วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

ที่ราบ

 นอกจากนี้เทือกเขาสูงยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของทวีปเอเชีย เช่น เทือกเขาที่มียอกเขาสูงมาก ๆ เทือกเขาเอเวอเรสต์ที่มีระดับสูงถึง 8,888 เมตร จะมีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดปีเนื่องจากระดับความสูงเพิ่มขึ้นจะทำให้อุณหภูมิลดลงความแปลกแตกต่างจากเทือกเขาทั่วไปรวมทั้งระดับสูงที่สุด ทำให้นักปีนเขาที่ชอบความท้าทายมาเยือนเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งของการท่องเที่ยว เป็นต้น เทือกเขาสูงต่าง ๆ มักจะมีสัณฐานย่อยที่ใช้เป็นภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยว เช่น มีหน้าผาเป็นจุดชมวิว มีน้ำตก มีโตรกเขา มีพืชพรรณทีหาดูได้ยาก รวมทั้งมีอากาศเย็น เป็นต้น 
ตารางแสดงยอดเขาสำคัญในทวีปเอเชีย
ลำดับที่
ชื่อยอดเขา
ระดับสูง 
(เมตร)
ประเทศ
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
เอเวอเรสต์
กอดวิน
กันสเชนจุงกา
ลอตเช
มาคาลู
โชโอยู
ตอลาคีรี
มานาสลู
นังกาปาร์บาตร
อันนาปุรนา
8,848
8,611
8,598
8,516
8,481
8,201
8,172
8,156
8,126
8,078
จีน เนปาล
จีน แคชเมียร์(อินเดีย)
อินเดีย เนปาล
จีน เนปาล
จีน เนปาล
จีน เนปาล
เนปาล
เนปาล
แคชเมียร์ (อินเดีย)
เนปาล
ประยุกต์จาก : แผนที่กายภาพโลก, 2546.
3.2 ที่ราบสูง 

    ที่ราบสูง (Plateau) คือ พื้นที่ค่อนข้างอยู่สูงกว่าที่ต่ำโดยรอบ จากนิยามดังกล่าวที่ราบสูงจึงเป็นลักษณะของภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีขนาดพื้นที่และระดับสูง 180-300 เมตร เช่น แผ่นดินตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีระดับสูงส่วนใหญ่เพียง
150-250 เมตร และมีพื้นที่ 169,954 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เรียกที่ราบสูงโคราชเนื่องจากระดับความสูงไม่มากนักแยกออกจากที่ราบภาคกลางและที่ราบต่ำเขมรอย่างชัดเจน ขณะที่ที่สูงที่อยู่ระหว่างเทือกเขาหิมาลัยกับเทือกเขาคุลุนซาน ซึ่งมีระดับสูงเฉลี่ยถึง 4,500 เมตร และมีพื้นที่ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร ก็เรียกว่า ที่ราบสูงทิเบต เป็นต้น
ดังนั้นลักษณะภูมิประเทศที่ราบสูงของทวีปเอเชียจึงปรากฏกระจายอยู่โดยทั่วไป ซึ่งมีขนาดพื้นที่และระดับสูงแตกต่างกันไป ในที่นี้จะได้กล่าวถึงเฉพาะที่ราบสูงขนาดใหญ่ ได้แก่

เทือกเขาหิมาลัยแหล่งที่มา: http://www.snr.ac.th/wita/story/20views.htm

- ที่ราบสูงบริเวณตอนกลางของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบต ที่เป็นส่วนหนึ่งของหลังคาโลก ถือเป็นที่ราบสูงที่มีระดับสูงที่สุดของโลกและเอเชีย ที่ราบสูงยูนนาน บริเวณจีนตอนใต้ซึ่งเป็นจุดรวมของเทือกเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 
- ที่ราบสูงบริเวณตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงเดคคาน บริเวณคาบสมุทรอินเดีย ที่ราบสูงอิหร่าน บริเวณประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอาหรับ บริเวณคาบสมุทรอาหรับ ที่ราบสูงอนาโตเลีย บริเวณประเทศตุรกี - ที่ราบสูงที่สุดในโลก ที่ราบสูงทิเบตเป็นที่ราบผืนใหญ่ที่อยู่ระหว่างเทือกเขาคุนลุนซานทางด้านเหนือกับเทือกเขาหิมาลัยทางด้านใต้มีพื้นที่ประมาณ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร และมีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง เฉลี่ย 4,500 เมตร นับว่าเป็นที่ราบสูงผืนใหญ่ที่สูงที่สุดในโลก ทางทิศตะวันตกขอที่ราบสูงทิเบตมีที่ราบสูงผืนใหญ่ แต่อยู่สูงที่สุดในโลกเรียก “หลังคาโลก” ซึ่งภาษาพื้นที่เมืองแถบนั้นเรียกว่า ปามีร์ดุนยา (Pamir Dunya) หรือ ปามีร์นอต (Pamir Knot) มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 8,611 เมตร พื้นที่บริเวณหลังคาโลกจะเป็นจุดรวมของเทือกเขาสูงที่สำคัญของทวีปเอเชีย
- ที่ราบสูงบริเวณตอนเหนือของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงไซบีเรียตอนกลาง บริเวณประเทศรัสเซียที่ราบสูงขนาดใหญ่ของทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะเป็นเขตฝนน้อย บางแห่งถึงกับเป็นทะเลทราย เช่น ที่ราบสูงอิหร่าน ที่ราบสูงอาหรับ ที่ราบสูงทิเบต เป็นต้น เนื่องจากอยู่ในเขตอับฝนหรือด้านหลังเขานั่นเอง 
3.3 ที่ราบ 

      ที่ราบ เป็นลักษณะภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างระดับภายในพื้นที่น้อยมากจนดูเหมือนราบเรียบเป็นผืนเดียวต่อเนื่องกัน ทั้งที่ความจริงอาจจะมีความสูง-ต่ำแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยธรรมชาติที่ราบมักจะเป็นพื้นที่รับน้ำและตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินที่ผุสลายแล้วถูกพาเคลื่อนย้ายจากที่สูงกว่าทั้งภูเขาสูงหรือที่ราบสูงมาสะสมทับถมกัน ทำให้ที่ราบมีดินดี มีน้ำเพียงพอ ประกอบกับที่ราบมีการเข้าถึง การเดินทางเคลื่อนย้ายได้สะดวกจึงมักจะเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ที่ราบปรากฏอยู่บนแผ่นดินทวีปเอเชียจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่ง ซึ่งมีระดับสูงและมีขนาดของพื้นที่แตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่ราบที่สำคัญของทวีปเอเชีย ดังนี้ 

ที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย
แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/phakawatkeetra/401242

1) ที่ราบตอนเหนือ คือ บริเวณที่ราบที่อยู่ถัดจากที่สูงตอนกลางขึ้นไปทางทิศเหนือเป็นที่ราบขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย เรียกว่า ที่ราบไซบีเรีย อยู่ในพื้นที่ของประเทศรัสเซียส่วนเอเชียมีน้ำสายใหญ่ 3 สาย ไหลผ่านกัดเซาะนำเอาตะกอนที่สูงมาสะสมในที่ตำคือ แม่น้ำออบ แม่น้ำเยนิเซ และแม่น้ำลีนา ที่ราบไซบีเรียแบ่งออกเป็น 2 บริเวณ โดยที่ราบสูงไซบีเรียตอนกลางเป็นแนวแบ่งเขต ได้แก่ ที่ราบไซบีเรียด้านตะวันตกและที่ราบไซบีเรียด้านตะวันออก ซึ่งที่ราบไซบีเรียด้านตะวันออกจะมีระดับสูงมากกว่า โดยภาพรวมที่ราบตอนเหนือจะมีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก เนื่องจากอยู่ในละติจูดสูงทำให้มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นนอกจากจะไม่เหมาะในการอยู่อาศัยแล้วยังทำให้การเพาะปลูกไม่ค่อยได้ผล

2) ที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นบริเวณที่ราบที่ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำสายใหญ่และสาขาในการปรับระดับพื้นที่ โดยการนำพาเอาตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินที่อุดมสมบูรณ์มาสะสมทับถม ทำให้ดินมีสภาพดี เมื่อมีดินดี มีน้ำบริบูรณ์ จึงเป็นเขตเพาะปลูกที่สำคัญที่สุดของทวีปเอเชีย บางแห่งอาจจะมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูน้ำหลากจึงเรียก ที่ราบลุ่มแม่น้ำ
       ที่ราบลุ่มแม่น้ำของทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ทางด้านตะวันออก ด้านใต้ และด้านตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงเหอ ในประเทศจีน
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถานและอินเดีย
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาในประเทศอินเดีย
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในประเทศบังกลาเทศ และอินเดีย
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส หรือดินแดนเมโสโปเตเมีย ในประเทศอิรัก
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างในประเทศกัมพูชา และเวียดนาม
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงในประเทศเวียดนาม
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินในประเทศพม่า
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า
3) เขตที่ราบชายฝั่งทะเล เป็นลักษณะภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างระดับภายในพื้นที่น้อยจนดูราบเรียบและติดชายฝั่งทะเล ทำให้ได้รับอิทธิพลจากการกระทำของทะเลจนเกิดเป็นสัณฐานย่อยประกอบชายฝั่ง เช่น สันทราย เนินทราย ชายหาด
หัวแหลม เป็นต้น ซึ่งที่ราบชายฝั่งที่ระดับน้ำทะเลมีการขึ้น-ลง ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ในบางช่วงเวลาเรียกว่า “ที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล” หรือ “ที่ราบลุ่มน้ำกร่อย” โดยปกติที่ราบชายฝั่งมักจะเป็นแนวเชื่อมต่อกันระหว่างน้ำจืดจากแผ่นดินกับน้ำเค็มในทะเล ทำให้เกิดลักษณะที่พิเศษบางอย่างของที่ราบแถบนี้ เช่น เกิดน้ำกร่อย ทำให้พืชพรรณต้องปรับตัวเฉพาะเพื่อให้อยู่รอด เป็นต้น ที่ราบชายฝั่งของทวีปเอเชียจะปรากฏอยู่ทั้งในมหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปเป็นชายฝั่งที่กว้างบ้างแคบบ้าง เว้า ๆ แหว่ง ๆ หรือราบเรียบ เป็นหาดทราย หาดโคลน หรือหาดเลนซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีในเรื่องของหินและแร่ที่อยู่เบื้องหลังชายฝั่งทำให้เกิดตะกอนทรายหรือดินเหนียว ชายฝั่งบางช่วงป่าชายเลนถูกทำลายด้วยการกระทำของมนุษย์ เช่น ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นนากุ้ง หรือเป็นท่าเรือขนส่งสินค้า เป็นต้น

3.4 ทะเลทราย 
ทะเลทราย เป็นรูปแบบของภูมิประเทศชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติของอากาศแล้งจัด นั่นคือ มีไอน้ำหรือความชื้นในอากาศน้อยมาก และมีคุณสมบัติของดินแห้งจัด คือ มีน้ำในดินน้อยมาก และส่วนใหญ่ประกอบด้วยอานุภาคที่เป็นทราย ประกอบกับโดยทั่วไปมีปริมาณฝนต่อปีน้อยกว่า 250 มิลลิเมตร มักไม่ค่อยปรากฏทางน้ำหรือสายน้ำ จึงทำให้พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่ เป็นหญ้าทนแล้งที่มักจะมีหนามไม่มีใบ เพื่อลดการคายน้ำของปากใบ เป็นการปรับตัวของพืช เช่น กระบองเพชร เป็นต้น ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวจึงเรียกลักษณะภูมิประเทศรูปแบบนี้ว่า “ภูมิประเทศแห้งแล้งแบบทะเลทราย” ทะเลทรายที่ปรากฏในทวีปเอเชีย ได้แก่ ทะเลทรายบริเวณคาบสมุทรอาหรับ ทะเลทรายโกบี ทะเลทรายธาร์ รวมทั้งที่ราบสูงทิเบต และที่ราบสูงอิหร่าน

3.5 กลุ่มเกาะ 
เกาะ (Island) คือ ผืนแผ่นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ ซึ่งถ้ามีเกาะอยู่รวมกันมาก ๆ ในบริเวณหรือย่านเดียวกันเรียกว่า “กลุ่มเกาะ” หรือ “หมู่เกาะ” เช่น กลุ่มเกาะอินโดนีเซีย คือ กลุ่มเกาะที่ประกอบด้วย เกาะใหญ่สุมาตรา ชวา บอร์เนียว เซลีเบส อิเรียนจายา และเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย เป็นต้น กลุ่มเกาะที่สำคัญของทวีปเอเชีย ได้แก่ กลุ่มเกาะอินโดนีเซีย กลุ่มเกาะฟิลิปปินส์ กลุ่มเกาะญี่ปุ่น กลุ่มเกาะย่านรัสเซีย กลุ่มเกาะอันดามันและกลุ่มเกาะมัลดีฟส์
ตาราง แสดงชื่อและขนาดพื้นที่เกาะสำคัญในทวีปเอเชีย 

ลำดับที่
ชื่อเกาะ
ขนาดพื้นที่
(ตารางกิโลเมตร)
ระบุแหล่งที่มาของข้อมูล
ในมหาสมุทร
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
บอร์เนียว
สุมาตรา
ฮอนซู
เซลีเบส
ชวา
ลูซอน
มินดาเนา
ฮอกไกโด
แซคาลิน
ศรีลังกา
737,000
425,000
230,000
189,000
126,700
104,700
95,000
78,400
76,400
65,600
อินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย
ญี่ปุ่น
อินโดนีเซีย
อินโดนีเซีย
ฟิลิปปินส์
ฟิลิปปินส์
ญี่ปุ่น
รัสเซีย
ศรีลังกา
แปซิฟิก
อินเดีย
แปซิฟิก
แปซิฟิก
อินเดีย
แปซิฟิก
แปซิฟิก
แปซิฟิก
แปซิฟิก
อินเดีย
ประยุกต์จาก : CONCISE ATLAS OF THE WORLD, 1996.
3.6  ทะเลและมหาสมุทร 

       อย่างที่ทราบกันว่าพื้นผิวของโลกประมาณ 3 ใน 4 นั้นเป็นพื้นน้ำและเกือบทั้งหมดเป็นพื้นน้ำทะเลทำให้เกิดปรากฏการณ์ตามธรรมชาติมากมาย เช่น ทำให้เกิดพายุหมุนที่รุนแรงพัดเข้าสู่แผ่นดินอันเป็นผลมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผืนดินกับพื้นน้ำ ทำให้ความกดอากาศต่างกันจึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของลมพายุ เอเชียเป็นทวีปที่ตั้งอยู่ระหว่าง 3 มหาสมุทร ได้แก่
มหาสมุทรอาร์กติกบริเวณขั้วโลกเหนือ มหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออกแยกเอเชียออกจากผืนแผ่นดินทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ และมหาสมุทรอินเดียทางใต้แยกเอเชียออกจากทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา ส่วนทะเลของเอเชียประกอบด้วยทะเลแดง ทะเลอาหรับ ทะเลอันดามัน ทะเลจีนใต้ ทะเลเซลีเบส ทะเลติมอร์ ทะเลบันดา ทะเลจีนตะวันออก ทะเลเหลือง
ทะเลญี่ปุ่น และทะเลโอคอตสก์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น