วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

พืชพรรรณธรรมชาติ


เอเชีย 
: ทวีปที่มีพืชพรรณธรรมชาติหลากหลาย

            การปรากฏรูปแบบของพืชพรรณธรรมชาติในลักษณะของป่าไม้ประเภทต่าง ๆ นั้น ขึ้นอยู่กับสภาพภูมิอากาศ ชนิดของหินและดิน และความสูงจากระดับทะเลปานกลาง เอเชียเป็นทวีปที่มีผืนแผ่นดินกว้างใหญ่ มีความหลากหลายและแตกต่างกันของลักษณะภูมิอากาศ ลักษณะทางธรณี ลักษณะทางปฐพี และลักษณะทางภูมิประเทศเป็นไปตามบริเวณท้องถิ่นต่าง ๆ เรียกว่า “ปัจจัยความคุมพืชพรรณ” ทำให้เกิดพืชพรรณธรรมชาติที่หลากหลายพิจารณาได้ดังนี้
  1. พืชพรรณในเขตภูเขาสูง พบอยู่ในพื้นที่เทือกเขาและทิวเขาสูงตั้งแต่บริเวณเส้นทรอปิก-ออฟแคน-เซอร์ (ละติจูด 23 องศาเหนือ) ขึ้นไปจนถึงตอนเหนือของเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล (66 องศาเหนือ) ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศทำให้พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่ เป็นต้นไม้ทีมีพืชจำพวกมอสและไลเคนปกคลุมอยู่ตามลำต้น
  2. พืชพรรณในเขตร้อน และมรสุม พบอยู่หนาแน่นในเขตภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่บริเวณเส้นศูนย์สูตรขึ้นมาจนถึงประมาณเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์และบริเวณซีกโลกใต้ ที่เป็นกลุ่มเกาะประเทศอินโดนีเซียและประเทศติมอร์เลสเต สภาพภูมิอากาศทำให้ปรากฏพืชพรรณ 3 ประเภท ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน ได้แก่

   - ป่าฝนเขตร้อน ได้แก่ ป่าดิบชื้น ซึ่งมีลำต้นสูงขึ้นอยู่หนาแน่น
   - ป่ามรสุม ได้แก่ ป่าไม้ผลัดใบเขตร้อนชื้น
   - ทุ่งหญ้าสะวันนา ได้แก่ ทุ่งหญ้าเขตร้อน และไม้ขนาดเล็ก

พืชพรรณธรรมชาติในเขตร้อน-ชื้นสลับแล้ง(ป่าเต๊งรัง)
แหล่งที่มา: http://www.buriramphoto.net/index.php?topic=333.0
 
  3. พืชพรรณประเภทป่าผสมในเขตละติจูดกลาง
 พบอยู่ในเขตละติจูดกลาง 3 บริเวณใหญ่ ๆ คือ บริเวณรัสเซียด้าน
ตะวันตกบริเวณจีนด้านตะวันออกเฉียงใต้ญี่ปุ่นและบริเวณด้านตะวันออกของทะเลเมติมอร์เรเนียนสภาพภูมิอากาศทำให้พบพืชพรรณเป็นป่าผสมที่มีไม้สนขึ้นแทรกสลับกับไม้ใบกว้าง ทีมีเนื้อไม้แข็ง เช่น เมเปิล โอ๊ก วอลนัท เป็นต้น

  4. พืชพรรณประเภทไม้พุ่มเขตเมดิเตอร์เรเนียน พบอยู่บริเวณรอบ ๆ ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในเขตประเทศตุรกี ซีเรีย อิสราเอล และจอร์แดนลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณเป็นไม้พุ่มเตี้ยแทรกสลับกับไม้ยืนต้น  5. พืชพรรณในเขตทะเลทราย และกึ่งทะเลทราย อยู่ในพื้นที่เขตทะเลทรายและเขตกึ่งทะเลทราย สภาพภูมิอากาศทำให้พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นไม้ทนแล้ง ทุ่งหญ้า กระบองเพชร หรือถ้าบริเวณที่มีแอ่งน้ำในทะเลทราย ที่เรียกว่า “โอเอซิส” (Oasis) อาจจะมีอินทผลัม หรือไม้จำนพวกหนามต่าง ๆ
  6. พืชพรรณประเภททุ่งหญ้าในเขตอบอุ่น พบอยู่ในเขตละติจุดกลางในเขตรัสเซียตอนใต้ จีนตอนบน และภูมิอากาศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้พบบางส่วนลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้าซึ่งส่วนใหญ่ใช้เลี้ยงสัตว์ บางส่วนเป็นต้นไม้ขนาดเล็ก
  7. พืชพรรณในเขตป่าไทกา พบอยู่ในเขตประเทศรัสเซียเกือบทั้งประเทศ ลักษณะอากาศที่หนาวเย็นทำให้พืชพรรณเป็น
ป่าสนเขตหนาวซึ่งถือเป็นเขตป่าไม้เนื้ออ่อนที่ปรากฏอยู่มากและสำคัญที่สุดของทวีปเอเชีย
  8. พืชพรรณในเขตทุนดรา พบอยู่ในเขตประเทศรัสเซียทางตอนเหนือ ลักษณะภูมิอากาศที่เย็นจัดทำให้พืชพรรณส่วนใหญ่เป็นพืชจำพวกมอสไลเคน หรือหญ้าที่ทนต่ออากาศเย็นจัดได้

เอเชีย : ทวีปที่มีแหล่งน้ำซึ่งมีต้นกำเนิดจากที่สูงตรงกลางไหลออกในทุกทิศทาง

            ความกว้างใหญ่ของทวีปเอเชียทำให้ปรากฏแหล่งน้ำตามธรรมชาติมากมายทั้งในรูปแบบของแม่น้ำซึ่งมีขนาดและความยาวแตกต่างกันในรูปแบบของทะเลสาบน้ำจืด ซึ่งก็คือหนองน้ำจืดตามธรรมชาติที่อยู่ในแผ่นดินไม่มีทางไหลออกสู่ทะเล โดยมีขนาดต่าง ๆ กันกระจายอยู่โดยทั่วไป ทำให้โดยภาพรวมของทวีปเอเชียมีทรัพยากรน้ำซึ่งในการอุปโภคบริโภคของประชากรเอเชียอย่างพอเพียง ยกเว้นบางบริเวณที่มีปัจจัยอื่นเข้ามาเกี่ยวข้อง
            แหล่งน้ำจืดที่สำคัญของทวีปเอเชียที่ปรากฏในรูปแบบของแม่น้ำสายยาวที่มีขนาดใหญ่ ปริมาณน้ำมาก และมีอิทธิพลต่อประชากรเอเชียในพื้นที่ต่าง ๆ นั้นถ้าพิจารณาโดยภาพรวมมักจะมีต้นน้ำอยู่ในเขตที่สูงตอนกลางแล้วไหลแยกย้ายกันออกไปในทุกทิศทาง จากแผนที่พิจารณาได้ดังนี้
  1. แม่น้ำที่ไหลขึ้นไปทางเหนือ ได้แก่ แม่น้ำเยนิเซ แม่น้ำออบ แม่น้ำลีนาม และสาขาของแม่น้ำทั้ง  3 สาย ต้นน้ำจะอยู่ในเขตเทือกเขาสูงและที่ราบสูงตรงกลางของทวีป แม่น้ำสายต่าง ๆ นอกจากจะไหลหล่อเลี้ยงให้พื้นที่ชุ่มชื้นแล้ว ยังช่วยนำเอาตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินแร่ธาตุที่ผุสลายจากหินและแร่ในพื้นที่เทือกเขาสูง และที่ราบสูงไปทับถมในที่ต่ำกว่าเป็นการช่วยปรับระดับพื้นที่ และทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์
  2. แม่น้ำที่ไหลไปในทางใต้ ได้แก่ แม่น้ำสินธุ แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร และสาขาของมน้ำทั้ง 3 สาย แม่น้ำสายใหญ่เหล่านี้มีต้นน้ำอยู่บริเวณหลังคาโลก ไหลหล่อเลี้ยงประชากรในเอเชียใต้ทำให้เป็นเขตเกษตรกรรมที่สำคัญ จึงมีประชากรอาศัยอยู่กันอย่างหนาแน่น
  3. แม่น้ำที่ไหลออกไปทางตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำฮวงเหอ แม่น้ำแยงซี แม่น้ำซีเกียง รวมทั้งแม่นำสายสั้นและสาขาอีกมากมาย ต้นน้ำอยู่ในเขตหลังคาโลก มีทิศทางการไหลไปทางตะวันออกทำให้บริเวณที่ราบจีนด้านตะวันออกมีความ
    อุดมสมบูรณ์เป็นเขตเกษตรกรรม แหล่งที่ตั้งถิ่นฐานของประชากรที่สำคัญ
  4. แม่น้ำที่ไหลออกไปทางตะวันตก ได้แก่ แม่น้ำอามูร์ แม่น้ำตายา รวมทั้งแม่น้ำไทกริส แม่น้ำยูเฟรทิสและสาขาย่อย ต้นน้ำอยู่ในเขตอาร์เมเนียนนอต แม่น้ำเหล่านี้เป็นตัวปรับระดับของพื้นที่ ช่วยหล่อเลี้ยงพื้นที่ให้ชุ่มชื้นทำให้สามารถทำการเกษตรได้
  5. แม่น้ำที่ไหลไปในทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ แม่น้ำอิระวดี แม่น้ำสาละวัน และแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำโขง และแม่น้ำแดง แม่น้ำเหล่านี้มีต้นน้ำอยู่ในเขตยูนนานนอต แม่น้ำปริมาณน้ำมาก หล่อเลี้ยงที่ราบให้อุดมสมบูรณ์ ทำให้เขตนี้เป็นแหล่งเกษตรกรรมที่สำคัญ

                                                แหล่งที่มา: http://www.theman.ob.tc/m.html
       แหล่งน้ำของทวีปเอเชียนอกจากเป็นแหล่งน้ำผิวดินที่ปรากฏในรูปของแม่น้ำ ทะเลสาบหรืออ่างเก็บน้ำที่มนุษย์สร้างขึ้นในลักษณะเขื่อนขนาดต่าง ๆ แล้งยังมีแหล่งน้ำใต้พื้นดิน ซึ่งมีทั้งน้ำใต้ดิน หรือน้ำบาดาล ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไป มีปริมาณแตกต่างกันไปในพื้นที่ต่าง ๆ
ตาราง แสดงแม่น้ำสำคัญของทวีปเอเชีย
ลำดับที่
ชื่อแม่น้ำ
ความยาว
(กิโลเมตร)
ต้นกำเนิด
ประเทศที่ไหลผ่าน
ไหลออกสู่
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
แม่น้ำสำคัญ
แยงซี
เยนิเซ
แองการา
ออน-เออร์ไทซ์
ฮวงเหอ
อามูร์
โขง
ลีนา
ออร์ติส
ออบ
สินธุ
พรหมบุตร
ยูเฟรทิส
โคลีมา
อารัล
คงคา
ซีเกียง
อิระวดี
ไทกริส
6,380
5,550
5,410
4,840
4,510
4,500
4,400
4,250
3,680
3,100
2,900
2,700
2,600
2,535
2,510
2,100
2,010
1,900
ที่ราบสูงทิเบต
เทือกเขาอัลไต
และเทือกเขาชายัน
เทือกเขาอัลไต
ที่ราบสูงทิเบต
เทือกเยาโบลโนวี
ที่ราบสูงทิเบต
เทือกเขาชายัน
เทือกเขาอัลไต
เทือกเขาอัลไต
เทือกเขาหิมาลัย
ที่ราบสูงทิเบต
อาร์เมเนียนนอต
เทือกเขาเอเวอร์
โคยันสก์
ปาร์มีนอต
เทือกเขาหิมาลัย
ยูนานนอต
ที่ราบสูงทิเบต
อาร์เมเนียนนอต
จีน
รัสเซีย
คาซัคสถาน รัสเซีย
จีน
มองโกเลีย รัสเซีย จีน
จีน พม่า ลาว ไทย กัมพูชา เวียดนาม
รัสเซีย
จีน คาซัคสถาน รัสเซีย
รัสเซีย
อินเดีย ปากีสถาน
จีน อินเดีย บังกลาเทศ
ตุรกี ซีเรีย อิรัก รัสเซีย
รัสเซีย คาซัคสถาน
จีน เนปาล อินเดีย บังกลาเทศ
จีน
จีน พม่า
ตุรกี อิรัก คูเวต
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรอาร์กติก
แม่น้ำออบ
มหาสมุทรอาร์กติก
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอาร์กติก
ทะเลแคสเปียน
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรแปซิฟิก
มหาสมุทรอินเดีย
มหาสมุทรอินเดีย

ประยุกต์จาก : CONCISE ATLAS OF THE WORLD, 1996. CONLINS
ตาราง แสดงทะเลสาบสำคัญของทวีปเอเชีย
ลำดับที่
ชื่อทะเลสาบ
ขนาดพื้นที่(ตารางกิโลเมตร)
ความลึกสูงสุด(เมตร)
ที่ตั้ง
1
2
3
4
5
ทะเลแคสเปียน
ทะเลอารัล
ทะเลสาบไบคาล
โตนเลสาบ
ทะเลสาบบอลคาช
37,1000
64,252
31,500
20,000
18,500
1,199
428
636
อาเซอร์ไบจาน รัสเซีย คาซัคสถาน เตร์กเมนิสถาน อิหร่าน
คาซัคสถาน อุชเบกิสถาน
รัสเซีย
กัมพูชา
คาซัคสถาน

ประยุกต์จาก : CONCISE ATLAS OF THE WORLD, 1996. CONLINS

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น