาจนถึงประมาณเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์และบริเวณซีกโลกใต้ ที่เป็นกลุ่มเกาะประเทศอินโดนีเซียและประเทศติมอร์เลสเต สภาพภูมิอากาศทำให้ปรากฏพืชพรรณ 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน ได้แก่

   - ป่าฝนเขตร้อน ได้แก่ ป่าดิบชื้น ซึ่งมีลำต้นสูงขึ้นอยู่หนาแน่น
   - ป่ามรสุม ได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบเขตร้อนชื้น
   - ทุ่งหญ้าสะวันนา ได้แก่ ทุ่งหญ้าเขตร้อน และไม้ขนาดเล็ก

พืชพรรณธรรมชาติในเขตร้อน-ชื้นสลับแล้ง(ป่าเต๊งรัง)
แหล่งที่มา: http://www.buriramphoto.net/index.php?topic=333.0
 
  3. พืชพรรณประเภทป่าผสมในเขตละติจูดกลาง
 พบอยู่ในเขตละติจูดกลาง 3 บริเวณใหญ่ ๆ คือ บริเวณรัสเซียด้าน
ตะวันตกบริเวณจีนด้านตะวันออกเฉียงใต้ญี่ปุ่นและบริเวณด้านตะวันออกของทะเลเมติมอร์เรเนียนสภาพภูมิอากาศทำให้พบพืชพรรณเป็นป่าผสมที่มีไม้สนขึ้นแทรกสลับกับไม้ใบกว้าง ทีมีเนื้อไม้แข็ง เช่น เมเปิล โอ๊ก วอลนัท เป็นต้น

  4. พืชพรรณประเภทไม้พุ่มเขตเมดิเตอร์เรเนียน พบอยู่บริเวณรอบ ๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในเขตประเทศตุรกี ซีเรีย อิสราเอล และจอร์แดนลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณเป็นไม้พุ่มเตี้ยแทรกสลับกับไม้ยืนต้น  5. พืชพรรณในเขตทะเลทราย และกึ่งทะเลทราย อยู่ในพื้นที่เขตทะเลทรายและเขตกึ่งทะเลทราย สภาพภูมิอากาศทำให้พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นไม้ทนแล้ง ทุ่งหญ้า กระบองเพชร หรือถ้าบริเวณที่มีแอ่งน้ำในทะเลทราย ที่เรียกว่า “โอเอซิส” (Oasis) อาจจะมีอินทผลัม หรือไม้จำนพวกหนามต่าง ๆ
  6. พืชพรรณประเภททุ่งหญ้าในเขตอบอุ่น พบอยู่ในเขตละติจุดกลางในเขตรัสเซียตอนใต้ จีนตอนบน และภูมิอากาศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบบางส่วนลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าซึ่งส่วนใหญ่ใช้เลี้ยงสัตว์ บางส่วนเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก
  7. พืชพรรณในเขตป่าไทกา พบอยู่ในเขตประเทศรัสเซียเกือบทั้งประเทศ ลักษณะอากาศที่หนาวเย็นทำให้พืชพรรณเป็น
ป่าสนเขตหนาวซึ่งถือเป็นเขตป่าไม้เนื้ออ่อนที่ปรากฏอยู่มากและสำคัญที่สุดของทวีปเอเชีย
  8. พืชพรรณในเขตทุนดรา พบอยู่ในเขตประเทศรัสเซียทางตอนเหนือ ลักษณะภูมิอากาศที่เย็นจัดทำให้พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นพืชจำพวกมอสไลเคน หรือหญ้าที่ทนต่ออากาศเย็นจัดได้

เอเชีย : ทวีปที่มีแหล่งน้ำซึ่งมีต้นกำเนิดจากที่สูงตรงกลางไหลออกในทุกทิศทาง

            ความกว้างใหญ่ของทวีปเอเชียทำให้ปรากฏแหล่งน้ำตามธรรมชาติมากมายทั้งในรูปแบบของแม่น้ำซึ่งมีขนาดและความยาวแตกต่างกันในรูปแบบของทะเลสาบน้ำจืด ซึ่งก็คือหนองน้ำจืดตามธรรมชาติที่อยู่ในแผ่นดินไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล โดยมีขนาดต่าง ๆ กันกระจายอยู่โดยทั่วไป ทำให้โดยภาพรวมของทวีปเอเชียมีทรัพยากรน้ำซึ่งในการอุปโภคบริโภคของประชากรเอเชียอย่างพอเพียง ยกเว้นบางบริเวณที่มีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
            แหล่งน้ำจืดที่สำคัญของทวีปเอเชียที่ปรากฏในรูปแบบของแม่น้ำสายยาวที่มีขนาดใหญ่ ปริมาณน้ำมาก และมีอิทธิพลต่อประชากรเอเชียในพื้นที่ต่าง ๆ นั้นถ้าพิจารณาโดยภาพรวมมักจะมีต้นน้ำอยู่ในเขตที่สูงตอนกลางแล้วไหลแยกย้ายกันออกไปในทุกทิศทาง จากแผนที่พิจารณาได้ดังนี้
  1. แม่น้ำที่ไหลขึ้นไปทางเหนือ ได้แก่ แม่น้ำเยนิเซ แม่น้ำออบ แม่น้ำลีนาม และสาขาของแม่น้ำทั้ง  3 สาย ต้นน้ำจะอยู่ในเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูงตรงกลางของทวีป แม่น้ำสายต่าง ๆ นอกจากจะไหลหล่อเลี้ยงให้พื้นที่ชุ่มชื้นแล้ว ยังช่วยนำเอาตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินแร่ธาตุที่ผุสลายจากหินและแร่ในพื้นที่เทือกเขาสูง และที่ราบสูงไปทับถมในที่ต่ำกว่าเป็นการช่วยปรับระดับพื้นที่ และทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์
  2. แม่น้ำที่ไหลไปในทางใต้ ได้แก่ แม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร และสาขาของมน้ำทั้ง 3 สาย แม่น้ำสายใหญ่เหล่านี้มีต้นน้ำอยู่บริเวณหลังคาโลก ไหลหล่อเลี้ยงประชากรในเอเชียใต้ทำให้เป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญ จึงมีประชากรอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่น
  3. แม่น้ำที่ไหลออกไปทางตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำฮวงเหอ แม่น้ำแยงซี แม่น้ำซีเกียง รวมทั้งแม่นำสายสั้นและสาขาอีกมากมาย ต้นน้ำอยู่ในเขตหลังคาโลก มีทิศทางการไหลไปทางตะวันออกทำให้บริเวณที่ราบจีนด้านตะวันออกมีความ
    อุดมสมบูรณ์เป็นเขตเกษตรกรรม แหล่งที่ตั้งถิ่นฐานของประชากรที่สำคัญ
  4. แม่น้ำที่ไหลออกไปทางตะวันตก ได้แก่ แม่น้ำอามูร์ แม่น้ำตายา รวมทั้งแม่น้ำไทกริส แม่น้ำยูเฟรทิสและสาขาย่อย ต้นน้ำอยู่ในเขตอาร์เมเนียนนอต แม่น้ำเหล่านี้เป็นตัวปรับระดับของพื้นที่ ช่วยหล่อเลี้ยงพื้นที่ให้ชุ่มชื้นทำให้สามารถทำการเกษตรได้
  5. แม่น้ำที่ไหลไปในทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำสาละวัน และแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง และแม่น้ำแดง แม่น้ำเหล่านี้มีต้นน้ำอยู่ในเขตยูนนานนอต แม่น้ำปริมาณน้ำมาก หล่อเลี้ยงที่ราบให้อุดมสมบูรณ์ ทำให้เขตนี้เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ

                                                แหล่งที่มา: http://www.theman.ob.tc/m.html
       แหล่งน้ำของทวีปเอเชียนอกจากเป็นแหล่งน้ำผิวดินที่ปรากฏในรูปของแม่น้ำ ทะเลสาบหรืออ่างเก็บน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นในลักษณะเขื่อนขนาดต่าง ๆ แล้งยังมีแหล่งน้ำใต้พื้นดิน ซึ่งมีทั้งน้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาล ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไป มีปริมาณแตกต่างกันไปในพื้นที่ต่าง ๆ
ตาราง แสดงแม่น้ำสำคัญของทวีปเอเชีย
ลำดับที่
ชื่อแม่น้ำ
ความยาว
(กิโลเมตร)
ต้นกำเนิด
ประเทศที่ไหลผ่าน
ไหลออกสู่
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
แม่น้ำสำคัญ
แยงซี
เยนิเซ
แองการา
ออน-เออร์ไทซ์
ฮวงเหอ
อามูร์
โขง
ลีนา
ออร์ติส
ออบ
สินธุ
พรหมบุตร
ยูเฟรทิส
โคลีมา
อารัล
คงคา
ซีเกียง
อิระวดี
ไทกริส
6,380
5,550
5,410
4,840
4,510
4,500
4,400
4,250
3,680
3,100
2,900
2,700
2,600
2,535
2,510
2,100
2,010
1,900
ที่ราบสูงทิเบต
เทือกเขาอัลไต
และเทือกเขาชายัน
เทือกเขาอัลไต
ที่ราบสูงทิเบต
เทือกเยาโบลโนวี
ที่ราบสูงทิเบต
เทือกเขาชายัน
เทือกเขาอัลไต
เทือกเขาอัลไต
เทือกเขาหิมาลัย
ที่ราบสูงทิเบต
อาร์เมเนียนนอต
เทือกเขาเอเวอร์
โคยันสก์
ปาร์มีนอต
เทือกเขาหิมาลัย
ยูนานนอต
ที่ราบสูงทิเบต
อาร์เมเนียนนอต
จีน
รัสเซีย
คาซัคสถาน รัสเซีย
จีน
มองโกเลีย รัสเซีย จีน
จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม
รัสเซีย
จีน คาซัคสถาน รัสเซีย
รัสเซีย
อินเดีย ปากีสถาน
จีน อินเดีย บังกลาเทศ
ตุรกี ซีเรีย อิรัก รัสเซีย
รัสเซีย คาซัคสถาน
จีน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ
จีน
จีน พม่า
ตุรกี อิรัก คูเวต
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรอาร์กติก
แม่น้ำออบ
มหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอาร์กติก
ทะเลแคสเปียน
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอินเดีย

ประยุกต์จาก : CONCISE ATLAS OF THE WORLD, 1996. CONLINS
ตาราง แสดงทะเลสาบสำคัญของทวีปเอเชีย
ลำดับที่
ชื่อทะเลสาบ
ขนาดพื้นที่(ตารางกิโลเมตร)
ความลึกสูงสุด(เมตร)
ที่ตั้ง
1
2
3
4
5
ทะเลแคสเปียน
ทะเลอารัล
ทะเลสาบไบคาล
โตนเลสาบ
ทะเลสาบบอลคาช
37,1000
64,252
31,500
20,000
18,500
1,199
428
636
อาเซอร์ไบจาน รัสเซีย คาซัคสถาน เตร์กเมนิสถาน อิหร่าน
คาซัคสถาน อุชเบกิสถาน
รัสเซีย
กัมพูชา
คาซัคสถาน

ประยุกต์จาก : CONCISE ATLAS OF THE WORLD, 1996. CONLINS

ประชากร

เอเชีย : ทวีปที่มีความหลายหลายและอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ

           ความกว้างใหญ่ของทวีปเอเชียทำให้ปรากฏลักษณะทางธรณีที่หลากหลายซึ่งมีอายุทางธรณีที่แตกต่างกันจึงทำให้มีชนิดหินและแร่มากมาย ซึ่งในบรรดาแร่ธาตุที่มีอยู่มากในทวีปเอเชียนั้น ที่มีอยู่เป็นปริมาณมากและเป็นแร่เศรษฐกิจ จากแผนที่จำแนกเป็นกลุ่มแร่ได้ดังนี้
       1. กลุ่มแร่เชื้อเพลิงและพลังงาน ประกอบด้วยถ่านหิน น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ        - ถ่านหิน เป็นหินตะกอนประเภทหนึ่งทีมีคุณสมบัติติดไฟได้ มีสีน้ำตาลจนถึงสีดำ จำแนกออกได้เป็น 5 ประเภทตามคุณภาพในการให้พลังงานความร้อน โดยเรียงลำดับจากคุณภาพต่ำไปสูง คือ พีต ลิกไนต์ ซับบิทูมินัส บีทูมินัส และแอนทราไซต์ ซึ่งถ่านหินถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ในการผลิตกระเสไฟฟ้า อุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น ในทวีปเอเชียปรากฏอยู่หลายบริเวณที่สำคัญได้แก่ ประเทศจีนด้านตะวันออก ประเทศรัสเซียส่วนเอเชียตอนใต้และ ตอนเหนือ ประเทศอินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเกาะประเทศญี่ปุ่น และประเทศเวียดนามตอนเหนือ        - น้ำมันดิบ เป็นแร่เชื้อเพลิง ประเภทหนึ่งของปิโตรเลียมเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว โดยที่น้ำมันดิบมีสถานะเป็นของเหลว ซึ่งน้ำมันดิบเมื่อนำมากลั่นแล้วก็จะได้สัดส่วนของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ต่างกันและใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติและคุณภาพ ในทวีปเอเชียปรากฏน้ำมันดิบอยู่ในปริมาณที่สูงมากบริเวณหนึ่งของโลก ซึ่งได้แก่ บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้บริเวณประเทศรัสเซีย ประเทศจีน และบริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนที่เป็นคาบสมุทรอินโดจีน ปรากฏอยู่บ้างในพม่า ไทย และในส่วนที่เป็นเกาะ ปรากฏในประเทศอินโดนีเซีย        - ก๊าซธรรมชาติ เป็นปิโตรเลียมประเภทหนึ่งที่อยู่ในสถานะก๊าซ ซึ่งก๊าซธรรมชาติถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นแหล่งเชื้อเพลิงและพลังงานที่สำคัญ มีแนวโน้มที่จะถูกใช้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นแร่เชื้อเพลิงที่ล้างมลภาวะให้กับ สิ่งแวดล้อมน้อยในทวีปเอเชียปรากฏแหล่งก๊าซธรรมชาติเกิดร่วมกับแหล่งน้ำมันดิบ      2. กลุ่มแร่เหล็กและโลหะผสมเหล็ก ประกอบด้วยแร่เหล็ก แมงกานิส และนิกเกิล        - แร่เหล็ก เป็นแร่ธาตุที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเรามากมายทั้งในการเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจน สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในทวีปเอเชียปรากฏเหล็กกระจายอยู่ใน 3 บริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ บริเวณประเทศจีนด้านตะวันออกและ ตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศรัสเซียตอนใต้และประเทศอินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ        - แร่แมงกานิส เป็นแร่ธาตุที่ใช้ประโยชน์หลักในการนำมาเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรม ผลิตเหล็กกล้าและเหล็กหล่อเนื่องจากเมื่อผสมกับแร่เหล็กแล้วจะทำให้เหล็กเหนียวและแข็งมากขึ้น ในทวีปเอเชียปรากฏแร่แมงกานิสอยู่ 3 บริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ บริเวณประเทศจีนตอนใต้ เขตติดต่อกับประเทศเวียดนาม บริเวณคาบสมุทรเดคคานในประเทศอินเดียและประเทศตุรกีที่ด้านตะวันออก        - แร่นิกเกิล เป็นแร่ธาตุที่ใช้ประโยชน์ในการเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและเหล็กหล่อเช่นเดียวกับแร่แมงกานิส ในทวีปเอเชียปรากฏแร่นิกเกิลกระจายอยู่เป็นบริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ ประเทศรัสเซียตอนเหนือ ประเทศ คาซัคสถานตะวันตก ประเทศจีนตอนเหนือ และเกาะเซลีเบสของประเทศอินโดนีเซีย      3. กลุ่มแร่โลหะพื้นฐาน ประกอบด้วย แร่ทองแดง แร่ตะกั่ว แร่สังกะสี แร่ดีบุก และแร่ทังสเตน        - แร่ทองแดง เป็นแร่โลหะที่มนุษย์ใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันโลหะทองแดงได้จากการถลุงแร่ทองแดง ถือเป็นโลหะสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในทวีปเอเชียปรากฏแร่ทองแดงกระจายอยู่ในหลายบริเวณ ได้แก่ ประเทศรัสเซียตอนเหนือ ประเทศคาซัคสถานตอนกลาง ประเทศจีนชายฝั่งตะวันออก และเกาะลูซอนตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์        - แร่ดีบุก เป็นโลหะที่ใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อการกัดกร่อนของกรด รวมทั้งสารละลายต่าง ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายหรือเป็นพิษต่อมนุษย์ เมื่อนำมาเคลือบแผ่นเหล็กเรียกว่า เหล็กวิลาส เช่น ใช้เป็นกระป๋องบรรจุอาหาร หม้อน้ำรถยนต์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทวีปเอเชียปรากฏแหล่งแร่ดีบุกมากที่สุดของโลกในบริเวณภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย และอีกแหล่งหนึ่ง คือ บริเวณเขตติดต่อจีนด้าน ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับรัสเซียด้านตะวันออกเฉียงใต้        - แร่ทังสเตน เป็นโลหะที่มีความถ่วงจำเพาะและมีจุดหลอมเหลวสูง จึงใช้ในการทำหลอดภาพโทรทัศน์ ได้และ ขั้วหลอดไฟฟ้า และใช้ในอุตสาหกรรมหนักอย่างกว้างขวาง ในทวีปเอเชียปรากฏแร่ทังสเตนในหลายบริเวณ ได้แก่ เกาหลีใต้ จีนด้านตะวันออก และคาซัคสถานตอนกลาง      4. กลุ่มแร่โลหะมีค่าและกลุ่มแร่รัตนชาติ ประกอบด้วยแร่ทองคำ เงิน เพชร ทับทิม และแซปไฟร์        - แร่ทองคำ เป็นแร่ธาตุที่มนุษย์ใช้ประโยชน์มายาวนาน ด้วยคุณสมบัติอันโดเด่นที่มีสีสันเหลืองอร่ามสวยงาม ไม่หมองคล้ำไปตามกลาเวลา เนื้ออ่อน สามารถตีห้างและดึงให้ยืดได้ทนต่อการกัดกร่อน สะท้อนแสงได้ดี หลอมเข้ากับโลหะอื่นได้ง่าย นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี จึงใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น เป็นหลักประกันค่าเงิน ผลิตเป็น ไมโคชิปในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในทวีปเอเชียปรากฏแร่ทองคำที่สำคัญในประเทศรัสเซียประเทศอุซเบกิสถาน และประเทศจีนด้านชายฝั่งทะเลเหลือง        - แร่เงิน เป็นแร่ธาตุที่จัดอยู่ในกลุ่มแร่โลหะมีค่าเช่นเดียวกับแร่ทองคำในทวีปเอเชียปรากฏแร่เงินในประเทศ อุซเบกิสถาน และประเทศญี่ปุ่น        - แร่รัตนชาติ ได้แก่ เพชร ทับทิม และแซปไฟร์ เป็นกลุ่มแร่ธาตุที่ใช้ประโยชน์ในด้านเครื่องประดับและงานศิลปะเป็นหลัก ในทวีปเอเชียปรากฏแร่รัตนชาติกระจายอยู่ทั่วไป ที่สำคัญได้แก่ เพชรในรัสเซีย ทับทิมในพม่า ทับทิมไทยซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ทับทิมสยาม และในศรีลังกาแซปไฟร์ในพม่าและศรีลังกา      5. กลุ่มแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ แร่โพแทช และหินเกลือ ซึ่งเป็นแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี และปุ๋ย ในทวีปเอเชียปรากฏแหล่งแร่โพแทช หินเกลือที่สำคัญ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยซึ่งถือเป็นแหล่งสำคัญแหล่งหนึ่งของโลก และรัสเซียด้านตะวันตก

เอเชีย : ทวีปที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดและมีลักษณะประชากรที่แตกต่างกันตามสภาพทางธรรมชาติของแต่ละบริเวณ
   
           ประชากร คือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ประชากรเอเชีย ก็คือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทวีปเอเชียในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั่นเอง ประชากรเป็นทรัพยากรหลักของแผ่นดินที่มีความสำคัญในการส่งเสริม หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น ถ้าประเทศใดที่ประชากรมีการศึกษาสูง มีทัศนคติที่ดี มีระเบียบวินัย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีโครงสร้างของประชากรที่เหมาะสม นั่นคือมีวัยเด็กกับวัยชราซึ่งเป็นวัยพึ่งพิงน้อย และมีวัยแรงงานมาก มีการกระจาย มีอัตราการเพิ่มของประชากรที่เหมาะสมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะเอื้อหรือส่งเสริมต่อการพัฒนาประเทศ ในขณะที่ถ้าประเทศใดมีลักษณะประชากรที่ตรงกันข้ามก็ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นต้น 

                                              แหล่งที่มา: http://www.suansanook.com/howto/?p=24
1.จำนวนประชากร
          ทวีปเอเชียมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกถึงประมาณ 3,766 ล้านคน (พ.ศ. 2545) คิดเป็นร้อยละ 60.5 ของประชากรโลก (ประชากรโลกมีจำนวน 6,215 ล้านคน) โดยจีนเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชียและในโลกถึงประมาณ 1,280.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 34 ของประชากรเอเชียหรือร้อยละ 20.6 ของประชากรโลก หรือมีจำนวนประชากรมากกว่าประเทศไทย 20.6 เท่า ส่วนประเทศที่มีจำนวนประชากรรองลองมา คือ ประเทศอินเดีย มีจำนวนประชากรประมาณ 1,049.5 ล้านคน
ตารางแสดงจำนวนประชากรในทวีปเอเชีย 10 อันดับแรก (พ.ศ. 2545) 
ลำดับที่
ประเทศ
จำนวนประชากร
(ล้านคน)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
จีน
อินเดีย
อินโดนีเซีย
ปากีสถาน
บังกลากเทศ
ญี่ปุ่น
ฟิลิปปินส์
เวียดนาม
ตุรกี
อิหร่าน
1,284,3037,05
1,045,845,226
22,843,7870
14,7663,428
133,376,684
126,974,628
82,841,518
79,939,014
67,308,928
66,622,704


2. อัตราการเพิ่มของประชากร
     อัตราการเพิ่มของประชากรขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย ได้แก่ อัตราการเกิด อัตราการตาย และการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ ในทวีปเอเชียอัตราการเพิ่มของประชากรใน พ.ศ. 2545 พิจารณาโดยภาพรวมถือว่าอยู่ในระดับกลาง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับทวีปต่าง ๆ (พิจารณาจากแผ่นที่ประกอบ) โดยเอเชียมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรส่วนใหญ่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.9-1.7
(ยกเว้นรัสเซียที่เป็นร้อยละ 0.0) ซึ่งมากกว่าทวีปออสเตรเลียที่อยู่ระหว่างร้อยละ0.1-0.8 มากกว่าทวีปแอฟริกาเหนือ ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.1-0.8 และทวีปยุโรปที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0-0.8 แต่จะต่ำกว่าทวีปแอฟริกา ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 1.8-3.4 และทวีปอเมริกาใต้ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.9-2.5
     การที่ทวีปเอเชียโดยภาพรวมมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรอยู่ในระดับกลาง ๆ ทำให้มีผลดีค่อนข้างมากต่อทวีปเอเชียในด้านต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันประชากรในทวีปเอเชียก็มีจำนวนมากอยู่แล้วซึ่งถ้ามีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอีก ย่อมส่งผลต่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียตามมาอีกมากมาย

3. การกระจายประชากร การกระจายของประชากรขึ้นอยู่กับสภาพทางธรรมชาติในเรื่องของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล่งน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นสำคัญ ถ้าเป็นที่ราบอากาศไม่หนาวเย็นมากนัก มีปริมาณฝนที่เหมาะสม ไม่มากไปหรือน้อยไป มีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และมีดินที่อุดมสมบูรณ์สามารถเพาะปลูกพืชได้ดี ก็มักจะมีประชากรอาศัยอยู่มาก ขณะที่พื้นที่ใดที่มีสภาพทางธรรมชาติไม่เอื้อต่อการทำถิ่นฐาน ก็มักจะมีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง การกระจายของประชากรในทวีปเอเชียพิจารณาจากแผนที่ได้ดังนี้

* บริเวณที่มีประชากรหนาแน่น


   1. 
ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ บริเวณที่ราบด้านตะวันออกของประเทศจีนที่มีสภาพทางธรรมชาติในเรื่องของภูมิประเทศที่ราบ มีอากาศอบอุ่น ฝนชุก มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำสายใหญ่ คือ  แม่น้ำฮวงเหอและแยงซี และมีดินที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้นเอื้อต่อการ ทำการเกษตร และเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนทำให้มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ 50-100 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีบางบริเวณที่มากกว่า 100 คนต่อตารางกิโลเมตรขึ้นไป เช่น มาเก๊า ที่มีความหนาแน่นประชากรสูงที่สุดในเอเชีย คือ 28,865 คนต่อตารางกิโลเมตรเนื่องจากเป็นเมืองท่าชายฝั่งสำหรับค้าขายนอกจากนี้ยังมีเกาหลีใต้และญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีการอุตสาหกรรมค่อนข้างเด่นโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นมีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 336 คนต่อตารางกิโลเมตร
  2. ภูมิภาคเอเชียใต้ ได้แก่ บริเวณที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา ในประเทศบังกลาเทศติดต่อกับอินเดีย ที่ราบลุ่มน้ำสินธุในประเทศปากีสถาน ที่ราบลุ่มน้ำพรหมบุตรในประเทศบังกลาเทศ และพื้นที่รับลมมรสุมที่มีปริมาณฝนมากในประเทศอินเดีย เงื่อนไขดังกล่าว ต่างเอื้อต่อกิจกรรมทางการเกษตร ทำให้มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ค่อนข้างหนาแน่นส่วนใหญ่มีความหนาแน่นตั้งแต่ 50-100 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีบางแห่งที่มีความหนาแน่นมากกว่า 100 คนตารางกิโลเมตรโดยเฉพาะประเทศบังกลาเทศ มีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 926 คนต่อตารางกิโลเมตร
  3. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีปริมาณฝนโดยรวมค่อนข้างสูง มีอากาศโดยรวมอยู่ในเขตร้อน ทำให้ภูมิอากาศไม่ค่อยมีผลต่อความหนาแน่นประชากรเท่ากับเงื่อนไขทางภูมิประเทศ แหล่งน้ำและดิน โดยประชากรจะหนาแน่นตามลุ่มน้ำสายใหญ่ ได้แก่ ลุ่มน้ำอิระวดีในประเทศพม่า ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย ลุ่มน้ำแดงในประเทศเวียดนาม รวมทั้งเกาะชวาของประเทศอินโดนีเซีย และเกาะลูซอนของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีดินภูเขาไฟที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ซึ่งบริเวณต่าง ๆ ที่กล่าวมาล้วนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญทั้งสิ้น นอกจากนี้ บริเวณเมืองท่าและเมืองอุตสาหกรรมยังมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ เมืองอุตสาหกรรมของประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย
     ขณะที่บริเวณอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย ประชากรจะหนาแน่นค่อนข้างมากเป็นหย่อม ๆ ตามเมืองหลวงเมืองท่า เมืองอุตสาหกรรม และที่ราบลุ่มน้ำที่ทำการเกษตรได้ เช่น ประเทศอิสราเอล ประเทศคูเวต เมืองแบกแดดประเทศอิรัก และเมืองเตหะรานประเทศอิหร่าน เป็นต้น 

ภาษา

*บริเวณที่มีประชากรเบาบาง 

                บริเวณที่มีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง คือ พื้นที่ที่มีเงื่อนไขทางธรรมชาติด้านต่าง ๆ ไม่เอื้อหรือไม่ส่งเสริมต่อการตั้งถิ่นฐานและการประกอบอาชีพ ได้แก่ บริเวณตอนในของทวีปเอเชียที่มีปริมาณฝนน้อย จนถึงเป็นเขตแห้งแล้งแบบทะเลทราย บริเวณที่สูงมีเทือกเขาสลับซับซ้อนยากต่อการเดินทาง และบริเวณละติจูดสูงที่มีอากาศหนาวเย็นจัด ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวทำให้มีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก เช่น แผ่นดินทำให้ไม่มีทางออกสู่ทะเล มีฝนน้อย จนถึงเป็นทะเลทราย มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนทำให้การคมนาคมไม่สะดวก เงื่อนไขทางธรรมชาติดังกล่าวทำให้ประเทศมองโกเลียมีความหนาแน่นประชากรเพียง 2 คนต่อตารางกิโลเมตร ซึ่งหนาแน่นน้อยที่สุดในทวีปเอเชีย

                                      ตาราง แสดงความหนาแน่นของประชากรในทวีปเอเชีย 10 อันดับแรก 

ลำดับที่
ประเทศ
พื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
จำนวนประชากร
(คน)
ความหนาแน่นของประชากร
(คนต่อตารางกิโลเมตร)
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
มาเก๊า (จีน)
ฮ่องกง(จีน)
สิงคโปร์
มัลดีฟส์
บาห์เรน
บังกลาเทศ
ไต้หวัน
เกาหลีใต้
เลบานอน
ญี่ปุ่น
16
1,069
682
298
622
143,998
36,000
99,173
10,400
377,815
461,833
7,303,334
413,1200
32,0165
656,397
133,376,684
22,548,009
48,324,000
3,677,780
126,974,658
28,865
6,832
6,055
1,074
1,055
926
626
487
354
336

ที่มา : http //www.mfa.go.th
  4. โครงสร้างของอายุประชากร คือสัดส่วนของประชากรในช่วงอายุต่าง ๆ ที่รวมกันเป็นจำนวนประชากรของประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่ง ซึ่งการศึกษาโครงสร้างอายุประชากรจะช่วยให้สามารถวางแผนในเรื่องของประชากรให้เหมาะสมกับประเทศได้ เพราะโครงสร้างอายุประชากรที่เหมาะสม คือมีประชากรวัยเด็ก และวัยชราซึ่งเป็นวัยพึ่งพิงน้อย แต่มีประชากรวัยทำงานมาก ซึ่งจะส่งผลดีต่อประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม เช่น ช่วยเพิ่มผลผลิตต่าง ๆ หรือเป็นแรงงาน เป็นต้น
      โครงสร้างอายุประชากรส่วนใหญ่จะแบ่งเป็นช่วงอายุประชากรช่วงละ 5 ปี เช่น เริ่มต้น 0 : 4 ปี สิ้นสุด 80 ปีขึ้นไป
โดยโครงสร้างอายุประชากรพิจารณาได้ดังนี้
       ประชากรวัยเด็ก มีช่วงอายุ 0-14 ปี
       ประชากรวัยทำงาน มีช่วงอายุ 15-59 ปี
       ประชากรวัยสูงอายุ มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
       การพิจารณาโครงสร้างประชากรประกอบด้วยอายุและเพศของประชากร ซึ่งจะเห็นภาพชัดเจนหรือมองภาพรวมได้ เราอาจจะพิจารณาจาก “พีระมิดประชากร (Population Pyramid)
       จากโครงสร้างประชากรปี พ.ศ. 2543 เปรียบเทียบระหว่างประชากรโลก สหรัฐอเมริกา จีน อินเดีย และไทยจะเห็นได้ว่า
    • ประชากรวัยเด็ก (0 – 14 ปี ) ของสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศในกลุ่มพัฒนา มีเพียงร้อยละ 20.1 ขณะ ที่อินเดียมีถึงร้อยละ 39 และของโลก สูงถึงร้อยละ 33.9 ส่วนจีนมีเพียงร้อยละ 24 ไทยร้อยละ 24.1 ซึ่งใกล้เคียงกับประเทศกลุ่มพัฒนาอย่างสหรัฐอเมริกา แสดงให้เห็นว่าสหรัฐอเมริกา จีนและไทยมีสัดส่วนของประชากรวัยเด็กเป็นวัยพึ่งพิงน้อย ทำให้ภาระของประเทศในการดูแลด้านต่าง ๆ เกี่ยวกับเด็กจะน้อยกว่าของอินเดียและของโลก
    • ประชากรวัยทำงาน (15-59ปี) ของสหรัฐอเมริกา จีน และไทยมีถึงร้อยละ 63.5 65.2 และ66.5 ตามลำดับ ส่วนอินเดียและของโลกมีเพียงร้อยละ 51.9 และ 63.3 ตามลำดับ แสดงว่าประชากรวัยแรงงานของสหรัฐอเมริกา จีน และไทย จะมีสัดส่วนที่สูงกว่าของอินเดีย และของโลก ทำให้ประชากรช่วยสร้างผลิตผลต่าง ๆ ได้มาก
    • ประชากรวัยสูงอายุ (60 ปีขึ้นไป) ของโลกมีร้อยละ 16.8 แสดงให้เห็นถึงประชากรวัยชรามีสัดส่วนที่สูง
      สหรัฐอเมริกาก็เช่นกันสูงถึงร้อยละ 16.3 อาจจะเนื่องมาจากความก้าวหน้าทางการแพทย์ที่ทำให้คนอายุยืนยาวขึ้น จะทำให้รัฐบาลต้องรับภาระในการดูแลประชากรกลุ่มนี้ในขณะที่จีน อินเดีย และไทย มีสัดส่วนต่ำกว่า คือ ร้อยละ 10.8 9.2 และ 9.4 ตามลำดับ
           จากพีระมิดโครงสร้างอายุประชากรเปรียบเทียบระหว่าง 3 ประเทศในเอเชียที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดกับมากเป็นอันดับสอง คือ จีนกับอินเดีย และไทยกับประเทศในกลุ่มพัฒนาอย่าง สหรัฐอเมริกาและของโลก พบว่าจีนและไทยมีลักษณะพีระมิดใกล้เคียงกับสหรัฐอเมริกา แสดงว่าจีน และไทยมีโครงสร้างอายุประชากรที่ค่อนข้างเหมาะสามสะท้อนถึงการวางแผนและจัดการเกี่ยวกับประชากรที่ได้ผลส่วนอินเดียมีโครงสร้างอายุประชากรใกล้เคียงกับโลกซึ่งพิจารณาจากประชากรทั่วโลก แสดงว่าอินเดียมีโครงสร้างอายุประชากรที่ยังไม่เอื้อต่อการพัฒนาประเทศมากนัก 
      5. ชาติพันธุ์ ทวีปเอเชียมีพื้นที่ใหญ่ที่สุดและมีประชากรมากที่สุด ประกอบด้วย 3 กลุ่มชาติพันธุ์และแบ่งเป็นเชื้อชาติต่าง ๆ มากมาย แยกย่อยแตกต่างกันไป ได้แก่
           5.1 กลุ่มมองโกลอยด์ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่มีผิวเหลือง มีจำนวนประชากรมากที่สุดของทวีปเอเชียและของโลก จำแนกได้เป็น 2 กลุ่มย่อย คือ
                 - กลุ่มมองโกลอยด์ตอนเหนือ เป็น กลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้แก่ ชาวญี่ปุ่น เกาหลี จีน ทิเบต มองโกเลีย และชาวเติร์กเมนิสถานในภูมิภาคเอเชียกลาง
                 - กลุ่มมองโกลอยด์ตอนใต้ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ปรากฏอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ชาวไทย เวียดนาม กัมพูชา ลาว พม่า มาเลเซีย อินโดนีเซีย ติมอร์-เลสเต บรูไน ฟิลิปปินส์ รวมทั้งชนกลุ่มน้อยที่ปรากฏในภูเขาสูงของคาบสมุทรอินโดจีน เช่น ชาวม้ง กระเหรี่ยง อีก้อ มูเซอ เป็นต้น และชนกลุ่มน้อยในกลุ่มเกาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้บางพวก
           5.2 กลุ่มคอเคซอยด์ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ทีมีผิวขาว มีหน้าตาและร่างกายที่สูงใหญ่ ปรากฏในภูมิภาคเอเชียเหนือ เอเชียกลาง เอเชียใต้ และเอเชียตะวันตกเฉียงใต้

           5.3 กลุ่มนิกรอยด์ เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ในเอเชียอีกกลุ่มหนึ่ง มีผิวดำ ผมหยิก รูปร่างเล็ก ได้แก่ 
    ชาวตราวิเดียนในอินเดียและศรีลังกา เงาะ ป่าเซมัง และซาไกในมาเลเซีย และอินโดนีเซีย 


    เอเชีย : ทวีปที่มีความหลากหลายทางภาษา

                ความกว้างใหญ่ของแผ่นดินเอเชียทำให้ภูมิประเทศและภูมิอากาศ แตกต่างกันไปตามบริเวณต่าง ๆ ความหลากหลายของภูมิประเทศและภูมิอากาศเป็นสภาพทางธรรมชาติอย่างหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อการสร้างสรรค์วัฒนธรรมของมนุษย์ในรูปแบบแตกต่างกันไป ภาษาเป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งที่เกิดจากการสร้างสรรค์โดยมนุษย์เพื่อใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างกลุ่มคนกลุ่มเดียวกันและระหว่างกลุ่ม ในทวีปเอเชียปรากฏภาษาที่มากมายหลายพันภาษา มีลักษณะสำเนียงพูดและหลักภาษาแตกต่างกันไป ซึ่งจำแนกเป็นกลุ่มภาษาหลัก ๆ ได้เป็น 11 กลุ่ม ภาษา บริเวณต่าง ๆ พิจารณาได้จากแผนที่ ดังนี้ 

    1. กลุ่มภาษาอิหร่าน – อาร์มีเนีย ปรากฏในประเทศอิหร่าน อัฟกานิสถาน และปากีสถานแถบตะวันตก
    2. กลุ่มภาษาสลาฟ ปรากฏในประเทศรัสเซียด้านตะวันออกเฉียงใต้ และคาซัคสถานตอนเหนือ
    3. กลุ่มภาษาอาหรับ ปรากฏในกลุ่มประเทศสมุทรอาหรับ
    4. กลุ่มภาษาอินเดีย (ฮินดู เบงกอล) ปรากฏในประเทศอินเดียตอนเหนือ ปากีสถานด้านตะวันออก บังกลาเทศด้านตะวันตกเฉียงใต้ เนปาล และภูฏาน
    5. กลุ่มภาษายูราล-อัลไต (รัสเซีย มองโกเลีย เติร์ก) ปรากฏในประเทศรัสเซียเป็นส่วนใหญ่ จีนตอนเหนือ มองโกเลีย อุซเบกิสถาน คีร์กีซ ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน คาซัคสถาน อาร์เมเนีย ไซปรัส และตุรกี
    6. กลุ่มภาษาอินโด-แปซิฟิก (โพลินิเซีย มาเลเซีย อินโดนีเซีย) ปรากฏในประเทศหมู่เกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    7. กลุ่มภาษาจีน ปรากฏในประเทศจีนเป็นส่วนใหญ่ พม่า เวียดนาม และลาว
    8. กลุ่มภาษาญี่ปุ่น ปรากฏในประเทศญี่ปุ่น
    9. กลุ่มภาษาเกาหลี ปรากฏในคาบสมุทรเกาหลี
    10. กลุ่มภาษาไทย ปรากฏในประเทศไทย ซึ่งบางครั้งนักภาษาศาสตร์จัดอยู่ในกลุ่มภาษาไทย-จีน-ทิเบต
    11. กลุ่มภาษาเฉพาะถิ่น ปรากฏอยู่ในหลายบริเวณซึ่งไม่สามารถจัดเข้ากับกลุ่มภาษาใดได้ ได้แก่ เกาะศรีลังกาตอนเหนือ อินเดียตอนใต้ พม่าตอนใต้ กัมพูชา รัสเซียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และด้านตะวันออกเฉียงใต้บางส่วน


    เอเชีย : ทวีปที่เป็นแหล่งกำเนิดศาสนาสำคัญของโลก
               แผ่นดินอันกว้างใหญ่ของทวีปเอเชีย เป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาที่สำคัญของโลกทุกศาสนารวมทั้งลัทธิความเชื่อซึ่งมีลักษณะคล้ายศาสนา แต่ขาดองค์ประกอบบางอย่างจึงไม่ถือเป็นศาสนา ศาสนาและลัทธิกำเนิดในทวีปเอเชีย ได้แก่

     - ศาสนาฮินดู
    - พระพุทธศาสนา
    - ศาสนาคริสต์
    - ศาสนาอิสลาม
    - ศาสนายูดาย
    - ศาสนาชินโด
    - ลัทธิเต๋า และลัทธิขงจื๊อ
    กำเนิดในอินเดีย
    กำเนิดในอินเดีย
    กำเนิดในอิสราเอล
    กำเนิดในซาอุดีอาระเบีย
    กำเนิดในอิสราเอล
    กำเนิดในญี่ปุ่น
    กำเนิดในจีน

เศรษฐกิจ

 การนับถือศาสนาและลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ในทวีปเอเชียปรากฏอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ดังที่แสดงในแผนที่
  1. ศาสนาคริสต์ ประกอบด้วยนิกายโรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และออร์ทอดอกซ์ ปรากฏในประเทศรัสเซียตอนใต้และด้านตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังปรากฏในเกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์เกาะสุมาตราของอินโดนีเซียบางส่วน และมีกระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ เฉพาะกลุ่มผู้นับถือ
  2. ศาสนาอิสลาม ประกอบด้วยนิกายซุนนีและซีอะห์ ปรากฏในกลุ่มประเทศอาหรับทุกประเทศยกเว้นอิสราเอล ในเอเชียใต้ปรากฏในปากีสถานอัฟกานิสถาน อินเดียด้านตะวันตกเฉียงเหนือ บังกลาเทศบางส่วน ในเอเชียกลางปรากฏในทุกประเทศ ในเอเชียตะวันออกปรากฏในจีนและมองโกเลีย ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปรากฏในคาบสมุทรมลายู ในมาเลเซีย บรูไนและกลุ่มเกาะของประเทศอินโดนีเซีย
  3. พระพุทธศาสนา ปรากฏในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในกลุ่มประเทศคาบสมุทรอินโดจีน ได้แก่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา ในเอเชียใต้ ได้แก่ ศรีลังกา ภูฎาน และเนปาลบางส่วน ส่วนในเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีนบางส่วน และญี่ปุ่นบางส่วน
  4. ศาสนาฮินดู ปรากฏในอินเดีย เนปาลและบังกลาเทศบางส่วน นอกจากนี้ยังปรากฏเด่นในเกาะบาหลีของอินโดนีเซีย
  5. ศาสนาชินโต ปรากฏในกลุ่มเกาะญี่ปุ่น
  6. ศาสนายูดาย ปรากฏในประเทศอิสราเอล
  7. ลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ปรากฏในจีนแถบตะวันออก เกาหลีเหนือ เวียดนาม และลาวทางตอนเหนือ
  8. ศาสนาพื้นเมืองและภูตผี ปรากฏอยู่ในรัสเซียตอนเหนือ และแถบตะวันออก ตอนกลางของเกาะบอร์เนียว อิเรียนจายา และเกาะเล็ก ๆ ของอินโดนีเซีย


พระพุทธศาสนาในประเทศไทย

แหล่งที่มา: http://www.etcband.net/v3/webboard/show.php?id=4809

  
เอเชีย : ทวีปที่มีลักษณะเศรษฐกิจหลักอยู่บนพื้นฐานการเกษตร

            ลักษณะเศรษฐกิจของทวีปเอเชียโดยรวมทีพื้นฐานอยู่บนเศรษฐกิจภาคเกษตร พิจารณาจากการที่มีจำนวนประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตร ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการและเป็นแรงงาน นอกจากนี้ในเรื่องของการใช้ที่ดินส่วนใหญ่ก็ถูกใช้ไปกับกิจกรรมการเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งการที่ทวีปเอเชียมีลักษณะเศรษฐกิจภาคเกษตรเด่นดังกล่าวนั้น เนื่องจากมีลักษณะทางธรณีที่ปรากฏ ชนิดหินและแร่ธาตุหลากหลายทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์การมีโครงสร้างทางธรณีที่ซับซ้อนทำให้ปรากฏภูมิประเทศหลากหลายโดยเฉพาะที่ราบมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์เอื้อต่อการเกษตรในหลายบริเวณ มีภูมิอากาศที่หลากหลายเอื้อต่อกิจกรรมทางการเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ กัน รวมทั้งมีพืชพรรณธรรมชาติที่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารและความชื้นให้แก่ดินซึ่งปัจจัยดังกล่าว เป็น ระบบธรรมชาติ นอกจากนี้เหตุผลอีกประการหนึ่ง ได้แก่ ระบบมนุษย์ นั่นคือ ประชากรของทวีปเอเชียส่วนใหญ่มีวิธีคือ มีระบบวัฒนธรรมทีผูกพันกับการเกษตรมาอย่างยาวนาน ทำให้เกิดความคุ้นเคย เกิดการเรียนรู้ และมีการพัฒนาทางด้านการเกษตรอยู่ตลอดเวลา 
            การเกษตรของทวีปเอเชียที่สำคัญจำแนกได้เป็น 2 กิจกรรมใหญ่ ๆ ได้แก่ การเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งกิจกรรมทั้ง 2 อย่างจะปรากฏอยู่ในพื้นที่ของทวีปเอเชียแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขทางธรรมชาติในเรื่องของลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล่งน้ำ และดินเป็นสำคัญ เช่น เขตเพาะปลูกที่สำคัญจะอยู่แถบที่ราบลุ่มน้ำ เขตมรสุมของเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขณะที่เขตเลี้ยงสัตว์ทีสำคัญจะอยู่ในเขตอบอุ่นถึงหนาวเย็นที่มีอากาศแห้งแล้งบริเวณเอเชียกลาง และเอเชียเหนือ เป็นต้น
            นอกจากการเกษตรแล้ว ลักษณะเศรษฐกิจของเอเชียยังประกอบด้วยอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ การค้า และบริการ 
  1. เศรษฐกิจการเกษตร
    1.1การเพาะปลูก
          ในทวีปเอเชียมีการเพาะปลูกพืชที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล่งน้ำ ดิน และความชำนาญของประชากรเป็นสำคัญ ซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

การทำนาข้าวขั้นบันได
แหล่งที่มา: http://www.banlaoop.maelanoi.net/unseen.php
  1. การเกษตรเพื่อยังชีพ ส่วนใหญ่ปรากฏในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นการเพาะปลูกพืชเพื่อการยังชีพเป็นหลัก เมื่อผลผลิตเหลือจากการยังชีพจึงจะนำไปขายเป็นพืชเพื่อการค้า
  2. การทำไร่เลื่อนลอย การทำไร่เลื่อนลอยเป็นการเพาะปลุกที่มีการเคลื่อนย้ายพื้นที่ เพาะปลูกไปเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำให้ได้ผลผลิตมากเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่ปรากฏในบริเวณพื้นที่ภูเขาที่มีลาดชัน ดินจึงถูกชะล้างธาตุอาหารได้ง่าย จึงต้องมีการย้ายไปปลุกยังพื้นที่ใหม่ ส่วนใหญ่ปรากฏในพื้นที่ภูเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  3. การปลูกพืชเพื่อการค้า ส่วนใหญ่เป็นการปลุกที่เน้นพืชประเภทธัญพืชเป็นหลัก พบมากบริเวณคาซัคสถานตอนเหนือ
  4. การเกษตรเพื่อการค้าแบบผสม เป็นการปลุกพืชและเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไปในบริเวณเดียวกัน มีปรากฏเป็นบริเวณต่าง ๆ ในจีนและรัสเซียส่วนเอเชียตอนกลาง และเมืองอาคุตสก์
  5. การปลูกพืชเฉพาะอย่าง คือ การปลุกพืชอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพื้นที่และปริมาณมาก ๆ เพียงชนิดเดียว เน้นการผลิตเพื่อการค้า ส่วนใหญ่ปรากฏในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เช่น การปลูกอินทผลัม เป็นต้น รวมทั้งการปลูกยางพาราในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
           จากที่กล่าวมาแล้วว่า เขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของทวีปเอเชียจะอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก เนื่องจากมีสภาพทางธรรมชาติของภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำอยู่มาก มีปริมาณฝนสูง มีแม่น้ำสายใหญ่อยู่หลายสาย ทำให้มีน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกได้อย่างพอเพียง ขณะที่บริเวณอื่น ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่มน้ำก็มีการเพาะปลุกพืชอยู่บ้าง เช่น บริเวณลุ่มน้ำไทกิรส-ยูเฟรทิสในอิรัก ก็สามารถปลูกอินทผลัมได้

พืชเศรษฐกิจของเอเชียจำแนกตามชนิด ได้ดังนี้

       1. ข้าวเจ้า
 ปรากฏมากในเขตที่มีแสงแดดจัด ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวนั่นคือ จะต้องมีน้ำแช่ขังอยู่ช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้ต้นข้าวแตกกอจนถึงออกรวง ธรรมชาติของข้าวเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก เหมาะที่จะปลูกในเขตที่ราบลุ่มน้ำและเขตรับลม ที่มีฝนชุกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำฮวงเหอและแยงซีของประเทศจีน ที่ราบลุ่มน้ำอิระวดีในพม่า ที่ราบภาคกลางของประเทศไทย ที่ราบลุ่มน้ำโขงในกัมพูชาและเวียดนาม ที่ราบลุ่มน้ำคงคาและพรหมบุตรในอินเดียและบังกลาเทศ นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี ทีราบของเกาะชวา ในอินโดนีเซีย และกระจายอยู่ในกลุ่มเกาะของฟิลิปปินส์ ข้าวเจ้าถือเป็นพืชหลักที่ประชากรชาวเอเชียใช้บริโภคทำให้มีการปลูกมากจนเหลือจากการบริโภคและสามารถส่งเป็นสินค้าส่งออกได้


นาข้าว

แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/yutkpp/205202

            2. ข้าวสาลี ปรากฏมากในเขตอากาศอบอุ่นส่วนใหญ่ตั้งแต่เหนือเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ขึ้นไปที่มีปริมาณฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวที่สำคัญ ได้แก่ ตอนเหนือของอินเดีย ตอนเหนือของปากีสถาน ตอนเหนือของ คาซัคสถาน ที่ราบลุ่มน้ำไทกิรส-ยูเฟรทิสของอิรัก ตอนใต้ของตุรกี และจีนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ         3. ข้าวฟ่าง เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้าที่สามารถปลูกได้ในเขตที่มีปริมาณฝนไม่มาก และในภูมิประเทศที่ดอนซึ่งดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์มากนักได้ แหล่งปลูกข้าวฟ่างที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรเดคคานในประเทศอินเดีย ซึ่งข้าวฟ่างเป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์และมีการบริโภคบ้างในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย


    ไร่ฟ่างข้าว

    แหล่งที่มา: http://www.rakbankerd.com/kaset/openweb.php?id=485&s=tblrice
            4. ฝ้าย ส่วนใหญ่ปรากฏในเขตอบอุ่นในเอเชียกลางแถบอุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน ในเอเชียตะวันออกบริเวณที่ราบด้านตะวันออกของจีนและในเอเชียใต้บริเวณตอนในของคาบสมุทรเดคคานของอินเดีย ฝ้ายเป็นพืชที่ปลูกเพื่อเอาเส้นฝ้ายมาทำเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม เป็นเส้นใยธรรมชาติที่เมื่อนำมาทอเป็นเสื้อผ้าจะทำให้สวมใส่สบาย จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง


    ไร่ฝ้าย

    แหล่งที่มา: http://www.oknation.net/blog/esan-banna/2008/09/29/entry-1
            5. อินทผลัม เป็นพืชที่ปลูกได้ดีในเขตโอเอซิสซึ่งเป็นแหล่งน้ำในทะเลทราย และเขตที่ราบลุ่มน้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เช่น ที่ราบลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรทิสในอิรัก โดยธรรมชาติ อินทผลัมเป็นพืชที่ปลูกได้ดีในสภาพอากาศแห้งแล้งแต่ดินไม่แห้งมากนัก เป็นพืชทีมีรสหวานมาก ซึ่งให้พลังงานสูง ทำให้ประชากรแถบตะวันออกกลาง ซึ่งอยู่ในสภาพอากาศร้อนจัดในช่วงกลางวัน นิยมบริโภคเพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปกับเหงื่อจากอากาศที่ร้อนจัด         6. มะพร้าว เป็นพืชที่ปลูกได้ดีในบริเวณสันทรายชายฝั่งทะเล ปรากฏมากบริเวณกลุ่มเกาะของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มะพร้าวเป็นพืชที่ใช้เป็นอาหาร และอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท


    สวนมะพร้าว
    แหล่งที่มา: http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=1234&s=tblplant