หน่วยการเรียนรู้ที่ 3
ทวีปเอเชีย
วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555
ลักษณะทวีปเอเชีย
ทวีปเอเชีย ในเรื่องของพื้นที่ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของผืนแผ่นดินทั้งโลก ความกว้างใหญ่ของพื้นที่ทำให้ปรากฏภูมิประเทศ ลักษณะธรณี ภูมิอากาศ ดิน และ พืชพรรณธรรมชาติทุกรูปแบบ ในเรื่องของประชากรถือว่ามีจำนวนมากที่สุด มีความหลากหลายของเผ่าพันธุ์และเชื้อชาติ นอกจากนี้การเป็นพื้นที่ที่มีประชากรตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนาน ทำให้เกิดอารยธรรมวัฒนธรรมที่เก่าแก่ หลากหลาย และแตกต่างกันไปตามลักษณะทางพื้นที่ในแต่ละบริเวณ
3.1 เทือกเขาสูง
ภูมิประเทศเทือกเขาสูงถือเป็นลักษณะเด่นที่ของทวีปเอเชียอีกประการหนึ่ง โดยเทือเขาสูงจะอยู่เกือบใจกลางของทวีป ทำหน้าที่เสมือนเป็นหลังคาโลกที่กล่าวว่าเป็นเสมือนหลังคาโลกเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางมากที่สุดของโลกประกอบกับเป็นจุดรวมของเทือกเขาสูงที่สำคัญ ๆ ของทวีปเอเชียที่วางตัวแยกย้ายออกไปในทุกทิศทางรวมทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ ที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทางเช่นกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของบ้านแล้วคล้ายกับหลังคาบ้านซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของบ้านและปันน้ำฝนให้ไหลไปยังทิศทางต่าง ๆ นั่นเอง เทือกเขาสูงที่สำคัญของทวีปเอเชีย พิจารณาตามทิศทางการวางตัวได้ดังนี้
แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/tunu04/304254
แผนที่แสดงทวีปต่างๆของโลก
แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/tunu04/304254
แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/tunu04/304254
ทวีปเอเชียมีขนาดพื้นที่ในส่วนที่เป็นแผ่นดินมากที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของโลกใหญ่กว่าทวีปแอฟริกาที่มีขนาดพื้นที่รองลงมาประมาณ 1.5 เท่า หรือใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดประมาณ 5.5 เท่า ความกว้างใหญ่ของผืนแผ่นดินทวีปเอเชีย ทำให้ปรากฏลักษณะต่าง ๆ ในเชิงภูมิศาสตร์มากมาย เช่น
- ทำให้ทวีปเอเชียมีเวลาท้องถิ่นต่างกันมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทวีปอื่น ๆ พิจารณาได้จากความกว้างของผืนแผ่นดินตามลองจิจูดมีความกว้างถึง 144 องศา ทำให้มีเวลาท้องถิ่นระหว่างบริเวณที่อยู่ตะวันตกสุดคือ แหลมบาบาในประเทศตุรกี กับบริเวณที่อยู่ตะวันออกสุดคือ แหลมอีสต์ ในประเทศรัสเซียห่างกันถึง 9 ชั่วโมง 30 นาที ขณะที่ผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปออสเตรเลียที่มีความกว้างตามลองจิจูด 40 องศา มีเวลาท้องถิ่นต่างกันจากบริเวณตะวันตกสุดถึงตะวันออกสุดเพียง 2 ชั่วโมง 36 นาที ซึ่งการคำนวณเรื่องของเวลาท้องถิ่นนั้น พิจารณาจากความกว้างของลองจิจูดทุก 15 องศา จะมีเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง เช่นประเทศไทยที่ใช้เวลามาตรฐานที่ลองจิจูด 105 องศาตะวันออก มีเวลาต่างกับเมืองกรีนิชในประเทศอังกฤษที่ใช้เวลามาตรฐานที่ลองจิจูด 0 องศา อยู่ 7 ชั่วโมง และประเทศไทยจะมีเวลาเร็วกว่าอีกด้วยเพราะอยู่ทางด้านตะวันออก เป็นต้น
นอกจากนี้ความกว้างใหญ่ของผืนแผ่นดินทวีปเอเชียยังทำให้มีลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะธรณีลักษณะดิน ภูมิอากาศ และพืชพรรณธรรมชาติที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันไปตามลักษณะของพื้นที่ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไปนี้
ทวีปแอฟริกาส่วนใต้ และทวีปอเมริกาใต้อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ทวีปเอเชียจะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเป็นต้น ซึ่งมีผลมาจากการโคจรของโลกไปรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่บนพื้นโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ที่แตกต่างกันนั่นคือ ในช่วงวันที่ 21 มิถุนายน ลำแสงของดวงอาทิตย์จะทำมุมตั้งฉากกับพื้นโลกที่ละติจูด 23 องศาเหนือ หรือทีเรียกว่าเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ส่งผลให้พื้นที่ในซีกโลกเหนือได้รับแสดงอาทิตย์ในลักษณะแสดงตรงปริมาณความเข้มมากและระยะทางใกล้กว่าพื้นที่ในซีกโลกใต้ ทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าจึงเป็นฤดูร้อน ขณะที่ซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในช่วงวันที่ 21 ธันวาคม ลำแสงของดวงอาทิตย์จะทำมุม
ตั้งฉากกับพื้นโลกที่ละติจูด 23 องศาใต้ หรือที่เรียกว่าเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น จึงทำให้ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อนแต่ในขณะที่ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวนั่นเอง
ตั้งฉากกับพื้นโลกที่ละติจูด 23 องศาใต้ หรือที่เรียกว่าเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น จึงทำให้ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อนแต่ในขณะที่ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวนั่นเอง
เอเชีย : ทวีปที่มีภูมิประเทศทุกรูปแบบ
ที่กล่าวว่าทวีปเอเชียมีภูมิประเทศทุกรูปแบบพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ แม้จะมีความแตกต่างกันไปตามบริเวณต่าง ๆ แต่โดยภาพรวมของทวีปแล้วมีภูมิประเทศทุกลักษณะมีจุดที่สูงที่สุดของโลกส่วนที่เป็นแผ่นดิน คือยอดเขาเอเวอเรสต์ในเขตเทือกเขาหิมาลัยมีจุดที่ลึกที่สุดของโลกส่วนที่เป็นมหาสมุทรคือ ร่องลึกบาดาลมาเรียนา ในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้กับชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์
ที่กล่าวว่าทวีปเอเชียมีภูมิประเทศทุกรูปแบบพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ แม้จะมีความแตกต่างกันไปตามบริเวณต่าง ๆ แต่โดยภาพรวมของทวีปแล้วมีภูมิประเทศทุกลักษณะมีจุดที่สูงที่สุดของโลกส่วนที่เป็นแผ่นดิน คือยอดเขาเอเวอเรสต์ในเขตเทือกเขาหิมาลัยมีจุดที่ลึกที่สุดของโลกส่วนที่เป็นมหาสมุทรคือ ร่องลึกบาดาลมาเรียนา ในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้กับชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์
ยอดเขาเอเวอเรสต์
แหล่งที่มา: http://www.wonder7th.com/wonder_natural/008mount_everest.htm
แหล่งที่มา: http://www.wonder7th.com/wonder_natural/008mount_everest.htm
3.1 เทือกเขาสูง
ภูมิประเทศเทือกเขาสูงถือเป็นลักษณะเด่นที่ของทวีปเอเชียอีกประการหนึ่ง โดยเทือเขาสูงจะอยู่เกือบใจกลางของทวีป ทำหน้าที่เสมือนเป็นหลังคาโลกที่กล่าวว่าเป็นเสมือนหลังคาโลกเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางมากที่สุดของโลกประกอบกับเป็นจุดรวมของเทือกเขาสูงที่สำคัญ ๆ ของทวีปเอเชียที่วางตัวแยกย้ายออกไปในทุกทิศทางรวมทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ ที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทางเช่นกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของบ้านแล้วคล้ายกับหลังคาบ้านซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของบ้านและปันน้ำฝนให้ไหลไปยังทิศทางต่าง ๆ นั่นเอง เทือกเขาสูงที่สำคัญของทวีปเอเชีย พิจารณาตามทิศทางการวางตัวได้ดังนี้
แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/tunu04/304254
เทือกเขาที่วางตัวแยกออกไปทางด้านตะวันตก ซึ่งมี 2 แนวย่อยคือ แนวที่แยกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ คือ มีเทือกเขาฮินดูกูช แนวที่แยกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ มีเทือกเขาสุไลมาน
เทือกเขาที่วางตัวแยกออกไปทางด้านตะวันออก มี 3 แนวย่อยคือ แนวเทือกเขาที่ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาเทียนซาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขายาโบลโนวี เทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโคลีมา ขณะที่แนวตะวันออกมีเทือกเขาคุนลุนซานเทือกเขาโคลีมา เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา รวมทั้งที่ต่อเนื่องลงไปเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย และมีแนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องลงมาทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากยูนนานนอต ผ่านพม่า ลาว ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะอินโดนีเซีย
เทือกเขาสูงต่าง ๆ ของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญ ๆ หลายสาย เช่น บริเวณหลังคาโลก เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายใหญ่หลายสายที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทาง ทางเหนือมีแม่น้ำออบ เยนิเซ ลีนา ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีแม่น้ำอามูร์ทางตะวันออกมีแม่น้ำฮวงเหอ แยงซี ทาวตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำโขง อิรวดี สาละวัน ทางใต้มีแม่น้ำสินธุ คงคา พรหมบุตร และทางตะวันตกมีแม่น้ำอามูร์ดาร์ยา เป็นต้น
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นแนวปะทะลม ทำให้เกิดเขตฝนชุกหรือเขตแห้งแล้ง ช่วยลดความรุนแรงจากพายุหมุน เช่น เทือกเขาหิมาลัยที่วางตัวขวางทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ด้านหน้าภูเขาบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย ซึ่งเป็นด้านรับลมเป็นบริเวณที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีสูงที่สุดในโลก คือมากกว่า 3,000 มิลลิเมตร ขณะที่ด้านหลังภูเขาลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นเขตแห้งแล้งหรือเทือกเขาอันนัมที่วางตัวขนานไปกับชายฝั่งเวียดนามช่วยเป็นแนวปะทะพายุใต้ฝุ่นที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกให้ได้รับความเสียหายน้อยลง เป็นต้น
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีพื้นที่ป่าไม้ประเภทต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ตามสันเขา ไหล่เขา หรือ หุบเขา เป็นพื้นที่ที่เข้าถึงยากและไม่เหมาะต่อการใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้หลงเหลือเป็นพื้นที่ป่าที่สำคัญของทวีปเอเชีย
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีแหล่งแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น แร่ดีบุกที่พบมากบริเวณคาบสมุทรมลายูมีการผลิตดีบุกมากตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือเขานครศรีธรรมราช ต่อเนื่องไปถึงเทือกเขาในประเทศมาเลเซีย หรือแม้แต่ธาตุอาหารในดินที่มีประโยชน์ต่อการปลูกพืชก็ได้รับจากพื้นที่เทือกเขาสูงเช่นกัน โดยการผุสลายและถูกพัดพามากับสายน้ำสะสมตัวในที่ต่ำทำให้การปลูกพืชได้ผลดี เป็นต้น
เทือกเขาที่วางตัวแยกออกไปทางด้านตะวันออก มี 3 แนวย่อยคือ แนวเทือกเขาที่ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาเทียนซาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขายาโบลโนวี เทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโคลีมา ขณะที่แนวตะวันออกมีเทือกเขาคุนลุนซานเทือกเขาโคลีมา เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา รวมทั้งที่ต่อเนื่องลงไปเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย และมีแนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องลงมาทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากยูนนานนอต ผ่านพม่า ลาว ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะอินโดนีเซีย
เทือกเขาสูงต่าง ๆ ของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญ ๆ หลายสาย เช่น บริเวณหลังคาโลก เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายใหญ่หลายสายที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทาง ทางเหนือมีแม่น้ำออบ เยนิเซ ลีนา ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีแม่น้ำอามูร์ทางตะวันออกมีแม่น้ำฮวงเหอ แยงซี ทาวตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำโขง อิรวดี สาละวัน ทางใต้มีแม่น้ำสินธุ คงคา พรหมบุตร และทางตะวันตกมีแม่น้ำอามูร์ดาร์ยา เป็นต้น
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นแนวปะทะลม ทำให้เกิดเขตฝนชุกหรือเขตแห้งแล้ง ช่วยลดความรุนแรงจากพายุหมุน เช่น เทือกเขาหิมาลัยที่วางตัวขวางทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ด้านหน้าภูเขาบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย ซึ่งเป็นด้านรับลมเป็นบริเวณที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีสูงที่สุดในโลก คือมากกว่า 3,000 มิลลิเมตร ขณะที่ด้านหลังภูเขาลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นเขตแห้งแล้งหรือเทือกเขาอันนัมที่วางตัวขนานไปกับชายฝั่งเวียดนามช่วยเป็นแนวปะทะพายุใต้ฝุ่นที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกให้ได้รับความเสียหายน้อยลง เป็นต้น
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีพื้นที่ป่าไม้ประเภทต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ตามสันเขา ไหล่เขา หรือ หุบเขา เป็นพื้นที่ที่เข้าถึงยากและไม่เหมาะต่อการใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้หลงเหลือเป็นพื้นที่ป่าที่สำคัญของทวีปเอเชีย
เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีแหล่งแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น แร่ดีบุกที่พบมากบริเวณคาบสมุทรมลายูมีการผลิตดีบุกมากตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือเขานครศรีธรรมราช ต่อเนื่องไปถึงเทือกเขาในประเทศมาเลเซีย หรือแม้แต่ธาตุอาหารในดินที่มีประโยชน์ต่อการปลูกพืชก็ได้รับจากพื้นที่เทือกเขาสูงเช่นกัน โดยการผุสลายและถูกพัดพามากับสายน้ำสะสมตัวในที่ต่ำทำให้การปลูกพืชได้ผลดี เป็นต้น
ที่ราบ
นอกจากนี้เทือกเขาสูงยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สำคัญของทวีปเอเชีย เช่น เทือกเขาที่มียอกเขาสูงมาก ๆ เทือกเขาเอเวอเรสต์ที่มีระดับสูงถึง 8,888 เมตร จะมีหิมะปกคลุมอยู่ตลอดปีเนื่องจากระดับความสูงเพิ่มขึ้นจะทำให้อุณหภูมิลดลงความแปลกแตกต่างจากเทือกเขาทั่วไปรวมทั้งระดับสูงที่สุด ทำให้นักปีนเขาที่ชอบความท้าทายมาเยือนเป็นจำนวนมาก ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมหนึ่งของการท่องเที่ยว เป็นต้น เทือกเขาสูงต่าง ๆ มักจะมีสัณฐานย่อยที่ใช้เป็นภูมิทัศน์เพื่อการท่องเที่ยว เช่น มีหน้าผาเป็นจุดชมวิว มีน้ำตก มีโตรกเขา มีพืชพรรณทีหาดูได้ยาก รวมทั้งมีอากาศเย็น เป็นต้น
ตารางแสดงยอดเขาสำคัญในทวีปเอเชีย
ลำดับที่ | ชื่อยอดเขา | ระดับสูง (เมตร) | ประเทศ |
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 | เอเวอเรสต์ กอดวิน กันสเชนจุงกา ลอตเช มาคาลู โชโอยู ตอลาคีรี มานาสลู นังกาปาร์บาตร อันนาปุรนา | 8,848 8,611 8,598 8,516 8,481 8,201 8,172 8,156 8,126 8,078 | จีน เนปาล จีน แคชเมียร์(อินเดีย) อินเดีย เนปาล จีน เนปาล จีน เนปาล จีน เนปาล เนปาล เนปาล แคชเมียร์ (อินเดีย) เนปาล |
ประยุกต์จาก : แผนที่กายภาพโลก, 2546.
3.2 ที่ราบสูง
ที่ราบสูง (Plateau) คือ พื้นที่ค่อนข้างอยู่สูงกว่าที่ต่ำโดยรอบ จากนิยามดังกล่าวที่ราบสูงจึงเป็นลักษณะของภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีขนาดพื้นที่และระดับสูง 180-300 เมตร เช่น แผ่นดินตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีระดับสูงส่วนใหญ่เพียง
150-250 เมตร และมีพื้นที่ 169,954 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เรียกที่ราบสูงโคราชเนื่องจากระดับความสูงไม่มากนักแยกออกจากที่ราบภาคกลางและที่ราบต่ำเขมรอย่างชัดเจน ขณะที่ที่สูงที่อยู่ระหว่างเทือกเขาหิมาลัยกับเทือกเขาคุลุนซาน ซึ่งมีระดับสูงเฉลี่ยถึง 4,500 เมตร และมีพื้นที่ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร ก็เรียกว่า ที่ราบสูงทิเบต เป็นต้น
ดังนั้นลักษณะภูมิประเทศที่ราบสูงของทวีปเอเชียจึงปรากฏกระจายอยู่โดยทั่วไป ซึ่งมีขนาดพื้นที่และระดับสูงแตกต่างกันไป ในที่นี้จะได้กล่าวถึงเฉพาะที่ราบสูงขนาดใหญ่ ได้แก่
ที่ราบสูง (Plateau) คือ พื้นที่ค่อนข้างอยู่สูงกว่าที่ต่ำโดยรอบ จากนิยามดังกล่าวที่ราบสูงจึงเป็นลักษณะของภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีขนาดพื้นที่และระดับสูง 180-300 เมตร เช่น แผ่นดินตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยที่มีระดับสูงส่วนใหญ่เพียง
150-250 เมตร และมีพื้นที่ 169,954 ตารางกิโลเมตรเท่านั้น เรียกที่ราบสูงโคราชเนื่องจากระดับความสูงไม่มากนักแยกออกจากที่ราบภาคกลางและที่ราบต่ำเขมรอย่างชัดเจน ขณะที่ที่สูงที่อยู่ระหว่างเทือกเขาหิมาลัยกับเทือกเขาคุลุนซาน ซึ่งมีระดับสูงเฉลี่ยถึง 4,500 เมตร และมีพื้นที่ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร ก็เรียกว่า ที่ราบสูงทิเบต เป็นต้น
ดังนั้นลักษณะภูมิประเทศที่ราบสูงของทวีปเอเชียจึงปรากฏกระจายอยู่โดยทั่วไป ซึ่งมีขนาดพื้นที่และระดับสูงแตกต่างกันไป ในที่นี้จะได้กล่าวถึงเฉพาะที่ราบสูงขนาดใหญ่ ได้แก่
เทือกเขาหิมาลัยแหล่งที่มา: http://www.snr.ac.th/wita/story/20views.htm
- ที่ราบสูงบริเวณตอนกลางของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงทิเบต ที่เป็นส่วนหนึ่งของหลังคาโลก ถือเป็นที่ราบสูงที่มีระดับสูงที่สุดของโลกและเอเชีย ที่ราบสูงยูนนาน บริเวณจีนตอนใต้ซึ่งเป็นจุดรวมของเทือกเขาในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
- ที่ราบสูงบริเวณตอนใต้และตะวันตกเฉียงใต้ของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงเดคคาน บริเวณคาบสมุทรอินเดีย ที่ราบสูงอิหร่าน บริเวณประเทศอิหร่านและอัฟกานิสถาน ที่ราบสูงอาหรับ บริเวณคาบสมุทรอาหรับ ที่ราบสูงอนาโตเลีย บริเวณประเทศตุรกี - ที่ราบสูงที่สุดในโลก ที่ราบสูงทิเบตเป็นที่ราบผืนใหญ่ที่อยู่ระหว่างเทือกเขาคุนลุนซานทางด้านเหนือกับเทือกเขาหิมาลัยทางด้านใต้มีพื้นที่ประมาณ 1.2 ล้านตารางกิโลเมตร และมีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง เฉลี่ย 4,500 เมตร นับว่าเป็นที่ราบสูงผืนใหญ่ที่สูงที่สุดในโลก ทางทิศตะวันตกขอที่ราบสูงทิเบตมีที่ราบสูงผืนใหญ่ แต่อยู่สูงที่สุดในโลกเรียก “หลังคาโลก” ซึ่งภาษาพื้นที่เมืองแถบนั้นเรียกว่า ปามีร์ดุนยา (Pamir Dunya) หรือ ปามีร์นอต (Pamir Knot) มีความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 8,611 เมตร พื้นที่บริเวณหลังคาโลกจะเป็นจุดรวมของเทือกเขาสูงที่สำคัญของทวีปเอเชีย
- ที่ราบสูงบริเวณตอนเหนือของทวีป ได้แก่ ที่ราบสูงไซบีเรียตอนกลาง บริเวณประเทศรัสเซียที่ราบสูงขนาดใหญ่ของทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะเป็นเขตฝนน้อย บางแห่งถึงกับเป็นทะเลทราย เช่น ที่ราบสูงอิหร่าน ที่ราบสูงอาหรับ ที่ราบสูงทิเบต เป็นต้น เนื่องจากอยู่ในเขตอับฝนหรือด้านหลังเขานั่นเอง
3.3 ที่ราบ
ที่ราบ เป็นลักษณะภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างระดับภายในพื้นที่น้อยมากจนดูเหมือนราบเรียบเป็นผืนเดียวต่อเนื่องกัน ทั้งที่ความจริงอาจจะมีความสูง-ต่ำแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยธรรมชาติที่ราบมักจะเป็นพื้นที่รับน้ำและตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินที่ผุสลายแล้วถูกพาเคลื่อนย้ายจากที่สูงกว่าทั้งภูเขาสูงหรือที่ราบสูงมาสะสมทับถมกัน ทำให้ที่ราบมีดินดี มีน้ำเพียงพอ ประกอบกับที่ราบมีการเข้าถึง การเดินทางเคลื่อนย้ายได้สะดวกจึงมักจะเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ที่ราบปรากฏอยู่บนแผ่นดินทวีปเอเชียจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่ง ซึ่งมีระดับสูงและมีขนาดของพื้นที่แตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่ราบที่สำคัญของทวีปเอเชีย ดังนี้
ที่ราบ เป็นลักษณะภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างระดับภายในพื้นที่น้อยมากจนดูเหมือนราบเรียบเป็นผืนเดียวต่อเนื่องกัน ทั้งที่ความจริงอาจจะมีความสูง-ต่ำแตกต่างกันอยู่บ้าง โดยธรรมชาติที่ราบมักจะเป็นพื้นที่รับน้ำและตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินที่ผุสลายแล้วถูกพาเคลื่อนย้ายจากที่สูงกว่าทั้งภูเขาสูงหรือที่ราบสูงมาสะสมทับถมกัน ทำให้ที่ราบมีดินดี มีน้ำเพียงพอ ประกอบกับที่ราบมีการเข้าถึง การเดินทางเคลื่อนย้ายได้สะดวกจึงมักจะเป็นถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากรมาตั้งแต่สมัยโบราณจนถึงปัจจุบัน ที่ราบปรากฏอยู่บนแผ่นดินทวีปเอเชียจำแนกออกได้เป็น 2 ลักษณะคือ ที่ราบลุ่มน้ำ และที่ราบชายฝั่ง ซึ่งมีระดับสูงและมีขนาดของพื้นที่แตกต่างกันไป ในที่นี้จะกล่าวถึงเฉพาะที่ราบที่สำคัญของทวีปเอเชีย ดังนี้
ที่ราบลุ่มภาคกลางของประเทศไทย
แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/phakawatkeetra/401242
1) ที่ราบตอนเหนือ คือ บริเวณที่ราบที่อยู่ถัดจากที่สูงตอนกลางขึ้นไปทางทิศเหนือเป็นที่ราบขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย เรียกว่า ที่ราบไซบีเรีย อยู่ในพื้นที่ของประเทศรัสเซียส่วนเอเชียมีน้ำสายใหญ่ 3 สาย ไหลผ่านกัดเซาะนำเอาตะกอนที่สูงมาสะสมในที่ตำคือ แม่น้ำออบ แม่น้ำเยนิเซ และแม่น้ำลีนา ที่ราบไซบีเรียแบ่งออกเป็น 2 บริเวณ โดยที่ราบสูงไซบีเรียตอนกลางเป็นแนวแบ่งเขต ได้แก่ ที่ราบไซบีเรียด้านตะวันตกและที่ราบไซบีเรียด้านตะวันออก ซึ่งที่ราบไซบีเรียด้านตะวันออกจะมีระดับสูงมากกว่า โดยภาพรวมที่ราบตอนเหนือจะมีประชากรอาศัยอยู่เบาบางมาก เนื่องจากอยู่ในละติจูดสูงทำให้มีอากาศหนาวเย็น ซึ่งอากาศที่หนาวเย็นนอกจากจะไม่เหมาะในการอยู่อาศัยแล้วยังทำให้การเพาะปลูกไม่ค่อยได้ผล
2) ที่ราบลุ่มแม่น้ำ เป็นบริเวณที่ราบที่ได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำสายใหญ่และสาขาในการปรับระดับพื้นที่ โดยการนำพาเอาตะกอนวัตถุต้นกำเนิดดินที่อุดมสมบูรณ์มาสะสมทับถม ทำให้ดินมีสภาพดี เมื่อมีดินดี มีน้ำบริบูรณ์ จึงเป็นเขตเพาะปลูกที่สำคัญที่สุดของทวีปเอเชีย บางแห่งอาจจะมีน้ำท่วมขังในช่วงฤดูน้ำหลากจึงเรียก ที่ราบลุ่มแม่น้ำ
ที่ราบลุ่มแม่น้ำของทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะปรากฏอยู่ทางด้านตะวันออก ด้านใต้ และด้านตะวันออกเฉียงใต้ ดังนี้
- ที่ราบลุ่มแม่น้ำฮวงเหอ ในประเทศจีน - ที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซีในประเทศจีน - ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุในประเทศปากีสถานและอินเดีย - ที่ราบลุ่มแม่น้ำคงคาในประเทศอินเดีย - ที่ราบลุ่มแม่น้ำพรหมบุตร ในประเทศบังกลาเทศ และอินเดีย - ที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรทีส หรือดินแดนเมโสโปเตเมีย ในประเทศอิรัก - ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่างในประเทศกัมพูชา และเวียดนาม - ที่ราบลุ่มแม่น้ำแดงในประเทศเวียดนาม - ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย - ที่ราบลุ่มแม่น้ำสาละวินในประเทศพม่า - ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวดีในประเทศพม่า |
3) เขตที่ราบชายฝั่งทะเล เป็นลักษณะภูมิประเทศรูปแบบหนึ่งที่มีความแตกต่างระดับภายในพื้นที่น้อยจนดูราบเรียบและติดชายฝั่งทะเล ทำให้ได้รับอิทธิพลจากการกระทำของทะเลจนเกิดเป็นสัณฐานย่อยประกอบชายฝั่ง เช่น สันทราย เนินทราย ชายหาด
หัวแหลม เป็นต้น ซึ่งที่ราบชายฝั่งที่ระดับน้ำทะเลมีการขึ้น-ลง ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ในบางช่วงเวลาเรียกว่า “ที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล” หรือ “ที่ราบลุ่มน้ำกร่อย” โดยปกติที่ราบชายฝั่งมักจะเป็นแนวเชื่อมต่อกันระหว่างน้ำจืดจากแผ่นดินกับน้ำเค็มในทะเล ทำให้เกิดลักษณะที่พิเศษบางอย่างของที่ราบแถบนี้ เช่น เกิดน้ำกร่อย ทำให้พืชพรรณต้องปรับตัวเฉพาะเพื่อให้อยู่รอด เป็นต้น ที่ราบชายฝั่งของทวีปเอเชียจะปรากฏอยู่ทั้งในมหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปเป็นชายฝั่งที่กว้างบ้างแคบบ้าง เว้า ๆ แหว่ง ๆ หรือราบเรียบ เป็นหาดทราย หาดโคลน หรือหาดเลนซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีในเรื่องของหินและแร่ที่อยู่เบื้องหลังชายฝั่งทำให้เกิดตะกอนทรายหรือดินเหนียว ชายฝั่งบางช่วงป่าชายเลนถูกทำลายด้วยการกระทำของมนุษย์ เช่น ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นนากุ้ง หรือเป็นท่าเรือขนส่งสินค้า เป็นต้น
3.4 ทะเลทราย
ทะเลทราย เป็นรูปแบบของภูมิประเทศชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติของอากาศแล้งจัด นั่นคือ มีไอน้ำหรือความชื้นในอากาศน้อยมาก และมีคุณสมบัติของดินแห้งจัด คือ มีน้ำในดินน้อยมาก และส่วนใหญ่ประกอบด้วยอานุภาคที่เป็นทราย ประกอบกับโดยทั่วไปมีปริมาณฝนต่อปีน้อยกว่า 250 มิลลิเมตร มักไม่ค่อยปรากฏทางน้ำหรือสายน้ำ จึงทำให้พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่ เป็นหญ้าทนแล้งที่มักจะมีหนามไม่มีใบ เพื่อลดการคายน้ำของปากใบ เป็นการปรับตัวของพืช เช่น กระบองเพชร เป็นต้น ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวจึงเรียกลักษณะภูมิประเทศรูปแบบนี้ว่า “ภูมิประเทศแห้งแล้งแบบทะเลทราย” ทะเลทรายที่ปรากฏในทวีปเอเชีย ได้แก่ ทะเลทรายบริเวณคาบสมุทรอาหรับ ทะเลทรายโกบี ทะเลทรายธาร์ รวมทั้งที่ราบสูงทิเบต และที่ราบสูงอิหร่าน
3.5 กลุ่มเกาะ
เกาะ (Island) คือ ผืนแผ่นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ ซึ่งถ้ามีเกาะอยู่รวมกันมาก ๆ ในบริเวณหรือย่านเดียวกันเรียกว่า “กลุ่มเกาะ” หรือ “หมู่เกาะ” เช่น กลุ่มเกาะอินโดนีเซีย คือ กลุ่มเกาะที่ประกอบด้วย เกาะใหญ่สุมาตรา ชวา บอร์เนียว เซลีเบส อิเรียนจายา และเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย เป็นต้น กลุ่มเกาะที่สำคัญของทวีปเอเชีย ได้แก่ กลุ่มเกาะอินโดนีเซีย กลุ่มเกาะฟิลิปปินส์ กลุ่มเกาะญี่ปุ่น กลุ่มเกาะย่านรัสเซีย กลุ่มเกาะอันดามันและกลุ่มเกาะมัลดีฟส์
หัวแหลม เป็นต้น ซึ่งที่ราบชายฝั่งที่ระดับน้ำทะเลมีการขึ้น-ลง ทำให้เกิดน้ำท่วมขัง ในบางช่วงเวลาเรียกว่า “ที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเล” หรือ “ที่ราบลุ่มน้ำกร่อย” โดยปกติที่ราบชายฝั่งมักจะเป็นแนวเชื่อมต่อกันระหว่างน้ำจืดจากแผ่นดินกับน้ำเค็มในทะเล ทำให้เกิดลักษณะที่พิเศษบางอย่างของที่ราบแถบนี้ เช่น เกิดน้ำกร่อย ทำให้พืชพรรณต้องปรับตัวเฉพาะเพื่อให้อยู่รอด เป็นต้น ที่ราบชายฝั่งของทวีปเอเชียจะปรากฏอยู่ทั้งในมหาสมุทรอินเดีย มหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอาร์กติก ซึ่งมีลักษณะแตกต่างกันไปเป็นชายฝั่งที่กว้างบ้างแคบบ้าง เว้า ๆ แหว่ง ๆ หรือราบเรียบ เป็นหาดทราย หาดโคลน หรือหาดเลนซึ่งขึ้นอยู่กับลักษณะทางธรณีในเรื่องของหินและแร่ที่อยู่เบื้องหลังชายฝั่งทำให้เกิดตะกอนทรายหรือดินเหนียว ชายฝั่งบางช่วงป่าชายเลนถูกทำลายด้วยการกระทำของมนุษย์ เช่น ถูกเปลี่ยนแปลงเป็นนากุ้ง หรือเป็นท่าเรือขนส่งสินค้า เป็นต้น
3.4 ทะเลทราย
ทะเลทราย เป็นรูปแบบของภูมิประเทศชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติของอากาศแล้งจัด นั่นคือ มีไอน้ำหรือความชื้นในอากาศน้อยมาก และมีคุณสมบัติของดินแห้งจัด คือ มีน้ำในดินน้อยมาก และส่วนใหญ่ประกอบด้วยอานุภาคที่เป็นทราย ประกอบกับโดยทั่วไปมีปริมาณฝนต่อปีน้อยกว่า 250 มิลลิเมตร มักไม่ค่อยปรากฏทางน้ำหรือสายน้ำ จึงทำให้พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่ เป็นหญ้าทนแล้งที่มักจะมีหนามไม่มีใบ เพื่อลดการคายน้ำของปากใบ เป็นการปรับตัวของพืช เช่น กระบองเพชร เป็นต้น ด้วยเงื่อนไขดังกล่าวจึงเรียกลักษณะภูมิประเทศรูปแบบนี้ว่า “ภูมิประเทศแห้งแล้งแบบทะเลทราย” ทะเลทรายที่ปรากฏในทวีปเอเชีย ได้แก่ ทะเลทรายบริเวณคาบสมุทรอาหรับ ทะเลทรายโกบี ทะเลทรายธาร์ รวมทั้งที่ราบสูงทิเบต และที่ราบสูงอิหร่าน
3.5 กลุ่มเกาะ
เกาะ (Island) คือ ผืนแผ่นดินที่ล้อมรอบด้วยน้ำ ซึ่งถ้ามีเกาะอยู่รวมกันมาก ๆ ในบริเวณหรือย่านเดียวกันเรียกว่า “กลุ่มเกาะ” หรือ “หมู่เกาะ” เช่น กลุ่มเกาะอินโดนีเซีย คือ กลุ่มเกาะที่ประกอบด้วย เกาะใหญ่สุมาตรา ชวา บอร์เนียว เซลีเบส อิเรียนจายา และเกาะเล็ก ๆ อีกมากมาย เป็นต้น กลุ่มเกาะที่สำคัญของทวีปเอเชีย ได้แก่ กลุ่มเกาะอินโดนีเซีย กลุ่มเกาะฟิลิปปินส์ กลุ่มเกาะญี่ปุ่น กลุ่มเกาะย่านรัสเซีย กลุ่มเกาะอันดามันและกลุ่มเกาะมัลดีฟส์
ตาราง แสดงชื่อและขนาดพื้นที่เกาะสำคัญในทวีปเอเชีย
ลำดับที่ | ชื่อเกาะ | ขนาดพื้นที่ (ตารางกิโลเมตร) | ระบุแหล่งที่มาของข้อมูล | ในมหาสมุทร |
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 | บอร์เนียว สุมาตรา ฮอนซู เซลีเบส ชวา ลูซอน มินดาเนา ฮอกไกโด แซคาลิน ศรีลังกา | 737,000 425,000 230,000 189,000 126,700 104,700 95,000 78,400 76,400 65,600 | อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ฟิลิปปินส์ ญี่ปุ่น รัสเซีย ศรีลังกา | แปซิฟิก อินเดีย แปซิฟิก แปซิฟิก อินเดีย แปซิฟิก แปซิฟิก แปซิฟิก แปซิฟิก อินเดีย |
ประยุกต์จาก : CONCISE ATLAS OF THE WORLD, 1996.
3.6 ทะเลและมหาสมุทร
อย่างที่ทราบกันว่าพื้นผิวของโลกประมาณ 3 ใน 4 นั้นเป็นพื้นน้ำและเกือบทั้งหมดเป็นพื้นน้ำทะเลทำให้เกิดปรากฏการณ์ตามธรรมชาติมากมาย เช่น ทำให้เกิดพายุหมุนที่รุนแรงพัดเข้าสู่แผ่นดินอันเป็นผลมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผืนดินกับพื้นน้ำ ทำให้ความกดอากาศต่างกันจึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของลมพายุ เอเชียเป็นทวีปที่ตั้งอยู่ระหว่าง 3 มหาสมุทร ได้แก่
มหาสมุทรอาร์กติกบริเวณขั้วโลกเหนือ มหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออกแยกเอเชียออกจากผืนแผ่นดินทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ และมหาสมุทรอินเดียทางใต้แยกเอเชียออกจากทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา ส่วนทะเลของเอเชียประกอบด้วยทะเลแดง ทะเลอาหรับ ทะเลอันดามัน ทะเลจีนใต้ ทะเลเซลีเบส ทะเลติมอร์ ทะเลบันดา ทะเลจีนตะวันออก ทะเลเหลือง
ทะเลญี่ปุ่น และทะเลโอคอตสก์
อย่างที่ทราบกันว่าพื้นผิวของโลกประมาณ 3 ใน 4 นั้นเป็นพื้นน้ำและเกือบทั้งหมดเป็นพื้นน้ำทะเลทำให้เกิดปรากฏการณ์ตามธรรมชาติมากมาย เช่น ทำให้เกิดพายุหมุนที่รุนแรงพัดเข้าสู่แผ่นดินอันเป็นผลมาจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างผืนดินกับพื้นน้ำ ทำให้ความกดอากาศต่างกันจึงทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของลมพายุ เอเชียเป็นทวีปที่ตั้งอยู่ระหว่าง 3 มหาสมุทร ได้แก่
มหาสมุทรอาร์กติกบริเวณขั้วโลกเหนือ มหาสมุทรแปซิฟิกทางด้านตะวันออกแยกเอเชียออกจากผืนแผ่นดินทวีปอเมริกาเหนือและอเมริกาใต้ และมหาสมุทรอินเดียทางใต้แยกเอเชียออกจากทวีปออสเตรเลียและทวีปแอนตาร์กติกา ส่วนทะเลของเอเชียประกอบด้วยทะเลแดง ทะเลอาหรับ ทะเลอันดามัน ทะเลจีนใต้ ทะเลเซลีเบส ทะเลติมอร์ ทะเลบันดา ทะเลจีนตะวันออก ทะเลเหลือง
ทะเลญี่ปุ่น และทะเลโอคอตสก์
ลักษณะภูมิอากาศ
แผนที่แสดงลักษณะธรณีวิทยาทวีปเอเซีย
แหล่งที่มา: http://hvarn-world.blogspot.com/2010/03/2.html
เอเชีย : ทวีปที่ปรากฏลักษณะทางธรณีทุกรูปแบบ
ขนาดพื้นที่ที่กว้างใหญ่ของทวีปเอเชียทำให้ปรากฏลักษณะทางธรณีที่หลากหลาย อาจกล่าวได้ว่าครบทุกรูปแบบนั่นคือปรากฏหินตั้งแต่หินเก่ายุคก่อนแคมเบรียนจนถึงหินใหม่ยุคเทอร์เชียริและตะกอนยุคควอเทอร์นารีมีโครงสร้างของเปลือกโลกที่สลับซับซ้อนเป็นเทือกเขาสูงชัน ปรากฏรอยเลื่อนรอยคดโค้งที่เกิดจาการดันและการอัดตัวของเปลือกโลกมากมายมีการยกตัวของแผ่นดินเป็นที่ราบสูงและการทรุดตัวเป็นแอ่งแผ่นดิน ขณะที่บางส่วนเป็นที่ราบ ที่ลุ่มเป็นเขตสะสมตัวของตะกอนยุคใหม่ ความซับซ้อนทางธรณีของแผ่นดินเอเชียทำให้มีภูมิประเทศหลายรูปแบบ มีทรัพยากรแร่ธาตุที่หลายหลายมากมาย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ และทำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่สวยงามมาก เช่น ภูเขาสูง ชายหาดต่าง ๆ เป็นต้น ลักษณะทางธรณีของทวีปเอเชียตามอายุทางธรณีพิจารณาจากแผนที่ได้ดังนี้
1) ธรณีหินเก่ายุคก่อนแคมเบรียน ปรากฏกระจายอยู่ในหลายพื้นที่ที่สำคัญ ได้แก่ บริเวณคาบสมุทรอินเดีย คาบสมุทร
อินโดจีน ด้านตะวันออกประเทศจีนตอนเหนือ ประเทศมองโกเลีย คาบสมุทรเกาหลี คาบสมุทรอาหรับด้านตะวันตก และประเทศรัสเซียด้านตะวันออกเฉียงใต้
2) ธรณีหินฐานมหายุคพาลีโอโซอิก (แคมเบรียน ออร์โดวิเชีย ไซลูเรียน ดีโวเนียน คาร์บอนิเฟอรัส และเพอร์เมียน) ปรากฏกระจายอยู่ในหลายบริเวณที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มเกาะของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กลุ่มเกาะประเทศญี่ปุ่น ประเทศจีนตอนกลางและด้านตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณจีนตอนเหนือติดต่อกับรัสเซียตอนใต้แถบเทือกเขาอัลไตและเทือกเขาเทียนซานและบริเวณแนวเทือกเขาอูราล
3) ธรณีหินฐานมหายุคมีโซโซอิก (ไทรแอสชิก จูแรสซิก และครีเทเชียส) ปรากฏอยู่ในเกาะบอร์เนียวด้านตะวันตก คาบสมุทรมลายู คาบสมุทรอินโดจีนตอนบน เป็นแนวแคบ ๆ ในตอนใต้มองโกเลีย รัสเซียตะวันออกเฉียงใต้ และรัสเซียตะวันออกเฉียงเหนือ
4) ธรณีหินฐานมหายุคซีโนโซอิก (เทอร์เชียรีและควอเทอร์นารี) ปรากฏแถบพม่าตะวันตก อินเดียตอนเหนือ อิหร่าน อิรัก ตุรกี และบริเวณคาบสมุทรคัมชัตกา
5) ธรณีหินตะกอนที่ปิดทับหินฐานมหายุคต่าง ๆ ปรากฏกระจายอยู่ทั่วไป บริเวณที่สำคัญได้แก่ บริเวณรัสเซียด้านตะวันออกและตอนกลาง บริเวณคาบสมุทรอาหรับ อินเดียตอนเหนือ ปากีสถาน คาบสมุทรอินโดจีนตอนล่าง เกาะบอร์เนียวตอนใต้ และเกาะนิวกินีตอนใต้
6) ธรณีหินภูเขาไฟมหายุคมีโซโซอิกถึงซีโนโซอิก ปรากฏอยู่ 3 บริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ บริเวณประเทศรัสเซียด้าน
ตะวันออกเฉียงเหนือ และชายฝั่งทะเลโอคอตสก์ บริเวณประเทศจีนแถบชายฝั่งทะเลตะวันออกและบริเวณประเทศอินเดียด้าน
ตะวันตกเฉียงเหนือ ลักษณะทางธรณีมีผลทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นดินภูเขาไฟ (อันดับดินแอนดิชอลส์) ที่มีความอุดมสมบูรณ์
สูงมาก
ทวีปเอเชีย : ทวีปที่ปรากฏภูมิอากาศหลายรูปแบบ
เอเชียเป็นทวีปที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่ที่สุด มีดินแดนตั้งแต่บริเวณเส้นศูนย์สูตรไปจนถึงบริเวณขั้วโลกเหนือ จึงทำให้ปรากฏลักษณะภูมิอากาศทุกรูปแบบแตกต่างกัน ความแตกต่างของลักษณะภูมิอากาศเอเชียมีตั้งแต่ร้อนแบบศูนย์สูตรถึงหนาวแบบขั้วโลกหรือฝนชุกแบบศูนย์สูตรจนถึงแห้งแล้งแบบทะเลทราย ซึ่งความแตกต่างของลักษณะภูมิอากาศขึ้นอยู่กับปัจจัย
ควบคุมภูมิอากาศ ดังนี้
- ตำแหน่งที่ตั้งและขนาด ทวีปเอเชียมีพื้นที่เกือบทั้งหมดอยู่ในซีกโลกเหนือ ตั้งแต่แถบศูนย์สูตร (ละติจูด 0 องศา) ไปจนถึงขั้วโลกเหนือจึงทำให้ปรากฏลักษณะภูมิอากาศทุกรูปแบบ การที่เป็นทวีปที่มีขนาดพื้นที่กว้างใหญ่มาก ซึ่งมีทั้งเส้นศูนย์สูตร (ละติจูด 0 องศา) เส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ (ละติจูด 23 องศาเหนือ) และเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล
(ละติจูด 66 องศาเหนือ) ลากผ่านที่ตั้งดังกล่าวทำให้ทวีปเอเชียปรากฏทั้งอากาศร้อน อบอุ่นและหนาว - ระยะใกล้-ไกลจากทะเล ของพื้นที่ต่าง ๆ ในทวีปเอเชียนั้นมีผลมาจากความกว้างใหญ่ของแผ่นดินเอเชียที่ต่อเนื่องกับยุโรป ซึ่งเรียกว่า “ยูเรเซีย” และเชื่อมต่อกับทวีปแอฟริกามีผลทำให้อิทธิพลจากทะเลเข้าไปถึงพื้นที่ภายในแผ่นดินได้น้อย จึงเกิดเขตแห้งแล้งเป็นบริเวณกว้าง โดยเฉพาะพื้นที่ตอนในและทำให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างฤดูกาลที่รุนแรง ซึ่งช่วงฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนจัด ขณะที่ช่วงฤดูหนาวอากาศจะหนาวจัด หรือแม้แต่ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนก็มีค่ามากด้วย ส่วนบริเวณชายฝั่งทะเลจะมีฝนตกชุก มีความแตกต่างของอุณหภูมิในรอบวันและระหว่างฤดูกาลไม่มากนัก
- ลักษณะภูมิประเทศ คือ พื้นที่อันกว้างใหญ่ของทวีปเอเชียมีความแตกต่างกันมากทำให้เกิดความแตกต่างของลักษณะ
ภูมิอากาศ เช่น ภูเขาสูงที่วางตัวขวางทิศทางลมประจำจะทำให้เกิดความแตกต่างของปริมาณน้ำฝนระหว่างเขตหน้าภูเขากับเขตหลังภูเขา หรือยอดเขาสูงกับที่ราบแม้จะอยู่ในละติจูดเดียวกันก็ตามอาจมีอุณหภูมิแตกต่างกันมาก เนื่องจากระดับความสูงเพิ่มขึ้น อุณหภูมิจะลดลงนั่นเอง - กระแสน้ำ กระแสน้ำจำแนกได้เป็น 2 ชนิด คือ กระแสน้ำอุ่น กับ กระแสน้ำเย็น ซึ่งกระแสน้ำอุ่นจะเคลื่อนที่จากเขตละติจูดต่ำใกล้ศูนย์สูตรไปสู่ละติจูดใกล้ขั้วโลก ทำให้ดินแดนที่กระแสน้ำอุ่นไหลผ่านมีอุณหภูมิสูงขึ้น ส่วนกระแสน้ำเย็นจะเคลื่อนตัวจากเขตละติจูดสูงใกล้ขั้วโลกไป สู่เขตละติจูดต่ำใกล้ศูนย์สูตร ทำให้ดินแดนที่กระแสน้ำเย็นไหลผ่านมีอุณหภูมิต่ำลง ซึ่งอิทธิพลของกระแสน้ำที่มีต่อลักษณะภูมิอากาศก็คือ ในเรื่องของอุณหภูมิและความชื้น ถ้าบริเวณที่กระแสน้ำอุ่นเคลื่อนที่ผ่านจะมีอุณหภูมิและความชื้นสูง ส่วนบริเวณที่มีกระแสน้ำเย็นเคลื่อนที่ผ่านจะมีอุณหภูมิต่ำลงและความชื้นต่ำลง เช่น กลุ่มเกาะประเทศญี่ปุ่นชายฝั่งตะวันตกจะมีกระแสน้ำเย็นโอยาชิโวเคลื่อนที่ผ่าน ส่วนชายฝั่งตะวันออกจะมีกระแสน้ำอุ่น
กุโรชิโวเคลื่อนที่ผ่าน ทำให้แถบชายฝั่งตะวันออกมีลักษณะอากาศอบอุ่นกว่าแม้จะอยู่ในละติจูดเดียวกันก็ตาม - ระบบลม ความแตกต่างระหว่างอุณหภูมิของ 2 บริเวณ ทำให้เกิดความแตกต่างของความกดอากาศ ความแตกต่างของความกดอากาศนี้เองทำให้เกิดลม เช่น ลมค้า ลมมรสุม เป็นต้น ในทวีปเอเชียระบบลมที่มีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศได้แก่
5.1 ลมประจำฤดูกาล ที่สำคัญและมีอิทธิพลต่อลักษณะภูมิอากาศเอเชีย คือ ลมมรสุม ที่เกิดจากความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างพื้นทวีปเอเชียกับพื้นน้ำของมหาสมุทรอินเดีย และมหาสมุทรแปซิฟิก ทำให้เกิดความแตกต่างของความกดอากาศซึ่งความแตกต่างระหว่างความกดอากาศ ของแผ่นดินเอเชียกับพื้นน้ำมหาสมุทร ทำให้เกิดความเคลื่อนที่ของลมซึ่งก็คือลมมรสุมนั่นเอง
5.2 พายุหมุน มักจะเกิดขึ้นในช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม โดยพายุหมุนที่มีความเร็วลมสูงสุดถ้าก่อตัวขึ้นในมหาสมุทรแปซิฟิก แล้วเคลื่อนที่ผ่านทะเลจีนใต้ เรียกว่า “พายุไต้ฝุ่น” แต่ถ้าก่อตัวในมหาสมุทรอินเดียแล้วเคลื่อนที่ผ่านอ่าวเบงกอล เรียกว่า “พายุไซโคลน”
จากปัจจัยควบคุมภูมิอากาศดังกล่าว ทำให้ทวีปเอเชียปรากฏลักษณะภูมิอากาศที่แตกต่างกันมากและมีทุกรูปแบบ จากแผนที่จำแนกออกเป็นเขตต่าง ๆ ดังนี้
- ภูมิอากาศเขตร้อน-ชื้นตลอดปี พบอยู่บริเวณแถบศูนย์สูตรประมาณละติจูด 10 องศาเหนือถึง 10 องศาใต้ โดยเฉพาะในเขตกลุ่มเกาะและคาบสมุทรของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในเขตประเทศติมอร์-เลสเต อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ บรูไน สิงคโปร์ มาเลเซีย ภาคใต้ ของไทย และตอนใต้ของพม่า นอกจากนี้ยังพบอยู่ในเขตเอเชียใต้เป็นบริเวณแคบ ๆ ของคาบสมุทรเดคคานด้านตะวันตกและเกาะศรีลังกาตอนใต้ มีอากาศร้อนและฝนตกชุกตลอดปี คือ อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส และปริมาณฝนมากกว่า 2,000 มิลลิเมตร ต่อปี ลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณเป็นป่าดิบชื้น
- ภูมิอากาศเขตร้อน-ชื้นสลับแล้ง พบอยู่บริเวณคาบสมุทรอินโดจีน และคาบสมุทรเดคคาน ประเทศอินเดีย มีอากาศร้อน มีช่วงฝนตกสลับกับช่วงแห้งแล้งในรอบปี อุณหภูมิเฉลี่ยรายเดือนสูงกว่า 18 องศาเซลเซียส และมีปริมาณฝนค่อนข้างสูงโดยเฉพาะในเขตหน้าภูเขาด้านรับลม และจะน้อยลงด้านหลังภูเขา ภูมิอากาศเขตนี้จะได้รับอิทธิพลของลมมรสุม ลักษณะภูมิอากาศทำให้ปรากฏพืชพรรณเป็นป่าผลัดใบประเภทต่าง ๆ ในเขตฝนมากและมีบางบริเวณเป็นแบบทุ่งหญ้าสะวันนาในเขตฝนน้อย
- ภูมิอากาศกึ่งทะเลทราย-ร้อนแห้งแล้งและอบอุ่นแห้งแล้ง ปรากฏอยู่ทั้งในเขตร้อนและเขตอบอุ่น เขตร้อน ได้แก่ บริเวณเขตอับฝนของคาบสมุทรเดคคานและคาบสมุทรอาหรับ เขตอบอุ่น ได้แก่ บริเวณที่ราบสูงอิหร่าน ตอนกลางของคาบสมุทรอนาโตเลียในประเทศตุรกี รัสเซียตอนใต้มองโกเลียบางส่วน และจีนด้านตะวันออก
เฉียงเหนือ ลักษณะภูมิอากาศจะมีความแตกต่างกันมากในระหว่างฤดูกาล ทำให้ปรากฏพืชพรรณธรรมชาติบางส่วนใหญ่เป็นทุ่งหญ้ากึ่งทะเลทราย หรือทุ่งหญ้าสเตปป์ส่วนใหญ่ใช้เป็นทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ถ้าพื้นที่ใดมีการชลประทานดีพอก็จะเป็นเขตเพาะปลูก - ภูมิอากาศเขตทะเลทราย-แห้งแล้งจัดตลอดปี ปรากฏอยู่ในเขตทะเลทรายทุกแห่ง ทั้งทะเลทรายเขตร้อนและเขตอบอุ่น ลักษณะภูมิอากาศของเขตทะเลทรายจะมีความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างกลางวันกับกลางคืนมากรวมทั้งอุณหภูมิระหว่างฤดูหนาวกับฤดูร้อนก็แตกต่างกันมากด้วย ทะเลทรายของทวีปเอเชียส่วนใหญ่ อยู่บริเวณตอนในของแผ่นดิน หรืออยู่ด้านหลังเทือกเขาสูง ทำให้ความชื้นจากมหาสมุทรเข้าไปไม่ถึงจึงมีปริมาณฝนน้อยกว่า 250 มิลลิเมตรต่อปี ลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่ เป็นทุ่งหญ้าสั้น ๆ ที่ทนต่อสภาพอากาศแล้ง และดินแห้งจัดได้ ขณะที่ตามโอเอซิส ซึ่งเป็นแอ่งน้ำในเขตทะเลทรายจะปรากฏพืชพรรณประเภท กระบองเพชร อินทผลัม และไม้พุ่มประเภทหนาม ซึ่งเปลี่ยนจากใบมาเป็นหนามเพื่อลดการสูญเสียน้ำจากปากใบเป็นการปรับตัวตามธรรมชาติของพืช
- ภูมิอากาศเขตกึ่งร้อน-ฝนชุก ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูร้อนอบอุ่นถึงร้อน อยู่บริเวณกลุ่มเกาะประเทศญี่ปุ่นตอนใต้ คาบสมุทรเกาหลีในเขตประเทศเกาหลีใต้ ประเทศจีนด้านตะวันออกและด้านใต้ ประเทศเวียดนามตอนเหนือและปากีสถานด้านตะวันออกเฉียงเหนือเป็นบริเวณที่อยู่ในเขตละติจูดประมาณ20-30 องศาเหนือ ทำให้จัดอยู่ในเขตกึ่งร้อน บริเวณนี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทำให้มีฝนตกชุกในฤดูร้อนส่วนในฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด ลักษณะภูมิอากาศทำให้ปรากฏพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าเขตอบอุ่นประเภทป่าผลัดใบและบางส่วนเป็นทุ่งหญ้า
- ภูมิอากาศแบบเมดิเตอร์เรเนียนค่อนข้างชื้นในฤดูหนาว แล้งและอบอุ่นถึงร้อนในฤดูร้อน อยู่บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถบชายฝั่งของประเทศตุรกี เกาะไซปรัส ประเทศเลบานอน ซีเรีย อิสราแอล และอิรักตอนเหนือ ลักษณะภูมิอากาศในช่วงฤดูร้อนอากาศจะร้อนและแล้ง ดินแห้ง ขณะที่ในช่วงฤดูหนาวจะมีฝนตกชุก เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมตะวันตกที่พัดผ่าน ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนซึ่งนำเอาความชื้นมาตกเป็นฝน ลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณธรรมชาติเป็นพุ่มไม้เตี้ย แทรกสลับด้วยไม้ต้นเตี้ยต่าง ๆ ขณะที่พืชเศรษฐกิจแถบนี้ ได้แก่ องุ่น ส้ม และมะละกอ
- ภูมิอากาศแบบอบอุ่น-ฝนตกมากไม่หนาวจัดในฤดูหนาวและอบอุ่นในฤดูร้อน มีอยู่ 2 บริเวณ ได้แก่ เทือกเขาสูงตอนกลางของเกาะบอร์เนียวและเทือกเขาสูงตอนกลางของเกาะนิวกินี ด้านตะวันตกเขตประเทศอินโดนีเซีย และบริเวณแคบ ๆ ด้านตะวันตกของเมืองอิสตันบูล ประเทศตุรกี ลักษณะอากาศจะมีฝนตกมาก เนื่องจากอยู่ในเขตฝนตกชุกโดยบริเวณกลุ่มเกาะของอินโดนีเซียอยู่ในเขตศูนย์สูตรขณะที่บริเวณอิสตันบูลอยู่ในเขตชายฝั่ง ฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัด ขณะที่ในฤดูร้อนอากาศจะอบอุ่นพืชพรรณธรรมชาติแถบกลุ่มเกาะอินโดนีเซียเป็นป่าไม้เขตร้อน ขณะที่แถบอิสตันบูล เป็นแบบไม้พุ่มเตี้ยและไม้ต้นเตี้ย
- ภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป-ฝนตกมากในฤดูหนาว หนาวเย็นในฤดูหนาว อยู่ในบริเวณเกาะฮอนชูตอนเหนือ ในประเทศญี่ปุ่นคาบสมุทรเกาหลีตอนบน ประเทศจีนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ และแนวแคบ ๆ ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของปาร์มีนอต ลักษณะภูมิอากาศมีฝนตกมากเนื่องจากเป็นเขตรับลมของภูเขาสูงในช่วงฤดูร้อนมีอากาศอบอุ่นเนื่องจากอยู่ในเขตละติจูดกลาง ขณะที่ฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัด ลักษณะภูมิอากาศทำให้ปรากฏพืชพรรณธรรมชาติเป็นป่าผลัดใบเขตอบอุ่น
- ภูมิอากาศแบบภาคพื้นทวีป-ฝนตกมากเย็นในฤดูร้อน หนาวเย็นในฤดูหนาว ปรากฏบริเวณเกาะฮอกไกโด ประเทศญี่ปุ่น เกาะแซคาลินตอนใต้ประเทศรัสเซีย บริเวณเขตติดต่อจีนด้านตะวันออกเฉียงเหนือกับรัสเซียด้านตะวันออกเฉียงใต้ และบริเวณรัสเซียด้านตะวันตกเฉียงใต้ ถัดจากเขตกึ่งแห้งแล้งขึ้นมาทางเหนือ ลักษณะภูมิอากาศมีฝนตกมาก เนื่องจากได้รับความชื้นจากระบบลมประจำของโลกที่พัดผ่านทะเลนำเอาฝนมาตก ในฤดูร้อนมีอากาศเย็นเนื่องจากอยู่ในละติจูดสูง ขณะที่ในฤดูหนาวอากาศหนาวเย็นลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าผลัดใบเขตอบอุ่น และทุ่งหญ้าเขตอบอุ่น
- ภูมิอากาศแบบกึ่งขั้วโลก-ฝนตกมาก ฤดูร้อนสั้น และหนาวจัดในฤดูหนาว ปรากฏอยู่ในเขตประเทศรัสเซียแถบตอนใต้ และตอนเหนือของเส้นอาร์กติกเซอร์เคิล (ละติจูด 66 องศา 30 ลิปดาเหนือ) ลักษณะภูมิอากาศมีฝนมาก เนื่องจากได้รับความชื้นจากระบบลมประจำโลกที่พัดเอาความชื้นจากทะเลมาตกเป็นฝน ในฤดูหนาวมีอากาศหนาวจัดและยาวนานฤดูร้อนมีช่วงเวลาสั้น ๆ บางครั้งมีน้ำค้างแข็งและหิมะตก ลักษณะภูมิอากาศทำให้พืชพรรณธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นป่าสน ซึ่งภาษารัสเซียเรียกว่า ไทกา (taiga) บางครั้งจึงเรียก “ภูมิอากาศแบบไทกา” ตามชื่อของป่าสน
- ภูมิอากาศแบบขั้วโลก-อากาศหนาวจัด ปรากฏอยู่ในเขตประเทศรัสเซียตอนเหนือกลุ่มเกาะในมหาสมุทรอาร์กติก ไปจนตลอดขั้วโลกเหนือและบริเวณหลังคาโลก ลักษณะภูมิอากาศมีอากาศหนาวจัดยาวนานมากมีหิมะปกคลุมตลอดปีทำให้ปรากฏพืชพรรณธรรมชาติเป็นมอสไลเคน ตะไคร่น้ำ ซึ่งเป็นทุ่งหญ้าเขตหนาวเรียกว่า
ทุนดรา (tundra) บางครั้งจึงเรียกภูมิอากาศเขตนี้ว่า “ภูมิอากาศแบบทุนดรา”
ลักษณะดิน
เอเชีย : ทวีปที่มีความหลากหลายของลักษณะทางดิน
ดินเป็นเทหวัตถุที่ปกคลุมพื้นผิวโลกในส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ใช้ประโยชน์จากดินทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ใช้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัย ประกอบอาชีพ แหล่งอาหาร เป็นต้น ดินในแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะทางดินแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ วัตถุต้นกำเนิด ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ และเวลา ซึ่งเรียกว่า “ปัจจัยควบคุมดิน” มีการใช้ดินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็นที่อยู่อาศัยเขตเพาะปลูกพืช เขตเลี้ยงสัตว์ ที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น เรียกว่า ระบบวัฒนธรรม
ดินในทวีปเอเชียจำแนกเป็นอันดับดินได้ดังนี้
ดินเป็นเทหวัตถุที่ปกคลุมพื้นผิวโลกในส่วนที่เป็นแผ่นดินซึ่งเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มนุษย์ใช้ประโยชน์จากดินทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ใช้เป็นถิ่นที่อยู่อาศัย ประกอบอาชีพ แหล่งอาหาร เป็นต้น ดินในแต่ละพื้นที่จะมีลักษณะทางดินแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับ วัตถุต้นกำเนิด ภูมิประเทศ ภูมิอากาศ พืชพรรณธรรมชาติ และเวลา ซึ่งเรียกว่า “ปัจจัยควบคุมดิน” มีการใช้ดินในรูปแบบต่าง ๆ เช่น เป็นที่อยู่อาศัยเขตเพาะปลูกพืช เขตเลี้ยงสัตว์ ที่ตั้งโรงงานอุตสาหกรรม เป็นต้น เรียกว่า ระบบวัฒนธรรม
ดินในทวีปเอเชียจำแนกเป็นอันดับดินได้ดังนี้
1. อันดับดินเอนทิซอลส์ (Entisols) เป็นดินที่ยังไม่ปรากฏลักษณะทางดินมากนัก โดยทั่วไปเรียกว่า “ดินใหม่” คือ ดินที่มีพัฒนาการทางดินน้อยพบได้ในทุกสภาพภูมิอากาศ ในทวีปเอเชียปรากฏเป็นบริเวณกว้าง 3 บริเวณ คือ
1.1) บริเวณคาบสมุทรอาหรับ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีปริมาณฝนน้อยและพืชพรรณธรรมชาติเป็นกึ่งทะเลทราย จึงทำให้มีพัฒนาการทางดินน้อย สภาพไม่ค่อยเหมาะสมกับการเพาะปลูกพืช
1.2) บริเวณด้านตะวันของทะเลสาบแคสเปียน เป็นเขตถึงทะเลทรายเช่นเดียวกับบริเวณคาบสมุทรอาหรับ
1.3) บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันออกของจีน เป็นเขตที่เกิดน้ำท่วมบ่อย ๆ ในช่วงฤดูน้ำหลากจึงทำให้พัฒนาการทางดินขาดความต่อเนื่องไม่สามารถพัฒนาเป็นดินอันดับอื่นได้ โดยธรรมชาติดินบริเวณน้ำท่วมถึงจะมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างมาก แต่ไม่ค่อยเหมาะกับการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจมากนักเนื่องจากมักจะถูกน้ำท่วมในช่วงน้ำหลากทำให้พืชที่ปลูกเสียหายมาก
1.4) บริเวณ 2 ฝั่งลำน้ำสายใหญ่ทั่ว ๆ ไป ที่วัตถุต้นกำเนิดมักถูกพัดพาเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ ๆ จึงไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นดินอันดับอื่น
1.2) บริเวณด้านตะวันของทะเลสาบแคสเปียน เป็นเขตถึงทะเลทรายเช่นเดียวกับบริเวณคาบสมุทรอาหรับ
1.3) บริเวณที่ราบชายฝั่งตะวันออกของจีน เป็นเขตที่เกิดน้ำท่วมบ่อย ๆ ในช่วงฤดูน้ำหลากจึงทำให้พัฒนาการทางดินขาดความต่อเนื่องไม่สามารถพัฒนาเป็นดินอันดับอื่นได้ โดยธรรมชาติดินบริเวณน้ำท่วมถึงจะมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างมาก แต่ไม่ค่อยเหมาะกับการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจมากนักเนื่องจากมักจะถูกน้ำท่วมในช่วงน้ำหลากทำให้พืชที่ปลูกเสียหายมาก
1.4) บริเวณ 2 ฝั่งลำน้ำสายใหญ่ทั่ว ๆ ไป ที่วัตถุต้นกำเนิดมักถูกพัดพาเคลื่อนย้ายอยู่เสมอ ๆ จึงไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาเป็นดินอันดับอื่น
2. อันดับดินเซปทิซอลส์ (Inceptisols) เป็นดินที่เริ่มมีลักษณะทางดิน คือชั้นดินบนมีสำคล้ำและเริ่มมีการพัฒนาชั้นดินล่างเป็นจุดประสีต่าง ๆ ปรากฏในทุกสภาพภูมิอากาศในภูมิภาคเอเชียส่วนใหญ่ปรากฏอยู่ในราบใช้ในการปลูกข้าวจึงอาจเรียกว่า “ดินนา” ที่สำคัญได้แก่ ที่ราบตอนเหนือของอ่าวเปอร์เซีย ที่ราบชายฝั่งตอนในด้านตะวันตกของคาบสมุทรอินเดีย ที่ราบลุ่มน้ำ
ยมุนา คงคา และพรหมบุตร ที่ราบภาคกลางของประเทศไทยที่ราบลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ในเขตประเทศเวียดนามกัมพูชา ที่ราบด้านตะวันออกของเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซีย
ยมุนา คงคา และพรหมบุตร ที่ราบภาคกลางของประเทศไทยที่ราบลุ่มน้ำโขงตอนล่าง ในเขตประเทศเวียดนามกัมพูชา ที่ราบด้านตะวันออกของเกาะสุมาตราประเทศอินโดนีเซีย
3. อันดับดินแอลฟิซอลส์ (Alfisols) เป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูงโดยธรรมชาติโดยเฉพาะธาตุอาหารที่เป็นด่างจะมีอยู่มากมีชั้นดินล่างเป็นชั้นดานต่าง ๆ ส่วนใหญ่จะปรากฏมากในเขตอบอุ่น เนื่องจากมีฝนไม่ค่อยชุก การชะล้างจึงน้อยทำให้ธาตุอาหารที่เป็นต่างเหลือ อยู่ในชั้นดินค่อนข้างมาก ในทวีปเอเชียปรากฏอยู่กว้างขวางในเขตที่ราบไซบีเรียตอนใต้ จีนด้านตะวันออกเฉียงเหนือ อินเดียแถบตะวันออกและเกาะศรีลังกา และคาบสมุทรอินโดจีนในเขตประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนามส่วนใหญ่ใช้ในการปลูกพืชไร่ชนิดต่าง ๆ เช่น ข้าวโพด พืชตระกูลถั่ว เป็นต้น
4. อันดิบดินอัลทิซอลส์ (Ultisols) เป็นดินที่มีลักษณะทางดินคล้ายกับดินอับดับแอลฟิซอลส์แต่ต่างกันที่ดินอัลทีซอลส์จะมีธาตุอาหารที่เป็นด่างอยู่ในชั้นดินน้อยกว่า จึงทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์น้อยกว่า ในทวีปเอเชียส่วนใหญ่จะปรากฏในละติจูดต่ำตั้งแต่ศูนย์สูตรถึงละติจูดประมาณ 30 องศาเหนือและส่วนใหญ่มีภูมิประเทศเป็นที่ดอนระดับสูงเนื่องจากแถบศูนย์สูตรมีฝนตกชุก และภูมิประเทศที่ดอนสูง มีการชะล้างรุนแรง ดังนั้น ธาตุที่เป็นด่างจึงเหลืออยู่น้อยนั่นเอง ได้แก่ พื้นที่ประเทศจีนด้านตะวันออกเฉียงใต้ อินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือและพื้นที่ส่วนใหญ่ของคาบสมุทรอินโดจีนและกลุ่มเกาะอินโดนีเซีย
เกาะชวาประเทศอินโดนีเซีย แหล่งที่มา: http://www.goodfoodgoodlife.in.th/time-for-myself-detail.aspx?tid=58 |
5. อันดับดินสปอโตซอลส์ (Spodosols) เป็นดินที่มีชั้นดินล่างเป็นซากอินทรีย์กับออกไซด์ของเหล็ก ชั้นดินบนส่วนใหญ่เป็นดินทรายที่มีสีจาง ปรากฏในหลายสภาพภูมิอากาศ ส่วนใหญ่อยู่ในเขตที่ราบสูงและที่ราบชายฝั่ง ในทวีปเอเชียปรากฏเป็นบริเวณกว้างในที่ราบไซบีเรียด้านตะวันตกของรัสเซีย เป็นดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์มากนักจึงไม่ค่อยเอื้อต่อการเพาะปลุกพืชเท่าที่ควร
6. อันดับดินมอลลิซอลส์ (Mollsols) เป็นดินที่มีชั้นดินบนสีดำ ร่วนซุย มีธาตุอาหารที่เป็นด่างสูงมากจึงเหมาะกับการเกษตรกรรม ปรากฏในหลายสภาพภูมิอากาศ หลายสภาพภูมิประเทศแต่ส่วนใหญ่จะสัมพันธ์กับพื้นที่ทุ่งหญ้าเนื่องจากเมื่อตายลงจะให้อินทรียวัตถุแก่ดิน ในทวีปเอเชียปรากฏเป็นบริเวณกว้างในบริเวณทุ่งหญ้าเขตอบอุ่นทางตอนใต้ของรัสเซีย
7. อันดับดินเวอร์ทิซอลส์ (Vertisols) เป็นดินที่มีคุณสมบัติเหนียวจัดเมื่อยู่ในสภาพเปียกชื้น จนแข็งมากและแตกระแหงเมื่ออยู่ในสภาพดินแห้งจึงไม่ค่อยเหมาะกับการเพาะปลุกเท่าที่ควรแม้จะเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างมากก็ตามในทวีปเอเชียปรากฏดินประเภทนี้อยู่ 2 บริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ พื้นที่ของประเทศอินเดียด้านตะวันตกเฉียงเหนือ และพื้นที่เกาะชวาทางด้านตะวันออกของประเทศอินโดนีเซีย ทั้ง 2 บริเวณเป็นเขตภูเขาไฟเดิมซึ่งมีหินภูเขาไฟที่เมื่อสลายตัวแล้วจะให้แร่ดินเหนียวที่เป็นวัตถุต้นกำเนิดของอันดับดินเวอร์ทิซอลส์นั่นเอง
8. อันดับดินฮิสโทซอลส์ (Histosols) เป็นดินที่มีซากอินทรียวัตถุในชั้นดินบนเป็นบริเวณสูงมาก โดยมักจะอยู่ในสภาพแช่แข็งทำให้ซากอินทรียวัตถุไม่ผุสลาย อาจเรียกว่า “ดินอินทรีย์” ส่วนใหญ่ปรากฏดินประเภทนี้อยู่มากในพื้นที่ของป่าพรุ จึงเรียกว่า “ดินพรุ” เป็นดินที่มีสภาพเป็นกรดไม่เหมาะกับการเพาะปลูกมากนักจึงควรปล่อยให้เป็นพื้นที่ป่าตามธรรมชาติ ในทวีปเอเชียปรากฏดินประเภทนี้อยู่เป็นหย่อมแคบ ๆ เช่น ในภาคใต้ของประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย เป็นต้น
9. อันดับดินออกซิซอลส์ (Oxisols) เป็นดินที่มีการสะสมเหล็กและอะลูมิเนียมออกไซด์ปริมาณสูงในชั้นดินล่าง ดินประเภทนี้ส่วนใหญ่มีสีแดงการเกิดดินประเภทนี้ขึ้นอยู่กับวัตถุต้นกำเนิดซึ่งเป็นหินและแร่ที่เมื่อสลายตัวแล้วให้ธาตุเหล็กและอะลูมิเนียม มีปริมาณน้ำฝนทีสูงมากพอจะชะล้างธาตุที่เป็นด่างออกไปจนเหลือแต่เหล็กและอะลูมิเนียมและขึ้นอยู่กับเวลาในการพัฒนาการทางดินจะต้องนานพอ โดยธรรมชาติเป็นดินไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์มากนัก ในทวีปเอเชียปรากฏดินประเภทนี้กระจายอยู่เป็นหย่อมแคบ ๆ ในเขตฝนชุก
10. ดินในเขตเทือกเขา (Stops Complex) เป็นดินในเขตภูมิประเทศเทือกเขา ทิวเขา และภูเขาสูงทีมีความลาดชันสูง มีความซับซ้อนทางธรณีมาก ซึ่งโดยธรรมชาติเป็นดินในเขตที่มีอันดับดินหลาย ๆ อันดับปะปนกันอยู่ ซึ่งยังไม่ได้มีการจำแนก ในทวีปเอเชีย ปรากฏดินประเภทนี้ในพื้นที่เทือกเขาและทิวเขาสูงทั่ว ๆ ไป
นอกจากนี้ดินใน 9 อันดับที่กล่าวถึงค่อนข้างละเอียด เนื่องจากเป็นอันดับดินที่มีในประเทศไทย ทวีปเอเชียยังมีอันดับดิน
แอริติซอลส์ (Aridisols) ที่เป็นดินในเขตแห้งแล้งมีลักษณะเป็นดินตื้น สีจาง พืชพรรณที่ปกคลุมมีน้อย ธาตุอาหารต่ำไม่เหมาะต่อการใช้ปลูกพืช ในทวีปเอเชียพบกระจายอยู่ในเขตทะเลทรายทุกแห่งและในเขตกึ่งทะเลทรายบางแห่ง อันดับดิน เจลลิซอลส์ (Gelisols) เป็นดินในเขตหนาวเย็นจัด ลักษณะดินเป็นอินทรียวัตถุปนกับน้ำแข็ง ไม่เหมาะสมในการใช้ทำการเกษตร ในทวีปเอเชียพบกระจายเป็นบริเวณกว้างทางตอนเหนือของรัสเซีย และอันดับดิน แอนดิซอลส์ (Andisols) ที่เป็นดินในเขตภูเขาไฟ มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ ในทวีปเอเชียพบดินอันดับนี้กระจายหนาแน่นตามแนวเขตภูเขาไฟที่เรียกว่า “Pacific Ring of Fire” เช่น บริเวณกลุ่มเกาะญี่ปุ่น กลุ่มเกาะอินโดนีเซีย เป็นต้น
แอริติซอลส์ (Aridisols) ที่เป็นดินในเขตแห้งแล้งมีลักษณะเป็นดินตื้น สีจาง พืชพรรณที่ปกคลุมมีน้อย ธาตุอาหารต่ำไม่เหมาะต่อการใช้ปลูกพืช ในทวีปเอเชียพบกระจายอยู่ในเขตทะเลทรายทุกแห่งและในเขตกึ่งทะเลทรายบางแห่ง อันดับดิน เจลลิซอลส์ (Gelisols) เป็นดินในเขตหนาวเย็นจัด ลักษณะดินเป็นอินทรียวัตถุปนกับน้ำแข็ง ไม่เหมาะสมในการใช้ทำการเกษตร ในทวีปเอเชียพบกระจายเป็นบริเวณกว้างทางตอนเหนือของรัสเซีย และอันดับดิน แอนดิซอลส์ (Andisols) ที่เป็นดินในเขตภูเขาไฟ มีความอุดมสมบูรณ์สูงมาก เหมาะสมกับการเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจต่าง ๆ ในทวีปเอเชียพบดินอันดับนี้กระจายหนาแน่นตามแนวเขตภูเขาไฟที่เรียกว่า “Pacific Ring of Fire” เช่น บริเวณกลุ่มเกาะญี่ปุ่น กลุ่มเกาะอินโดนีเซีย เป็นต้น
เทือกเขาอินโดนีเซีย
แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/sawarin4/192140
พืชพรรรณธรรมชาติ
ประชากร
เอเชีย : ทวีปที่มีความหลายหลายและอุดมด้วยทรัพยากรธรรมชาติ
ความกว้างใหญ่ของทวีปเอเชียทำให้ปรากฏลักษณะทางธรณีที่หลากหลายซึ่งมีอายุทางธรณีที่แตกต่างกันจึงทำให้มีชนิดหินและแร่มากมาย ซึ่งในบรรดาแร่ธาตุที่มีอยู่มากในทวีปเอเชียนั้น ที่มีอยู่เป็นปริมาณมากและเป็นแร่เศรษฐกิจ จากแผนที่จำแนกเป็นกลุ่มแร่ได้ดังนี้
ความกว้างใหญ่ของทวีปเอเชียทำให้ปรากฏลักษณะทางธรณีที่หลากหลายซึ่งมีอายุทางธรณีที่แตกต่างกันจึงทำให้มีชนิดหินและแร่มากมาย ซึ่งในบรรดาแร่ธาตุที่มีอยู่มากในทวีปเอเชียนั้น ที่มีอยู่เป็นปริมาณมากและเป็นแร่เศรษฐกิจ จากแผนที่จำแนกเป็นกลุ่มแร่ได้ดังนี้
- 1. กลุ่มแร่เชื้อเพลิงและพลังงาน ประกอบด้วยถ่านหิน น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติ
- ถ่านหิน เป็นหินตะกอนประเภทหนึ่งทีมีคุณสมบัติติดไฟได้ มีสีน้ำตาลจนถึงสีดำ จำแนกออกได้เป็น 5 ประเภทตามคุณภาพในการให้พลังงานความร้อน โดยเรียงลำดับจากคุณภาพต่ำไปสูง คือ พีต ลิกไนต์ ซับบิทูมินัส บีทูมินัส และแอนทราไซต์ ซึ่งถ่านหินถูกนำมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ในการผลิตกระเสไฟฟ้า อุตสาหกรรมต่าง ๆ เป็นต้น
ในทวีปเอเชียปรากฏอยู่หลายบริเวณที่สำคัญได้แก่ ประเทศจีนด้านตะวันออก ประเทศรัสเซียส่วนเอเชียตอนใต้และ
ตอนเหนือ ประเทศอินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มเกาะประเทศญี่ปุ่น และประเทศเวียดนามตอนเหนือ
- น้ำมันดิบ เป็นแร่เชื้อเพลิง ประเภทหนึ่งของปิโตรเลียมเช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติ และก๊าซธรรมชาติเหลว โดยที่น้ำมันดิบมีสถานะเป็นของเหลว ซึ่งน้ำมันดิบเมื่อนำมากลั่นแล้วก็จะได้สัดส่วนของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ต่างกันและใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ แตกต่างกันไปตามคุณสมบัติและคุณภาพ ในทวีปเอเชียปรากฏน้ำมันดิบอยู่ในปริมาณที่สูงมากบริเวณหนึ่งของโลก ซึ่งได้แก่ บริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้บริเวณประเทศรัสเซีย ประเทศจีน และบริเวณภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนที่เป็นคาบสมุทรอินโดจีน ปรากฏอยู่บ้างในพม่า ไทย และในส่วนที่เป็นเกาะ ปรากฏในประเทศอินโดนีเซีย
- ก๊าซธรรมชาติ เป็นปิโตรเลียมประเภทหนึ่งที่อยู่ในสถานะก๊าซ ซึ่งก๊าซธรรมชาติถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการเป็นแหล่งเชื้อเพลิงและพลังงานที่สำคัญ มีแนวโน้มที่จะถูกใช้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นแร่เชื้อเพลิงที่ล้างมลภาวะให้กับ
สิ่งแวดล้อมน้อยในทวีปเอเชียปรากฏแหล่งก๊าซธรรมชาติเกิดร่วมกับแหล่งน้ำมันดิบ
2. กลุ่มแร่เหล็กและโลหะผสมเหล็ก ประกอบด้วยแร่เหล็ก แมงกานิส และนิกเกิล
- แร่เหล็ก เป็นแร่ธาตุที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของคนเรามากมายทั้งในการเป็นเครื่องใช้ต่าง ๆ ตลอดจน
สิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ในทวีปเอเชียปรากฏเหล็กกระจายอยู่ใน 3 บริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ บริเวณประเทศจีนด้านตะวันออกและ
ตะวันออกเฉียงเหนือ ประเทศรัสเซียตอนใต้และประเทศอินเดียด้านตะวันออกเฉียงเหนือ
- แร่แมงกานิส เป็นแร่ธาตุที่ใช้ประโยชน์หลักในการนำมาเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรม ผลิตเหล็กกล้าและเหล็กหล่อเนื่องจากเมื่อผสมกับแร่เหล็กแล้วจะทำให้เหล็กเหนียวและแข็งมากขึ้น ในทวีปเอเชียปรากฏแร่แมงกานิสอยู่
3 บริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ บริเวณประเทศจีนตอนใต้ เขตติดต่อกับประเทศเวียดนาม บริเวณคาบสมุทรเดคคานในประเทศอินเดียและประเทศตุรกีที่ด้านตะวันออก
- แร่นิกเกิล เป็นแร่ธาตุที่ใช้ประโยชน์ในการเป็นส่วนผสมในอุตสาหกรรมเหล็กกล้าและเหล็กหล่อเช่นเดียวกับแร่แมงกานิส ในทวีปเอเชียปรากฏแร่นิกเกิลกระจายอยู่เป็นบริเวณใหญ่ ๆ ได้แก่ ประเทศรัสเซียตอนเหนือ ประเทศ
คาซัคสถานตะวันตก ประเทศจีนตอนเหนือ และเกาะเซลีเบสของประเทศอินโดนีเซีย
3. กลุ่มแร่โลหะพื้นฐาน ประกอบด้วย แร่ทองแดง แร่ตะกั่ว แร่สังกะสี แร่ดีบุก และแร่ทังสเตน
- แร่ทองแดง เป็นแร่โลหะที่มนุษย์ใช้ประโยชน์มาอย่างยาวนาน ในปัจจุบันโลหะทองแดงได้จากการถลุงแร่ทองแดง ถือเป็นโลหะสำคัญที่ใช้ในอุตสาหกรรมอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ในทวีปเอเชียปรากฏแร่ทองแดงกระจายอยู่ในหลายบริเวณ ได้แก่ ประเทศรัสเซียตอนเหนือ ประเทศคาซัคสถานตอนกลาง ประเทศจีนชายฝั่งตะวันออก และเกาะลูซอนตอนเหนือของประเทศฟิลิปปินส์
- แร่ดีบุก เป็นโลหะที่ใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ทนทานต่อการกัดกร่อนของกรด รวมทั้งสารละลายต่าง ๆ ที่ไม่เป็นอันตรายหรือเป็นพิษต่อมนุษย์ เมื่อนำมาเคลือบแผ่นเหล็กเรียกว่า เหล็กวิลาส เช่น ใช้เป็นกระป๋องบรรจุอาหาร หม้อน้ำรถยนต์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น ทวีปเอเชียปรากฏแหล่งแร่ดีบุกมากที่สุดของโลกในบริเวณภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ของประเทศไทย และอีกแหล่งหนึ่ง คือ บริเวณเขตติดต่อจีนด้าน
ตะวันออกเฉียงเหนือติดต่อกับรัสเซียด้านตะวันออกเฉียงใต้
- แร่ทังสเตน เป็นโลหะที่มีความถ่วงจำเพาะและมีจุดหลอมเหลวสูง จึงใช้ในการทำหลอดภาพโทรทัศน์ ได้และ
ขั้วหลอดไฟฟ้า และใช้ในอุตสาหกรรมหนักอย่างกว้างขวาง ในทวีปเอเชียปรากฏแร่ทังสเตนในหลายบริเวณ ได้แก่
เกาหลีใต้ จีนด้านตะวันออก และคาซัคสถานตอนกลาง
4. กลุ่มแร่โลหะมีค่าและกลุ่มแร่รัตนชาติ ประกอบด้วยแร่ทองคำ เงิน เพชร ทับทิม และแซปไฟร์
- แร่ทองคำ เป็นแร่ธาตุที่มนุษย์ใช้ประโยชน์มายาวนาน ด้วยคุณสมบัติอันโดเด่นที่มีสีสันเหลืองอร่ามสวยงาม ไม่หมองคล้ำไปตามกลาเวลา เนื้ออ่อน สามารถตีห้างและดึงให้ยืดได้ทนต่อการกัดกร่อน สะท้อนแสงได้ดี หลอมเข้ากับโลหะอื่นได้ง่าย นำไฟฟ้าและความร้อนได้ดี จึงใช้ประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง เช่น เป็นหลักประกันค่าเงิน ผลิตเป็น
ไมโคชิปในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ เป็นต้น ในทวีปเอเชียปรากฏแร่ทองคำที่สำคัญในประเทศรัสเซียประเทศอุซเบกิสถาน และประเทศจีนด้านชายฝั่งทะเลเหลือง
- แร่เงิน เป็นแร่ธาตุที่จัดอยู่ในกลุ่มแร่โลหะมีค่าเช่นเดียวกับแร่ทองคำในทวีปเอเชียปรากฏแร่เงินในประเทศ
อุซเบกิสถาน และประเทศญี่ปุ่น
- แร่รัตนชาติ ได้แก่ เพชร ทับทิม และแซปไฟร์ เป็นกลุ่มแร่ธาตุที่ใช้ประโยชน์ในด้านเครื่องประดับและงานศิลปะเป็นหลัก ในทวีปเอเชียปรากฏแร่รัตนชาติกระจายอยู่ทั่วไป ที่สำคัญได้แก่ เพชรในรัสเซีย ทับทิมในพม่า ทับทิมไทยซึ่งมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันในชื่อ ทับทิมสยาม และในศรีลังกาแซปไฟร์ในพม่าและศรีลังกา
5. กลุ่มแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่สำคัญได้แก่ แร่โพแทช และหินเกลือ ซึ่งเป็นแร่ที่ใช้ในอุตสาหกรรมเคมี และปุ๋ย ในทวีปเอเชียปรากฏแหล่งแร่โพแทช หินเกลือที่สำคัญ ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยซึ่งถือเป็นแหล่งสำคัญแหล่งหนึ่งของโลก และรัสเซียด้านตะวันตก
เอเชีย : ทวีปที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดและมีลักษณะประชากรที่แตกต่างกันตามสภาพทางธรรมชาติของแต่ละบริเวณ
ประชากร คือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ประชากรเอเชีย ก็คือ กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ทวีปเอเชียในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั่นเอง ประชากรเป็นทรัพยากรหลักของแผ่นดินที่มีความสำคัญในการส่งเสริม หรือเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เช่น ถ้าประเทศใดที่ประชากรมีการศึกษาสูง มีทัศนคติที่ดี มีระเบียบวินัย มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีโครงสร้างของประชากรที่เหมาะสม นั่นคือมีวัยเด็กกับวัยชราซึ่งเป็นวัยพึ่งพิงน้อย และมีวัยแรงงานมาก มีการกระจาย มีอัตราการเพิ่มของประชากรที่เหมาะสมสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ จะเอื้อหรือส่งเสริมต่อการพัฒนาประเทศ ในขณะที่ถ้าประเทศใดมีลักษณะประชากรที่ตรงกันข้ามก็ย่อมจะเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ เป็นต้น
1.จำนวนประชากร
ทวีปเอเชียมีจำนวนประชากรมากที่สุดในโลกถึงประมาณ 3,766 ล้านคน (พ.ศ. 2545) คิดเป็นร้อยละ 60.5 ของประชากรโลก (ประชากรโลกมีจำนวน 6,215 ล้านคน) โดยจีนเป็นประเทศที่มีจำนวนประชากรมากที่สุดในทวีปเอเชียและในโลกถึงประมาณ 1,280.7 ล้านคน คิดเป็นร้อยละ 34 ของประชากรเอเชียหรือร้อยละ 20.6 ของประชากรโลก หรือมีจำนวนประชากรมากกว่าประเทศไทย 20.6 เท่า ส่วนประเทศที่มีจำนวนประชากรรองลองมา คือ ประเทศอินเดีย มีจำนวนประชากรประมาณ 1,049.5 ล้านคน
ตารางแสดงจำนวนประชากรในทวีปเอเชีย 10 อันดับแรก (พ.ศ. 2545)
ลำดับที่ | ประเทศ | จำนวนประชากร (ล้านคน) |
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 | จีน อินเดีย อินโดนีเซีย ปากีสถาน บังกลากเทศ ญี่ปุ่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม ตุรกี อิหร่าน | 1,284,3037,05 1,045,845,226 22,843,7870 14,7663,428 133,376,684 126,974,628 82,841,518 79,939,014 67,308,928 66,622,704 |
2. อัตราการเพิ่มของประชากร
อัตราการเพิ่มของประชากรขึ้นอยู่กับ 3 ปัจจัย ได้แก่ อัตราการเกิด อัตราการตาย และการย้ายถิ่นระหว่างประเทศ ในทวีปเอเชียอัตราการเพิ่มของประชากรใน พ.ศ. 2545 พิจารณาโดยภาพรวมถือว่าอยู่ในระดับกลาง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับทวีปต่าง ๆ (พิจารณาจากแผ่นที่ประกอบ) โดยเอเชียมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรส่วนใหญ่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.9-1.7
(ยกเว้นรัสเซียที่เป็นร้อยละ 0.0) ซึ่งมากกว่าทวีปออสเตรเลียที่อยู่ระหว่างร้อยละ0.1-0.8 มากกว่าทวีปแอฟริกาเหนือ ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.1-0.8 และทวีปยุโรปที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0-0.8 แต่จะต่ำกว่าทวีปแอฟริกา ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 1.8-3.4 และทวีปอเมริกาใต้ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.9-2.5
การที่ทวีปเอเชียโดยภาพรวมมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรอยู่ในระดับกลาง ๆ ทำให้มีผลดีค่อนข้างมากต่อทวีปเอเชียในด้านต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันประชากรในทวีปเอเชียก็มีจำนวนมากอยู่แล้วซึ่งถ้ามีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอีก ย่อมส่งผลต่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียตามมาอีกมากมาย
3. การกระจายประชากร การกระจายของประชากรขึ้นอยู่กับสภาพทางธรรมชาติในเรื่องของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล่งน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นสำคัญ ถ้าเป็นที่ราบอากาศไม่หนาวเย็นมากนัก มีปริมาณฝนที่เหมาะสม ไม่มากไปหรือน้อยไป มีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และมีดินที่อุดมสมบูรณ์สามารถเพาะปลูกพืชได้ดี ก็มักจะมีประชากรอาศัยอยู่มาก ขณะที่พื้นที่ใดที่มีสภาพทางธรรมชาติไม่เอื้อต่อการทำถิ่นฐาน ก็มักจะมีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง การกระจายของประชากรในทวีปเอเชียพิจารณาจากแผนที่ได้ดังนี้
* บริเวณที่มีประชากรหนาแน่น
1. ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ บริเวณที่ราบด้านตะวันออกของประเทศจีนที่มีสภาพทางธรรมชาติในเรื่องของภูมิประเทศที่ราบ มีอากาศอบอุ่น ฝนชุก มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำสายใหญ่ คือ แม่น้ำฮวงเหอและแยงซี และมีดินที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้นเอื้อต่อการ ทำการเกษตร และเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนทำให้มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ 50-100 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีบางบริเวณที่มากกว่า 100 คนต่อตารางกิโลเมตรขึ้นไป เช่น มาเก๊า ที่มีความหนาแน่นประชากรสูงที่สุดในเอเชีย คือ 28,865 คนต่อตารางกิโลเมตรเนื่องจากเป็นเมืองท่าชายฝั่งสำหรับค้าขายนอกจากนี้ยังมีเกาหลีใต้และญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีการอุตสาหกรรมค่อนข้างเด่นโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นมีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 336 คนต่อตารางกิโลเมตร
(ยกเว้นรัสเซียที่เป็นร้อยละ 0.0) ซึ่งมากกว่าทวีปออสเตรเลียที่อยู่ระหว่างร้อยละ0.1-0.8 มากกว่าทวีปแอฟริกาเหนือ ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.1-0.8 และทวีปยุโรปที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.0-0.8 แต่จะต่ำกว่าทวีปแอฟริกา ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 1.8-3.4 และทวีปอเมริกาใต้ที่อยู่ระหว่างร้อยละ 0.9-2.5
การที่ทวีปเอเชียโดยภาพรวมมีอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรอยู่ในระดับกลาง ๆ ทำให้มีผลดีค่อนข้างมากต่อทวีปเอเชียในด้านต่าง ๆ เนื่องจากปัจจุบันประชากรในทวีปเอเชียก็มีจำนวนมากอยู่แล้วซึ่งถ้ามีอัตราการเพิ่มของประชากรสูงขึ้นอีก ย่อมส่งผลต่อสภาพทางเศรษฐกิจและสังคมของเอเชียตามมาอีกมากมาย
3. การกระจายประชากร การกระจายของประชากรขึ้นอยู่กับสภาพทางธรรมชาติในเรื่องของภูมิประเทศ ภูมิอากาศ แหล่งน้ำ ความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นสำคัญ ถ้าเป็นที่ราบอากาศไม่หนาวเย็นมากนัก มีปริมาณฝนที่เหมาะสม ไม่มากไปหรือน้อยไป มีแหล่งน้ำที่เพียงพอต่อการใช้ประโยชน์และมีดินที่อุดมสมบูรณ์สามารถเพาะปลูกพืชได้ดี ก็มักจะมีประชากรอาศัยอยู่มาก ขณะที่พื้นที่ใดที่มีสภาพทางธรรมชาติไม่เอื้อต่อการทำถิ่นฐาน ก็มักจะมีประชากรอาศัยอยู่เบาบาง การกระจายของประชากรในทวีปเอเชียพิจารณาจากแผนที่ได้ดังนี้
* บริเวณที่มีประชากรหนาแน่น
1. ภูมิภาคเอเชียตะวันออก ได้แก่ บริเวณที่ราบด้านตะวันออกของประเทศจีนที่มีสภาพทางธรรมชาติในเรื่องของภูมิประเทศที่ราบ มีอากาศอบอุ่น ฝนชุก มีแหล่งน้ำจากแม่น้ำสายใหญ่ คือ แม่น้ำฮวงเหอและแยงซี และมีดินที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้นเอื้อต่อการ ทำการเกษตร และเหมาะสมกับการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนทำให้มีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ส่วนใหญ่มีความหนาแน่นของประชากรตั้งแต่ 50-100 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีบางบริเวณที่มากกว่า 100 คนต่อตารางกิโลเมตรขึ้นไป เช่น มาเก๊า ที่มีความหนาแน่นประชากรสูงที่สุดในเอเชีย คือ 28,865 คนต่อตารางกิโลเมตรเนื่องจากเป็นเมืองท่าชายฝั่งสำหรับค้าขายนอกจากนี้ยังมีเกาหลีใต้และญี่ปุ่นซึ่งเป็นประเทศที่มีการอุตสาหกรรมค่อนข้างเด่นโดยเฉพาะประเทศญี่ปุ่นมีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 336 คนต่อตารางกิโลเมตร
2. ภูมิภาคเอเชียใต้ ได้แก่ บริเวณที่ราบดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ำคงคา ในประเทศบังกลาเทศติดต่อกับอินเดีย ที่ราบลุ่มน้ำสินธุในประเทศปากีสถาน ที่ราบลุ่มน้ำพรหมบุตรในประเทศบังกลาเทศ และพื้นที่รับลมมรสุมที่มีปริมาณฝนมากในประเทศอินเดีย เงื่อนไขดังกล่าว ต่างเอื้อต่อกิจกรรมทางการเกษตร ทำให้มีจำนวนประชากรอาศัยอยู่ค่อนข้างหนาแน่นส่วนใหญ่มีความหนาแน่นตั้งแต่ 50-100 คนต่อตารางกิโลเมตร และมีบางแห่งที่มีความหนาแน่นมากกว่า 100 คนตารางกิโลเมตรโดยเฉพาะประเทศบังกลาเทศ มีความหนาแน่นของประชากรประมาณ 926 คนต่อตารางกิโลเมตร
3. ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นภูมิภาคที่มีปริมาณฝนโดยรวมค่อนข้างสูง มีอากาศโดยรวมอยู่ในเขตร้อน ทำให้ภูมิอากาศไม่ค่อยมีผลต่อความหนาแน่นประชากรเท่ากับเงื่อนไขทางภูมิประเทศ แหล่งน้ำและดิน โดยประชากรจะหนาแน่นตามลุ่มน้ำสายใหญ่ ได้แก่ ลุ่มน้ำอิระวดีในประเทศพม่า ลุ่มน้ำเจ้าพระยาในประเทศไทย ลุ่มน้ำแดงในประเทศเวียดนาม รวมทั้งเกาะชวาของประเทศอินโดนีเซีย และเกาะลูซอนของประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งมีดินภูเขาไฟที่มีความอุดมสมบูรณ์สูง ซึ่งบริเวณต่าง ๆ ที่กล่าวมาล้วนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมที่สำคัญทั้งสิ้น นอกจากนี้ บริเวณเมืองท่าและเมืองอุตสาหกรรมยังมีประชากรอาศัยอยู่อย่างหนาแน่น ได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ เมืองอุตสาหกรรมของประเทศมาเลเซีย และประเทศไทย
ขณะที่บริเวณอื่น ๆ ของทวีปเอเชีย ประชากรจะหนาแน่นค่อนข้างมากเป็นหย่อม ๆ ตามเมืองหลวงเมืองท่า เมืองอุตสาหกรรม และที่ราบลุ่มน้ำที่ทำการเกษตรได้ เช่น ประเทศอิสราเอล ประเทศคูเวต เมืองแบกแดดประเทศอิรัก และเมืองเตหะรานประเทศอิหร่าน เป็นต้น
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)