วันจันทร์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2555

ลักษณะทวีปเอเชีย

ทวีปเอเชีย ในเรื่องของพื้นที่ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของผืนแผ่นดินทั้งโลก ความกว้างใหญ่ของพื้นที่ทำให้ปรากฏภูมิประเทศ ลักษณะธรณี ภูมิอากาศ ดิน และ พืชพรรณธรรมชาติทุกรูปแบบ ในเรื่องของประชากรถือว่ามีจำนวนมากที่สุด มีความหลากหลายของเผ่าพันธุ์และเชื้อชาติ นอกจากนี้การเป็นพื้นที่ที่มีประชากรตั้งถิ่นฐานมาอย่างยาวนาน ทำให้เกิดอารยธรรมวัฒนธรรมที่เก่าแก่ หลากหลาย และแตกต่างกันไปตามลักษณะทางพื้นที่ในแต่ละบริเวณ 




แผนที่แสดงทวีปต่างๆของโลก
แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/tunu04/304254

      ทวีปเอเชียมีขนาดพื้นที่ในส่วนที่เป็นแผ่นดินมากที่สุดประมาณ 1 ใน 3 ของโลกใหญ่กว่าทวีปแอฟริกาที่มีขนาดพื้นที่รองลงมาประมาณ 1.5 เท่า หรือใหญ่กว่าทวีปออสเตรเลียที่มีขนาดพื้นที่เล็กที่สุดประมาณ 5.5 เท่า ความกว้างใหญ่ของผืนแผ่นดินทวีปเอเชีย ทำให้ปรากฏลักษณะต่าง ๆ ในเชิงภูมิศาสตร์มากมาย เช่น
  • ทำให้ทวีปเอเชียมีเวลาท้องถิ่นต่างกันมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับทวีปอื่น ๆ พิจารณาได้จากความกว้างของผืนแผ่นดินตามลองจิจูดมีความกว้างถึง 144 องศา ทำให้มีเวลาท้องถิ่นระหว่างบริเวณที่อยู่ตะวันตกสุดคือ แหลมบาบาในประเทศตุรกี กับบริเวณที่อยู่ตะวันออกสุดคือ แหลมอีสต์ ในประเทศรัสเซียห่างกันถึง 9 ชั่วโมง 30 นาที ขณะที่ผืนแผ่นดินใหญ่ของทวีปออสเตรเลียที่มีความกว้างตามลองจิจูด 40 องศา มีเวลาท้องถิ่นต่างกันจากบริเวณตะวันตกสุดถึงตะวันออกสุดเพียง 2 ชั่วโมง 36 นาที ซึ่งการคำนวณเรื่องของเวลาท้องถิ่นนั้น พิจารณาจากความกว้างของลองจิจูดทุก 15 องศา จะมีเวลาต่างกัน 1 ชั่วโมง เช่นประเทศไทยที่ใช้เวลามาตรฐานที่ลองจิจูด 105 องศาตะวันออก มีเวลาต่างกับเมืองกรีนิชในประเทศอังกฤษที่ใช้เวลามาตรฐานที่ลองจิจูด 0 องศา อยู่ 7 ชั่วโมง และประเทศไทยจะมีเวลาเร็วกว่าอีกด้วยเพราะอยู่ทางด้านตะวันออก เป็นต้น
      นอกจากนี้ความกว้างใหญ่ของผืนแผ่นดินทวีปเอเชียยังทำให้มีลักษณะภูมิประเทศ ลักษณะธรณีลักษณะดิน ภูมิอากาศ และพืชพรรณธรรมชาติที่มีความหลากหลายและแตกต่างกันไปตามลักษณะของพื้นที่ซึ่งจะได้กล่าวถึงรายละเอียดต่อไปนี้
ทวีปแอฟริกาส่วนใต้ และทวีปอเมริกาใต้อยู่ในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ทวีปเอเชียจะอยู่ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเป็นต้น ซึ่งมีผลมาจากการโคจรของโลกไปรอบดวงอาทิตย์ ทำให้พื้นที่บนพื้นโลกได้รับแสงจากดวงอาทิตย์ที่แตกต่างกันนั่นคือ ในช่วงวันที่ 21 มิถุนายน ลำแสงของดวงอาทิตย์จะทำมุมตั้งฉากกับพื้นโลกที่ละติจูด 23 องศาเหนือ หรือทีเรียกว่าเส้นทรอปิกออฟแคนเซอร์ส่งผลให้พื้นที่ในซีกโลกเหนือได้รับแสดงอาทิตย์ในลักษณะแสดงตรงปริมาณความเข้มมากและระยะทางใกล้กว่าพื้นที่ในซีกโลกใต้ ทำให้มีอุณหภูมิสูงกว่าจึงเป็นฤดูร้อน ขณะที่ซีกโลกใต้จะเป็นฤดูหนาว ในช่วงวันที่ 21 ธันวาคม ลำแสงของดวงอาทิตย์จะทำมุม
ตั้งฉากกับพื้นโลกที่ละติจูด 23 องศาใต้ หรือที่เรียกว่าเส้นทรอปิกออฟแคปริคอร์น จึงทำให้ซีกโลกใต้เป็นฤดูร้อนแต่ในขณะที่ซีกโลกเหนือเป็นฤดูหนาวนั่นเอง
เอเชีย : ทวีปที่มีภูมิประเทศทุกรูปแบบ
       ที่กล่าวว่าทวีปเอเชียมีภูมิประเทศทุกรูปแบบพิจารณาจากลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฏอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ แม้จะมีความแตกต่างกันไปตามบริเวณต่าง ๆ แต่โดยภาพรวมของทวีปแล้วมีภูมิประเทศทุกลักษณะมีจุดที่สูงที่สุดของโลกส่วนที่เป็นแผ่นดิน คือยอดเขาเอเวอเรสต์ในเขตเทือกเขาหิมาลัยมีจุดที่ลึกที่สุดของโลกส่วนที่เป็นมหาสมุทรคือ ร่องลึกบาดาลมาเรียนา ในมหาสมุทรแปซิฟิกใกล้กับชายฝั่งประเทศฟิลิปปินส์
ยอดเขาเอเวอเรสต์
แหล่งที่มา: http://www.wonder7th.com/wonder_natural/008mount_everest.htm

3.1 เทือกเขาสูง
     ภูมิประเทศเทือกเขาสูงถือเป็นลักษณะเด่นที่ของทวีปเอเชียอีกประการหนึ่ง โดยเทือเขาสูงจะอยู่เกือบใจกลางของทวีป ทำหน้าที่เสมือนเป็นหลังคาโลกที่กล่าวว่าเป็นเสมือนหลังคาโลกเนื่องจากเป็นบริเวณที่มีความสูงจากระดับทะเลปานกลางมากที่สุดของโลกประกอบกับเป็นจุดรวมของเทือกเขาสูงที่สำคัญ ๆ ของทวีปเอเชียที่วางตัวแยกย้ายออกไปในทุกทิศทางรวมทั้งเป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายสำคัญ ๆ ที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทางเช่นกัน ซึ่งเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกับส่วนประกอบของบ้านแล้วคล้ายกับหลังคาบ้านซึ่งเป็นจุดที่สูงที่สุดของบ้านและปันน้ำฝนให้ไหลไปยังทิศทางต่าง ๆ นั่นเอง เทือกเขาสูงที่สำคัญของทวีปเอเชีย พิจารณาตามทิศทางการวางตัวได้ดังนี้


แหล่งที่มา: http://gotoknow.org/blog/tunu04/304254
             เทือกเขาที่วางตัวแยกออกไปทางด้านตะวันตก ซึ่งมี 2 แนวย่อยคือ แนวที่แยกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ คือ มีเทือกเขาฮินดูกูช แนวที่แยกไปทางตะวันตกเฉียงใต้ มีเทือกเขาสุไลมาน
             เทือกเขาที่วางตัวแยกออกไปทางด้านตะวันออก มี 3 แนวย่อยคือ แนวเทือกเขาที่ไปทางตะวันออกเฉียงเหนือ มีเทือกเขาเทียนซาน เทือกเขาอัลไต เทือกเขายาโบลโนวี เทือกเขาสตาโนวอย และเทือกเขาโคลีมา ขณะที่แนวตะวันออกมีเทือกเขาคุนลุนซานเทือกเขาโคลีมา เทือกเขาหิมาลัย เทือกเขาอาระกันโยมา รวมทั้งที่ต่อเนื่องลงไปเป็นเกาะในมหาสมุทรอินเดีย และมีแนวเทือกเขาที่ต่อเนื่องลงมาทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เริ่มจากยูนนานนอต ผ่านพม่า ลาว ไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะอินโดนีเซีย
             เทือกเขาสูงต่าง ๆ ของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นพื้นที่ต้นน้ำของแม่น้ำสำคัญ ๆ หลายสาย เช่น บริเวณหลังคาโลก เป็นต้นกำเนิดของแม่น้ำสายใหญ่หลายสายที่มีทิศทางการไหลออกในทุกทิศทาง ทางเหนือมีแม่น้ำออบ เยนิเซ ลีนา ทางตะวันออกเฉียงเหนือมีแม่น้ำอามูร์ทางตะวันออกมีแม่น้ำฮวงเหอ แยงซี ทาวตะวันออกเฉียงใต้มีแม่น้ำโขง อิรวดี สาละวัน ทางใต้มีแม่น้ำสินธุ คงคา พรหมบุตร และทางตะวันตกมีแม่น้ำอามูร์ดาร์ยา เป็นต้น
             เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียทำหน้าที่เป็นแนวปะทะลม ทำให้เกิดเขตฝนชุกหรือเขตแห้งแล้ง ช่วยลดความรุนแรงจากพายุหมุน เช่น เทือกเขาหิมาลัยที่วางตัวขวางทิศทางลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ทำให้ด้านหน้าภูเขาบริเวณรัฐอัสสัมของอินเดีย ซึ่งเป็นด้านรับลมเป็นบริเวณที่มีปริมาณฝนเฉลี่ยต่อปีสูงที่สุดในโลก คือมากกว่า 3,000 มิลลิเมตร ขณะที่ด้านหลังภูเขาลึกเข้ามาในแผ่นดินเป็นเขตแห้งแล้งหรือเทือกเขาอันนัมที่วางตัวขนานไปกับชายฝั่งเวียดนามช่วยเป็นแนวปะทะพายุใต้ฝุ่นที่พัดมาจากมหาสมุทรแปซิฟิกให้ได้รับความเสียหายน้อยลง เป็นต้น
             เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีพื้นที่ป่าไม้ประเภทต่าง ๆ ที่ปกคลุมอยู่ตามสันเขา ไหล่เขา หรือ หุบเขา เป็นพื้นที่ที่เข้าถึงยากและไม่เหมาะต่อการใช้เป็นพื้นที่เกษตรกรรม จึงทำให้หลงเหลือเป็นพื้นที่ป่าที่สำคัญของทวีปเอเชีย
             เทือกเขาสูงของทวีปเอเชียมีแหล่งแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ เช่น แร่ดีบุกที่พบมากบริเวณคาบสมุทรมลายูมีการผลิตดีบุกมากตามแนวเทือกเขาตะนาวศรี เทือกเขาภูเก็ต เทือเขานครศรีธรรมราช ต่อเนื่องไปถึงเทือกเขาในประเทศมาเลเซีย หรือแม้แต่ธาตุอาหารในดินที่มีประโยชน์ต่อการปลูกพืชก็ได้รับจากพื้นที่เทือกเขาสูงเช่นกัน โดยการผุสลายและถูกพัดพามากับสายน้ำสะสมตัวในที่ต่ำทำให้การปลูกพืชได้ผลดี เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น