วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

เศรษฐกิจ

 การนับถือศาสนาและลัทธิความเชื่อต่าง ๆ ในทวีปเอเชียปรากฏอยู่ในบริเวณต่าง ๆ ดังที่แสดงในแผนที่
  1. ศาสนาคริสต์ ประกอบด้วยนิกายโรมันคาทอลิก โปรเตสแตนต์ และออร์ทอดอกซ์ ปรากฏในประเทศรัสเซียตอนใต้และด้านตะวันตกเฉียงใต้ นอกจากนี้ยังปรากฏในเกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์เกาะสุมาตราของอินโดนีเซียบางส่วน และมีกระจายอยู่ในประเทศต่าง ๆ เฉพาะกลุ่มผู้นับถือ
  2. ศาสนาอิสลาม ประกอบด้วยนิกายซุนนีและซีอะห์ ปรากฏในกลุ่มประเทศอาหรับทุกประเทศยกเว้นอิสราเอล ในเอเชียใต้ปรากฏในปากีสถานอัฟกานิสถาน อินเดียด้านตะวันตกเฉียงเหนือ บังกลาเทศบางส่วน ในเอเชียกลางปรากฏในทุกประเทศ ในเอเชียตะวันออกปรากฏในจีนและมองโกเลีย ด้านตะวันออกเฉียงเหนือ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปรากฏในคาบสมุทรมลายู ในมาเลเซีย บรูไนและกลุ่มเกาะของประเทศอินโดนีเซีย
  3. พระพุทธศาสนา ปรากฏในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในกลุ่มประเทศคาบสมุทรอินโดจีน ได้แก่ ไทย พม่า ลาว กัมพูชา ในเอเชียใต้ ได้แก่ ศรีลังกา ภูฎาน และเนปาลบางส่วน ส่วนในเอเชียตะวันออก ได้แก่ จีนบางส่วน และญี่ปุ่นบางส่วน
  4. ศาสนาฮินดู ปรากฏในอินเดีย เนปาลและบังกลาเทศบางส่วน นอกจากนี้ยังปรากฏเด่นในเกาะบาหลีของอินโดนีเซีย
  5. ศาสนาชินโต ปรากฏในกลุ่มเกาะญี่ปุ่น
  6. ศาสนายูดาย ปรากฏในประเทศอิสราเอล
  7. ลัทธิขงจื๊อและลัทธิเต๋า ปรากฏในจีนแถบตะวันออก เกาหลีเหนือ เวียดนาม และลาวทางตอนเหนือ
  8. ศาสนาพื้นเมืองและภูตผี ปรากฏอยู่ในรัสเซียตอนเหนือ และแถบตะวันออก ตอนกลางของเกาะบอร์เนียว อิเรียนจายา และเกาะเล็ก ๆ ของอินโดนีเซีย


พระพุทธศาสนาในประเทศไทย

แหล่งที่มา: http://www.etcband.net/v3/webboard/show.php?id=4809

  
เอเชีย : ทวีปที่มีลักษณะเศรษฐกิจหลักอยู่บนพื้นฐานการเกษตร

            ลักษณะเศรษฐกิจของทวีปเอเชียโดยรวมทีพื้นฐานอยู่บนเศรษฐกิจภาคเกษตร พิจารณาจากการที่มีจำนวนประชากรส่วนใหญ่อยู่ในภาคเกษตร ทั้งที่เป็นผู้ประกอบการและเป็นแรงงาน นอกจากนี้ในเรื่องของการใช้ที่ดินส่วนใหญ่ก็ถูกใช้ไปกับกิจกรรมการเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งการที่ทวีปเอเชียมีลักษณะเศรษฐกิจภาคเกษตรเด่นดังกล่าวนั้น เนื่องจากมีลักษณะทางธรณีที่ปรากฏ ชนิดหินและแร่ธาตุหลากหลายทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์การมีโครงสร้างทางธรณีที่ซับซ้อนทำให้ปรากฏภูมิประเทศหลากหลายโดยเฉพาะที่ราบมีแหล่งน้ำที่อุดมสมบูรณ์เอื้อต่อการเกษตรในหลายบริเวณ มีภูมิอากาศที่หลากหลายเอื้อต่อกิจกรรมทางการเกษตรในรูปแบบต่าง ๆ กัน รวมทั้งมีพืชพรรณธรรมชาติที่ช่วยเพิ่มธาตุอาหารและความชื้นให้แก่ดินซึ่งปัจจัยดังกล่าว เป็น ระบบธรรมชาติ นอกจากนี้เหตุผลอีกประการหนึ่ง ได้แก่ ระบบมนุษย์ นั่นคือ ประชากรของทวีปเอเชียส่วนใหญ่มีวิธีคือ มีระบบวัฒนธรรมทีผูกพันกับการเกษตรมาอย่างยาวนาน ทำให้เกิดความคุ้นเคย เกิดการเรียนรู้ และมีการพัฒนาทางด้านการเกษตรอยู่ตลอดเวลา 
            การเกษตรของทวีปเอเชียที่สำคัญจำแนกได้เป็น 2 กิจกรรมใหญ่ ๆ ได้แก่ การเพาะปลูก และการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งกิจกรรมทั้ง 2 อย่างจะปรากฏอยู่ในพื้นที่ของทวีปเอเชียแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขทางธรรมชาติในเรื่องของลักษณะภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล่งน้ำ และดินเป็นสำคัญ เช่น เขตเพาะปลูกที่สำคัญจะอยู่แถบที่ราบลุ่มน้ำ เขตมรสุมของเอเชียตะวันออก เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ขณะที่เขตเลี้ยงสัตว์ทีสำคัญจะอยู่ในเขตอบอุ่นถึงหนาวเย็นที่มีอากาศแห้งแล้งบริเวณเอเชียกลาง และเอเชียเหนือ เป็นต้น
            นอกจากการเกษตรแล้ว ลักษณะเศรษฐกิจของเอเชียยังประกอบด้วยอุตสาหกรรมประเภทต่าง ๆ การค้า และบริการ 
  1. เศรษฐกิจการเกษตร
    1.1การเพาะปลูก
          ในทวีปเอเชียมีการเพาะปลูกพืชที่แตกต่างกันไปตามลักษณะของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล่งน้ำ ดิน และความชำนาญของประชากรเป็นสำคัญ ซึ่งจำแนกออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้ดังนี้

การทำนาข้าวขั้นบันได
แหล่งที่มา: http://www.banlaoop.maelanoi.net/unseen.php
  1. การเกษตรเพื่อยังชีพ ส่วนใหญ่ปรากฏในเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นการเพาะปลูกพืชเพื่อการยังชีพเป็นหลัก เมื่อผลผลิตเหลือจากการยังชีพจึงจะนำไปขายเป็นพืชเพื่อการค้า
  2. การทำไร่เลื่อนลอย การทำไร่เลื่อนลอยเป็นการเพาะปลุกที่มีการเคลื่อนย้ายพื้นที่ เพาะปลูกไปเรื่อย ๆ ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดินที่จะทำให้ได้ผลผลิตมากเป็นสำคัญ ส่วนใหญ่ปรากฏในบริเวณพื้นที่ภูเขาที่มีลาดชัน ดินจึงถูกชะล้างธาตุอาหารได้ง่าย จึงต้องมีการย้ายไปปลุกยังพื้นที่ใหม่ ส่วนใหญ่ปรากฏในพื้นที่ภูเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  3. การปลูกพืชเพื่อการค้า ส่วนใหญ่เป็นการปลุกที่เน้นพืชประเภทธัญพืชเป็นหลัก พบมากบริเวณคาซัคสถานตอนเหนือ
  4. การเกษตรเพื่อการค้าแบบผสม เป็นการปลุกพืชและเลี้ยงสัตว์ควบคู่กันไปในบริเวณเดียวกัน มีปรากฏเป็นบริเวณต่าง ๆ ในจีนและรัสเซียส่วนเอเชียตอนกลาง และเมืองอาคุตสก์
  5. การปลูกพืชเฉพาะอย่าง คือ การปลุกพืชอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นพื้นที่และปริมาณมาก ๆ เพียงชนิดเดียว เน้นการผลิตเพื่อการค้า ส่วนใหญ่ปรากฏในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เช่น การปลูกอินทผลัม เป็นต้น รวมทั้งการปลูกยางพาราในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
           จากที่กล่าวมาแล้วว่า เขตเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของทวีปเอเชียจะอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก เนื่องจากมีสภาพทางธรรมชาติของภูมิประเทศที่เป็นพื้นที่ราบลุ่มน้ำอยู่มาก มีปริมาณฝนสูง มีแม่น้ำสายใหญ่อยู่หลายสาย ทำให้มีน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูกได้อย่างพอเพียง ขณะที่บริเวณอื่น ๆ ที่อยู่ในพื้นที่ราบลุ่มน้ำก็มีการเพาะปลุกพืชอยู่บ้าง เช่น บริเวณลุ่มน้ำไทกิรส-ยูเฟรทิสในอิรัก ก็สามารถปลูกอินทผลัมได้

พืชเศรษฐกิจของเอเชียจำแนกตามชนิด ได้ดังนี้

       1. ข้าวเจ้า
 ปรากฏมากในเขตที่มีแสงแดดจัด ปริมาณน้ำเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวนั่นคือ จะต้องมีน้ำแช่ขังอยู่ช่วงเวลาหนึ่งเพื่อให้ต้นข้าวแตกกอจนถึงออกรวง ธรรมชาติของข้าวเป็นพืชที่ต้องการน้ำมาก เหมาะที่จะปลูกในเขตที่ราบลุ่มน้ำและเขตรับลม ที่มีฝนชุกของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียใต้ และเอเชียตะวันออก ได้แก่ ที่ราบลุ่มน้ำฮวงเหอและแยงซีของประเทศจีน ที่ราบลุ่มน้ำอิระวดีในพม่า ที่ราบภาคกลางของประเทศไทย ที่ราบลุ่มน้ำโขงในกัมพูชาและเวียดนาม ที่ราบลุ่มน้ำคงคาและพรหมบุตรในอินเดียและบังกลาเทศ นอกจากนี้ยังปรากฏอยู่ในคาบสมุทรเกาหลี ทีราบของเกาะชวา ในอินโดนีเซีย และกระจายอยู่ในกลุ่มเกาะของฟิลิปปินส์ ข้าวเจ้าถือเป็นพืชหลักที่ประชากรชาวเอเชียใช้บริโภคทำให้มีการปลูกมากจนเหลือจากการบริโภคและสามารถส่งเป็นสินค้าส่งออกได้


นาข้าว

แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/yutkpp/205202

            2. ข้าวสาลี ปรากฏมากในเขตอากาศอบอุ่นส่วนใหญ่ตั้งแต่เหนือเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ขึ้นไปที่มีปริมาณฝนเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของต้นข้าวที่สำคัญ ได้แก่ ตอนเหนือของอินเดีย ตอนเหนือของปากีสถาน ตอนเหนือของ คาซัคสถาน ที่ราบลุ่มน้ำไทกิรส-ยูเฟรทิสของอิรัก ตอนใต้ของตุรกี และจีนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ         3. ข้าวฟ่าง เป็นพืชตระกูลเดียวกับหญ้าที่สามารถปลูกได้ในเขตที่มีปริมาณฝนไม่มาก และในภูมิประเทศที่ดอนซึ่งดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์มากนักได้ แหล่งปลูกข้าวฟ่างที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรเดคคานในประเทศอินเดีย ซึ่งข้าวฟ่างเป็นพืชที่ใช้เป็นอาหารสัตว์และมีการบริโภคบ้างในกลุ่มผู้มีรายได้น้อย


    ไร่ฟ่างข้าว

    แหล่งที่มา: http://www.rakbankerd.com/kaset/openweb.php?id=485&s=tblrice
            4. ฝ้าย ส่วนใหญ่ปรากฏในเขตอบอุ่นในเอเชียกลางแถบอุซเบกิสถาน และเติร์กเมนิสถาน ในเอเชียตะวันออกบริเวณที่ราบด้านตะวันออกของจีนและในเอเชียใต้บริเวณตอนในของคาบสมุทรเดคคานของอินเดีย ฝ้ายเป็นพืชที่ปลูกเพื่อเอาเส้นฝ้ายมาทำเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม เป็นเส้นใยธรรมชาติที่เมื่อนำมาทอเป็นเสื้อผ้าจะทำให้สวมใส่สบาย จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญชนิดหนึ่ง


    ไร่ฝ้าย

    แหล่งที่มา: http://www.oknation.net/blog/esan-banna/2008/09/29/entry-1
            5. อินทผลัม เป็นพืชที่ปลูกได้ดีในเขตโอเอซิสซึ่งเป็นแหล่งน้ำในทะเลทราย และเขตที่ราบลุ่มน้ำในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ เช่น ที่ราบลุ่มน้ำไทกริส-ยูเฟรทิสในอิรัก โดยธรรมชาติ อินทผลัมเป็นพืชที่ปลูกได้ดีในสภาพอากาศแห้งแล้งแต่ดินไม่แห้งมากนัก เป็นพืชทีมีรสหวานมาก ซึ่งให้พลังงานสูง ทำให้ประชากรแถบตะวันออกกลาง ซึ่งอยู่ในสภาพอากาศร้อนจัดในช่วงกลางวัน นิยมบริโภคเพื่อชดเชยพลังงานที่สูญเสียไปกับเหงื่อจากอากาศที่ร้อนจัด         6. มะพร้าว เป็นพืชที่ปลูกได้ดีในบริเวณสันทรายชายฝั่งทะเล ปรากฏมากบริเวณกลุ่มเกาะของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่สำคัญ ได้แก่ ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย มะพร้าวเป็นพืชที่ใช้เป็นอาหาร และอุตสาหกรรมอาหารหลายประเภท


    สวนมะพร้าว
    แหล่งที่มา: http://www.rakbankerd.com/agriculture/open.php?id=1234&s=tblplant

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น